พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าดอกเบี้ยตามราคาตลาดจากธุรกรรมภายในห้างหุ้นส่วน
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มี อ.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งมีหน้าที่ต้องระมัดระวังจัดการงานของห้างหุ้นส่วนให้ดำเนินไปด้วยดี และต้องเป็นผู้เสียสละอีกด้วย การที่ อ.ได้ค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนเพื่อจะได้เงินมาดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วน เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งแม้จะเห็นได้ว่าเป็นการช่วยเหลือโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์จะตอบแทน อ.ด้วยการกู้ยืมเงินจากผู้อื่นหรือเอาเงินของโจทก์ที่มีอยู่มาให้ อ. กู้ยืม โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำมากในขณะที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าให้แก่เจ้าหนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าดอกเบี้ยนั้นตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงินได้ตามมาตรา65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงตามกฎหมาย
แม้ อ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์จะช่วยเหลือโจทก์โดยค้ำประกันหนี้ของโจทก์ แต่เป็นหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการที่ต้องระมัดระวังจัดการงานให้กิจการห้างหุ้นส่วนดำเนินไปด้วยดีและต้องเป็นผู้เสียสละด้วย การค้ำประกันดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการ การที่โจทก์ตอบแทน อ. ด้วยการกู้ยืมเงินจากผู้อื่นหรือเอาเงินของโจทก์ที่มีอยู่ให้ อ. กู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำมากเพียงร้อยละ 1.5 และ 1.25 ต่อปี ในขณะที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าให้แก่เจ้าหนี้นั้น จึงเป็นกรณีไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยตามราคาตลาดในวันกู้ยืมได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินถูกเวนคืนตามราคาตลาดในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และการคิดดอกเบี้ย
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76(2) บัญญัติว่าเงินค่าทดแทนนั้น ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ เมื่อพ.ร.ฎ. ดังกล่าวออกใช้บังคับในวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การกำหนดค่าทดแทนให้กับโจทก์ต้องถือเอาราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันดังกล่าว แต่เมื่อในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันในบริเวณที่ถูกเวนคืนก็มิใช่ว่าจะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนแต่เพียงอย่างเดียว ในกรณีเช่นนี้ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจ กำหนดราคาซื้อขายที่ดินของโจทก์ตามราคาธรรมดาในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. ใช้บังคับได้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้นตั้งแต่วันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับเมื่อจำเลยยังมิได้ชำระเงินให้แก่โจทก์เลย ไม่ว่าจะเป็นเงินที่จำเลยกำหนดให้ หรือที่ศาลพิพากษาให้เพิ่มขึ้น จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่โจทก์สมควรจะได้รับนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่ดินตามราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และดอกเบี้ย
แม้จะมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 23 ลงวันที่ 18 ธันวาคม2514 กำหนดแนวทางหลวงแผ่นดินผ่านที่ดินของโจทก์ทั้งสองแล้วแต่เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาแทนอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติซึ่งเป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 พระราชกฤษฎีกาที่ออกใช้บังคับในครั้งหลังนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 23 ไปโดยปริยาย ดังนั้น เมื่อมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76(2) ซึ่งบัญญัติว่าเงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองจึงต้องถือเอาราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันดังกล่าวและถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในบริเวณที่ถูกเวนคืน ศาลก็มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดราคาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามราคาธรรมดาในท้องตลาดในวันดังกล่าวได้โดยพิจารณาจากราคาธรรมดาในท้องตลาดในการซื้อขายที่ดินในเวลาและในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน หาจำต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินมาใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่เหลือจากการเวนคืนมีจำนวนมากเมื่อมีถนนสายรัชดาภิเษกแล้วราคาจะสูงขึ้นไม่น้อยกว่าเท่าตัว จึงต้องเอาราคาที่สูงขึ้นหักค่าทดแทนตามบทบัญญัติในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เมื่อหักแล้วไม่ควรจะมีเหลือจ่ายเป็นค่าทดแทนให้แก่โจทก์นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ให้เห็นว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนจะสูงกว่าราคาก่อนการสร้างถนนสายรัชดาภิเษกเท่าใด จึงมิใช่ประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสองจะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้หรือไม่นั้น ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 กำหนดไว้ว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้น ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้นเมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเลย ไม่ว่าจะเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองกำหนดให้หรือที่ศาลพิพากษาให้เพิ่มขึ้นโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนจำนวนที่โจทก์ทั้งสองสมควรจะได้รับในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524ใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรต้องมีหลักฐานราคาตลาดที่แท้จริง การประเมินเกินอำนาจเป็นโมฆะ
โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 สำแดงราคาของที่นำเข้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่โจทก์มิได้นำเจ้าพนักงานประเมินมา เบิกความว่ามีหลักฐานเอกสารอะไรที่แสดงว่าของประเภทและชนิดเดียวกันกับที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามีราคาแท้จริงในท้องตลาดเท่าใด เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าราคาของที่จำเลยที่ 1 สำแดงไว้ต่ำกว่า ราคาแท้จริงในท้องตลาดอันเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีอากร จากจำเลยที่ 1 เพิ่มได้ เอกสารที่โจทก์อ้างส่งอันได้แก่ บัญชี ราคาสินค้ารายการบรรจุหีบห่อ บัญชีราคาสินค้าล่วงหน้า ใบตราส่ง ใบเสร็จรับเงินค่าภาระของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ใบกำกับสินค้า ไม่ปรากฏว่าราคาของที่จำเลยที่ 1 นำเข้าต่างไปจากราคาของที่จำเลย ที่ 1 สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าอันจะถือได้ว่าราคาของที่จำเลย ที่ 1 สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าต่ำไปกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์จึงเลื่อนลอย ขาดพยานหลักฐานสนับสนุน ไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจกำหนดค่าเช่าใหม่ แม้ค่าเช่าต่ำกว่าราคาตลาด หากผู้เสียภาษีลงรับตามที่ได้รับจริง
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคดีนี้พิพาทกันก่อนวันที่ 1 มกราคม 2522ซึ่ง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 5) มาตรา 15ใช้บังคับและบทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(4) เกี่ยวกับกรณีโอนทรัพย์สิน ซึ่งไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนแต่ต่ำกว่าราคาตลาด ที่เจ้าพนักงานประเมินอาจประเมินราคาทรัพย์สินนั้นตามราคาตลาดในวันที่มีการโอนได้ ไม่สามารถปรับใช้กับกรณีการเช่าได้เมื่อโจทก์ลงรายการรับตามที่ได้รับค่าเช่ามาจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจที่จะกำหนดค่าเช่าขึ้นใหม่ให้เป็นรายได้พึงประเมินได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเช่าทรัพย์สิน: เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจประเมินค่าเช่าโดยอ้างอิงราคาตลาด หากมิใช่กรณีที่แสดงรายรับต่ำกว่าความเป็นจริง
การเช่าทรัพย์สินมิใช่การโอนทรัพย์สิน กรณีจึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินทำการประเมินราคาทรัพย์สินในกรณีโอนทรัพย์สินซึ่งไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด มาทำการประเมินค่าเช่าที่โจทก์ให้เช่าทรัพย์สินของตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ฯ เป็นการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวง จึงต้องตกอยู่ในบังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และการกำหนดค่าทดแทนจะต้องถือตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวใช้บังคับ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 (2) ไม่ใช่ถือตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 ใช้บังคับ เพราะพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวออกมาใช้บังคับแทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 ซึ่งหมดอายุบังคับใช้ และมิได้ถือตามราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดในวันที่ประกาศพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ เป็นการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวง จึงต้องตกอยู่ในบังคับแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และการกำหนดค่าทดแทนจะต้องถือตามราคาธรรมดาซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวใช้บังคับ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 76(2) ไม่ใช่ถือตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 ใช้บังคับ เพราะพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวออกมาใช้บังคับแทนประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 ซึ่งหมดอายุบังคับใช้ และมิได้ถือตามราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนที่ดินต้องพิจารณาตามราคาซื้อขายจริงในตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายพระประแดง-บางแคฯ พ.ศ. 2521 ใช้บังคับที่ดินที่อยู่ใกล้กับที่ดินของโจทก์ซื้อขายกันตารางวาละ900 บาทเศษ เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติพิเศษไว้ในเรื่องเงินค่าทดแทน การกำหนดเงินค่าทดแทนให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ ตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ดังนั้น ราคาที่ดินของโจทก์จะต้องมีราคาตามธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดไม่ต่ำกว่าตารางวาละ 900 บาท จำเลยกำหนดราคาตารางวาละ 400 บาท ตามราคา ประเมินที่ดินเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2519ถึง 2521 ซึ่งกำหนดตั้งแต่ พ.ศ. 2518 จึงไม่ชอบ