คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลักทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,595 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์และเอาเอกสารผู้อื่นไป การแยกความผิดเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยฎีกาว่า บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบตามฟ้อง โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อความใดปรากฏอยู่บ้าง ย่อมรับฟังไม่ได้ว่า บัตรเอ.ที.เอ็ม.เป็นเอกสาร จึงลงโทษจำเลยฐานเอาเอกสารของผู้อื่นไปตาม ป.อ. มาตรา 188ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไปจากผู้เสียหาย แล้วนำบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงิน ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม.ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188และความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334
บัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ ที่จำเลยลักไป เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบ การกระทำของจำเลยที่ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายดังกล่าวลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกัน แม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์และเอาเอกสารของผู้อื่นไป การแยกความผิดหลายกรรม และเจตนาในการกระทำผิด
จำเลยฎีกาว่า บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบตามฟ้อง โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อความใดปรากฏอยู่บ้าง ย่อมรับฟังไม่ได้ว่า บัตร เอ.ที.เอ็ม. เป็นเอกสาร จึงลงโทษจำเลยฐานเอาเอกสารของผู้อื่นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม.ไปจากผู้เสียหายแล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝากถอนเงิน ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 และความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334
บัตร เอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ ที่จำเลยลักไป เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบ การกระทำของจำเลยที่ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายดังกล่าวลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกัน แม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักบัตรเอทีเอ็ม-ลักเงิน: ความผิดหลายกรรม, เจตนาแยกจากกัน, บทหนักกว่า
การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม.ไปจากผู้เสียหายแล้วนำบัตรเอ.ที.เอ็มดังกล่าวไปลักเอาเงินของผู้เสียหาย โดยผ่านเครื่องฝากถอนเงินนั้น ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ การลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ไป กับการลักเงินจึงเป็นความผิดหลายกรรม
การที่จำเลยลักเอาบัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหายไปนั้นเป็นความผิดทั้งฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 188
บัตรเอ.ที.เอ็ม. ของผู้เสียหาย 2 ใบ เป็นบัตรต่างธนาคารกัน และเงินฝากของผู้เสียหายที่ถูกลักไปก็เป็นเงินฝากในบัญชีต่างธนาคารกันด้วย เจตนาในการกระทำผิดของจำเลยจึงแยกจากกันได้ตามความมุ่งหมายในการใช้บัตรแต่ละใบการกระทำของจำเลยที่ใช้บัตรเอ.ที.เอ็ม. 2 ใบ ของผู้เสียหายแล้วลักเอาเงินฝากของผู้เสียหายต่างบัญชีกันแม้จะทำต่อเนื่องกันก็เป็นความผิดสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8802/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานและการบุกรุก หากข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง ศาลต้องพิจารณาตามความผิดที่มีอัตราโทษเบากว่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 265 , 268 , 335 (3) (8) , 336 ทวิ และกล่าวในฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันงัดกุญแจประตูหน้าบ้านพักอาศัยอันเป็นเคหสถานของผู้เสียหาย และเข้าไปในเคหสถานงัดประตูห้องนอนของผู้เสียหาย แล้วร่วมกันลักสายยู 1 อัน ซึ่งใช้ล่ามบานประตูให้ติดกับกุญแจของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถานไปโดยทุจริต ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยพยายามเข้าไปลักทรัพย์ที่มิใช่สายยูที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องในเคหสถานของผู้เสียหาย ดังนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง และเป็นข้อสาระสำคัญในความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเข้าไปในเคหสถานของ ผู้เสียหายเพื่อลักทรัพย์อื่นที่อยู่ในเคหสถานนั้นด้วย ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์อย่างอื่นของผู้เสียหาย จึงลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์อื่นของผู้เสียหายไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสี่ แต่จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันงัดประตูบ้านและประตูห้องนอนเพื่อเข้าไปลักทรัพย์ในเคหสถานของผู้เสียหาย ซึ่งนอกจากจะเป็นความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ในเคหสถานโดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์แล้ว ยังเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 364 รวมอยู่ด้วยซึ่งโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องด้วยแล้ว ทั้งมีอัตราโทาเบากว่าความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ตามที่ศาลล่างทั้งสองโทษจำเลยทั้งสองมา ศาลฎีกาจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 365 ประกอบด้วยมาตรา 364 , 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
ความผิดฐานทำเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานนี้มาด้วยจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8177/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ผิดพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม
การกระทำของจำเลยตามฟ้องที่ระบุว่าจำเลยร่วมกับพวกลักเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอันเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กับวิทยุคมนาคม โดยจำเลยกับพวกนำเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ปรับคลื่นสัญญาณและรหัสเลขหมายของโทรศัพท์ผู้อื่นมาใช้ติดต่อสื่อสารโทรออกหรือรับการเรียกเข้าผ่านสถานีและชุมสายโทรศัพท์ระบบเซลลูลาร์ของผู้เสียหายนั้น เป็นเพียงการรับส่งวิทยุคมนาคมหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์โดยไม่มีสิทธินั่นเอง จึงมิใช่เป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยทุจริตการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(7) วรรคสอง แต่จำเลยคงมีความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาญาแผ่นดินลักทรัพย์-รบกวนวิทยุคมนาคม: อำนาจฟ้องและพยานหลักฐานเพียงพอ
ความผิดในข้อหาลักทรัพย์และข้อหาร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม เป็นคดีอาญาแผ่นดินอันมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่ห้ามพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง เมื่อมีความผิดอาญาแผ่นดินเกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่ต้องสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพื่อเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18ประกอบมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษกระทำผิดหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนรวมทั้งการที่พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
ความผิดทั้งสองฐานตามฟ้องเกิดจากโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกับพวกนำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย แม้จำเลยกับพวกจะกระทำการดังกล่าวที่บริษัทของจำเลยแต่ผลของการกระทำก็เกิดขึ้นแก่โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูกรบกวน จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำต่อเนื่องกันระหว่างท้องที่ที่บริษัทจำเลยตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้แล้วเกิดขัดข้องซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพญาไทจึงมีอำนาจสอบสวน การสอบสวนได้กระทำโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โทรศัพท์มือถือที่ ช. ซื้อมาจากบริษัทจำเลยผ่านทาง ม. นั้น เป็นโทรศัพท์ที่คนของบริษัทจำเลยทำการลักลอบปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นช่องสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขของผู้เสียหาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรบกวนและขัดขวางการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมพ.ศ. 2498 มาตรา 26 และเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่าร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม จำเลยก็ให้การรับสารภาพ จากพยานหลักฐานของโจทก์และพฤติการณ์แห่งคดี แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องมือปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่หรือถอดรหัสสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็ฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือสมรู้ร่วมคิดกับพวกอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันประกอบธุรกิจอันไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7722/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์: การร่วมกระทำผิดกับผู้อื่น และขอบเขตความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง
แม้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ลักมาจะเป็นเงินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 มิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีลักทรัพย์และการใช้ดุลพินิจลดโทษ
ป.อ.มาตรา 76 เป็นดุลพินิจของศาล ถ้าเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งก็ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยก็เป็นดุลพินิจที่เห็นว่า จำเลยที่ 1 อายุ 19 ปีเศษ รู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้วจึงไม่ลดมาตราส่วนโทษให้โดยไม่จำต้องกล่าวถึงข้อกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรโดยบรรยายฟ้องถึงวันเวลาที่เกิดเหตุ และว่ามีคนร้ายลักเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำฟ้องโจทก์มิได้ระบุโดยชัดเจนว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดและสถานที่กระทำผิดอยู่ที่ใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องระบุถึงสถานที่เกิดเหตุในข้อต่อมาว่าเหตุทั้งหมดเกิดที่ใด และภายหลังเกิดเหตุลักทรัพย์เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไป ขณะที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นของกลาง และจำเลยได้เป็นคนร้ายร่วมกันลักทรัพย์ดังกล่าวของผู้เสียหายไปโดยทุจริต คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ มิได้หลงต่อสู้ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ทางอาญา: การ 'เอาทรัพย์ไป' สำเร็จเมื่อเคลื่อนย้ายออกจากที่จอด แม้จะเพียงเล็กน้อย และการใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการกระทำความผิด
จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเคลื่อนออกมาจากคอกเก็บรถในระยะห่างประมาณ 3 เมตร หลังจากตัดต่อสายไฟสายตรงของสวิตช์กุญแจเปิดปิดเครื่องยนต์เข้าองค์ประกอบคำว่า "เอาทรัพย์ไป" แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
คนที่ขับรถของจำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์มาส่งจำเลยกับพวกที่บ้านของผู้เสียหายก่อนเกิดเหตุและหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ได้ขับวนเวียนในลักษณะคล้ายกับจะตามหาจำเลยกับพวกเท่านั้น คนที่ขับรถดังกล่าวไม่ได้ร่วมกับจำเลยกับพวกลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ คงมีความผิดตามมาตรา 335 (1) (7) (8) วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สำเร็จเมื่อทรัพย์สินถูกเคลื่อนย้ายออกจากที่เก็บ แม้เพียงเล็กน้อย การใช้รถเพื่อเอื้อการกระทำความผิดไม่ถึงฐานตาม ม.336 ทวิ
จำเลยนำรถจักรยานยนต์เคลื่อนออกมาจากคอกเก็บรถหลังจากตัดต่อสายไฟสายตรงของสวิสต์กุญแจปิดเปิดเครื่องยนต์แล้ว โดยนำห่างออกมาจากคอกเก็บประมาณ 3 เมตร เข้าองค์ประกอบคำว่า "เอาทรัพย์ไป"แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
คนที่ขับรถของจำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์มาส่งจำเลยกับพวกที่บ้านของผู้เสียหายก่อนเกิดเหตุและหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ได้ขับวนเวียนในลักษณะคล้ายกับจะตามหาจำเลยกับพวกเท่านั้น คนที่ขับรถดังกล่าวไม่ได้ร่วมกับจำเลยกับพวกลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ
of 160