คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายได้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของสถานการค้าประเวณีไม่ผิด ม.286 หากมีรายได้จากอาชีพอื่นเพียงพอต่อการดำรงชีพ
จำเลยเป็นเจ้าของสถานการค้าประเวณีไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเองมีหญิงซึ่งค้าประเวณีอาศัยอยู่กินกับจำเลยหลายคน เงินที่ได้จากการค้าประเวณีของหญิงเหล่านี้จำเลยได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่ง แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยค้าขายเสื้อสำเร็จรูป แสดงว่าจำเลยมีรายได้จากการค้าขาย และไม่ปรากฏว่ารายได้ดังกล่าว ไม่เพียงพอสำหรับดำรงชีพ แม้จำเลยจะได้รับเงินส่วนแบ่งจากหญิงซึ่งค้าประเวณี จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามี แม้ภริยาอยู่ต่างประเทศและมีรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย
สามีภริยาที่ยังมิได้หย่าขาดจากกันแต่แยกกันอยู่โดยฝ่ายสามีแสดงเจตนาไม่ต้องการให้ภริยาอยู่ร่วมด้วย และฝ่ายภริยามีรายได้ไม่พอจ่ายเป็นค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด กับไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์สินอื่นพอเป็นรายได้เลี้ยงดูตนเอง เช่นนี้ภริยาย่อมมีสิทธิรับการช่วยเหลือเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1594 และมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากสามีได้ เพราะสามีอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าครอบครัวต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1453

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่เปิดเผยข้อมูลรายได้ที่แท้จริงในสัญญาประกันภัย ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ
โจทก์เอาประกันภัยกับจำเลยสำหรับค่าทดแทนลูกจ้างของโจทก์ในระดับผู้จัดการร้านสาขา ถ้าโจทก์มีความรับผิดต้องจ่ายค่าทดแทนจำเลยจะต้องชดใช้เงินทุกจำนวนที่โจทก์จะต้องรับผิดนั้นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทข้อ 5 ระบุว่า"ค่าเบี้ยประกันภัยจะต้องคิดตามจำนวนค่าแรงและเงินเดือนตลอดทั้งรายได้อื่นๆที่ผู้เอาประกันจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างระยะเวลาประกันภัยระยะหนึ่ง ๆ ........." ดังนั้นการแจ้งจำนวนรายได้ที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายให้ลูกจ้างจึงเป็นข้อสารสำคัญ เมื่อโจทก์แจ้งจำนวนเงินผิดไปถึง 10 เท่าตัวเศษเป็นผลทำให้จำเลยไม่อาจเรียกเบี้ยประกันภัยซึ่งตนมีสิทธิเรียกร้องได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยถึง 200,000 บาทเศษ ถือได้ว่าเป็นการไม่เปิดเผยข้อความจริงที่ควรต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบในเวลาทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยฉบับพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
ในสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงทุกข้ออันอาจจะทำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้จำเลยมีสิทธิตรวจดูสมุดบัญชีก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงนี้เองไม่ และจะถือว่าจำเลยควรจะทราบข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ได้ดุจกัน
เมื่อผู้จัดการร้านสาขาคนหนึ่งของโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์ได้แจ้งรายได้อื่น ๆ ของผู้ตายนอกจากเงินเดือนให้จำเลยทราบด้วยแล้ว จำเลยไม่ได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายใน 1 เดือนนับแต่นั้น แต่การที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมรายนี้ได้ จำเลยจะต้องรู้ข้อเท็จจริงมากกว่านั้นคือต้องคำนวณจากรายได้ที่แท้จริงทั้งหมดของผู้จัดการร้านสาขาของโจทก์ทั้งหมด เพื่อจะได้ความว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงใดอันจะทำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะหรือไม่ เมื่อจำเลยสอบถามไปโจทก์ก็ไม่ตอบให้จำเลยทราบจนกระทั่งฟ้องจำเลยแล้วและจำเลยก็ได้บอกล้างไปภายใน 1 เดือนนับแต่จำเลยได้สอบถามไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยวรรคสอง ของมาตรา 865

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่เปิดเผยข้อความจริงในสัญญาประกันภัย ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆียะ ผู้เอาประกันต้องแจ้งรายได้ที่แท้จริง
โจทก์เอาประกันภัยกับจำเลยสำหรับค่าทดแทนลูกจ้างของโจทก์ในระดับผู้จัดการร้านสาขา ถ้าโจทก์มีความรับผิดต้องจ่ายค่าทดแทน จำเลยจะต้องชดใช้เงินทุกจำนวนที่โจทก์จะต้องรับผิดนั้น กรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทข้อ 5 ระบุว่า"ค่าเบี้ยประกันภัยจะต้องคิดตามจำนวนค่าแรงและเงินเดือนตลอดทั้งรายได้อื่นๆที่ผู้เอาประกันจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างระยะเวลาประกันภัยระยะหนึ่งๆ" ดังนั้นการแจ้งจำนวนรายได้ที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายให้ลูกจ้างจึงเป็น ข้อสารสำคัญ เมื่อโจทก์แจ้งจำนวนเงินผิดไปถึง 10 เท่าตัวเศษเป็นผลทำให้จำเลยไม่อาจเรียกเบี้ยประกันภัยซึ่งตนมีสิทธิเรียกร้องได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยถึง 200,000 บาทเศษถือได้ว่าเป็นการไม่เปิดเผยข้อความจริงที่ควรต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบในเวลาทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยฉบับพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
ในสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงทุกข้ออันอาจจะทำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้จำเลยมีสิทธิตรวจดูสมุดบัญชีก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงนี้เองไม่ และจะถือว่าจำเลยควรจะทราบข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ได้ดุจกัน
เมื่อผู้จัดการร้านสาขาคนหนึ่งของโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์ได้แจ้งรายได้อื่นๆ ของผู้ตายนอกจากเงินเดือนให้จำเลยทราบด้วยแล้ว จำเลยไม่ได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายใน 1 เดือนนับแต่นั้น แต่การที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมรายนี้ได้ จำเลยจะต้องรู้ข้อเท็จจริงมากกว่านั้น คือต้องคำนวณจากรายได้ที่แท้จริงทั้งหมดของผู้จัดการร้านสาขาของโจทก์ทั้งหมด เพื่อจะได้ความว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงใดอันจะทำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะหรือไม่ เมื่อจำเลยสอบถามไปโจทก์ก็ไม่ตอบให้จำเลยทราบจนกระทั่งฟ้องจำเลยแล้วและจำเลยก็ได้บอกล้างไปภายใน 1 เดือนนับแต่จำเลยได้สอบถามไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยวรรคสอง ของมาตรา 865

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้และกำไรสุทธิทางภาษี: เงินได้ต้องได้รับมาแล้ว ไม่ใช่แค่สิทธิเรียกร้อง
(1) ความในมาตรา 39 นั้น เงินได้อันจะนำมาคำนวณภาษีนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้า
(2) สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับมาในภายหน้าในขณะครบรอบระยะเวลาบัญชียังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะนำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการตามมาตรา 65
(3) คำว่า "กิจการที่กระทำ" ในมาตรา 65 นั้น หมายความถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขนส่งที่บริษัทจ่ายให้ตัวแทนมิใช่รายได้จากการเป็นนายหน้าและตัวแทน จึงไม่ต้องเสียภาษี
บริษัทจำหน่ายน้ำหวานซึ่งมีหน้าที่ต้องขนส่งน้ำหวานไปให้ตัวแทนของบริษัทในการจำหน่ายน้ำหวานนั้น ได้จ่ายเงินค่าขนส่งให้แก่ตัวแทนเป็นผู้ขนส่งเสียเอง เงินค่าขนส่งนี้มิใช่เป็นรายรับของตัวแทนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ที่ตัวแทนจะต้องเสียภาษีการค้าประเภทนายหน้าและตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทรายได้จากการเผาถ่านเพื่อเสียภาษี: ทำป่าไม้หรืออุตสาหกรรม
การเผาถ่านขาย ไม่ใช่การทำไม้ตามความในพระราชกฤษฎีกากำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้ฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ข้อ (14).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าข้าว: รายได้จากการตกลงซื้อขายถือเป็นรายได้ของสำนักงานกลาง
ระบบการเก็บภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรให้เรียกเก้ปตามรายรับของประเภทการค้าเป็นสำคัญ และต้องเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์จากรายรับของสถานการค้าด้วย
การที่โจทก์ประกอบการค้าข้าวโดยให้สำนักงานกลางในเขตเทศบาลเป็นผู้ตกลงขายและรับเงินราคาข้าวส่วนข้าวไปเอาที่ฉางนอกเขตเทศบาลนั้น ต้องจัดเป็นรายรับของสำนักงานกลางอันโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเพิ่มเพื่อเทศบาล ฉะนั้น ที่โจทก์แยกยื่นบัญชีขอชำระภาษีการค้าว่าเป็นรายรับของโรงสีหรือฉางข้าวอื่นๆ จึงไม่ถูกต้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีเงินได้จากเงินปันผลของบริษัทต่างประเทศที่ทำกิจการในไทย: การเทียบสัดส่วนรายได้เพื่อคำนวณภาษี
บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามก.ม.ต่างประเทศและได้กระทำกิจการในประเทศไทยด้วย จะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินปันผล โดยคิดเทียบส่วนยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายที่ได้จากกิจการในประเทศไทยกับยอดเงินได้ก่อนหักรายจ่ายทั้งหมดเป็นเกณฑ์คำนวณว่าจะต้องแบ่งเงินปันผลทั้งหมดออกเป็นอัตราส่วนเท่าใดต่อเท่าใด แล้วใช้อัตราส่วนนี้แบ่งเงินปันผลออกเป็นเงินปันผลภายนอก และภายในประเทศ เงินปันผลในประเทศที่คิดคำนวณได้นี้เท่านั้น เป็นเงินได้อันต้องประเมินเสียภาษีตาม มาตรา 65
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้เรียกเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีเงินได้เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติให้เรียกเก็บ ศาลพิพากษาให้เจ้าพนักงานนั้นคืนค่าภาษีที่เรียกเก็บไว้เกินไป ศาลก็อาจพิพากษาให้เจ้าพนักงานประเมินนั้น เสียดอกเบี้ยในจำนวนภาษีที่เรียกเกินไปตามที่ผู้เสียภาษีได้ฟ้องขอให้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิดลิขสิทธิ์ละคร โดยพิจารณาจากรายได้ที่จำเลยได้รับ
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดนั้น ศาลอาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และรูปคดี ศาลอาจคำนวณให้ตามผลประโยชน์ที่จำเลยได้รับจากการละเมิด โดยไม่หักค่าใช้จ่ายก็ได้
of 15