พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วมในการจำนำทรัพย์สิน: ความรับผิดจำกัดเฉพาะวงเงินจำนำ
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะ ผู้จำนำ ยอม รับผิดในฐานะ ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 นั้น หมายความเพียงว่าจำเลยที่ 2จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่ จำเลยที่ 2 จะต้อง รับผิดในหนี้นอกเหนือจากราคาทรัพย์ที่จำนำก็ต่อ เมื่อมีข้อสัญญาแสดงฐานะ ว่าเป็นผู้ค้ำประกันโดย ชัดแจ้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย: ลูกหนี้ร่วม, สัญญาเพิ่มเติม, และผลของการทำสัญญารับใช้หนี้
การเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2518 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ครั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2526จำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้โดยยอมชำระดอกเบี้ยค้างส่งทั้งหมด การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2527 คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ที่ 5 เกี่ยวกับหนี้ดอกเบี้ยค้างส่งจึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย จึงไม่ต้องผูกพันโดยสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างส่งจากจำเลยที่ 1 ได้เพียงภายใน 5 ปีนับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไป อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ดอกเบี้ยและเงินกู้: ลูกหนี้ร่วมและผู้รับผิดชอบหนี้
การเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2518 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย ครั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2526 จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้โดยยอมชำระดอกเบี้ยค้างส่งทั้งหมดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กันยายน2527 คดีโจทก์สำหรับหนี้ดอกเบี้ยค้างส่งจึงไม่ขาดอายุความแต่จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย จึงย่อมไม่ต้องถูกผูกพันโดยสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างส่งได้เพียงภายใน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไป อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้สินสมรส: สิทธิเรียกร้องเงินจากการขายทรัพย์สินเมื่อสามีภรรยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปไถ่จำนองที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสหนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสอันเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1490(2) ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาจำเลยไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนของตน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันหลายคนร่วมรับผิดชอบหนี้ทั้งหมด ไม่แยกความรับผิดในส่วนที่เกินวงเงินค้ำประกัน
ฎีกาของโจทก์แม้จะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต่างทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ในวงเงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์คนละฉบับ ดังนี้ เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หาใช่แยกความรับผิดกันไม่
กรณีดังกล่าวแม้หนี้ของจำเลยที่ 1 จะมีจำนวนเกินกว่า 500,000บาท จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญารับชำระหนี้ในส่วนที่เกินกว่า 500,000 บาทไม่แต่ถ้าผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด.
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับชำระหนี้ให้แก่โจทก์จำนวน 500,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ต่างทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ในวงเงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์คนละฉบับ ดังนี้ เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หาใช่แยกความรับผิดกันไม่
กรณีดังกล่าวแม้หนี้ของจำเลยที่ 1 จะมีจำนวนเกินกว่า 500,000บาท จำเลยอื่นซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหาต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามสัญญารับชำระหนี้ในส่วนที่เกินกว่า 500,000 บาทไม่แต่ถ้าผิดนัดต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คใหม่แทนเช็คเดิม และผลกระทบต่อความรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาเช็คที่นำมาขายลดถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การที่จำเลยนำเช็คฉบับใหม่มาชำระหนี้ตามมูลหนี้ที่มาจากสัญญาขายลดเช็ค โดยไม่ได้เป็นการขายลดเช็คกับโจทก์ตามสัญญาเดิม และโจทก์ยอมรับเอาเช็คดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เช่นนี้ จึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้เป็นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อเช็คฉบับใหม่เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกันอันเป็นมูลหนี้เดิม
โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกันจึงมีอายุความ 10 ปี
แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์น้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาศาลฎีกาก็มี อำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1), 247
โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกันจึงมีอายุความ 10 ปี
แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์น้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาศาลฎีกาก็มี อำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คใหม่แทนของเดิม และผลกระทบต่อความรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3ทำสัญญาค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาเช็คที่นำมาขายลดถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การที่จำเลยนำเช็คฉบับใหม่มาชำระหนี้ตามมูลหนี้ที่มาจากสัญญาขายลดเช็ค โดยไม่ได้เป็นการขายลดเช็คกับโจทก์ตามสัญญาเดิม และโจทก์ยอมรับเอาเช็คดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค เช่นนี้ จึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้เป็นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อเช็คฉบับใหม่เรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกันอันเป็นมูลหนี้เดิม โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คและสัญญาค้ำประกัน จึงมีอายุความ 10 ปี แม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์น้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วยเพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงาน, ความรับผิดของลูกจ้างและผู้บังคับบัญชา, การชดใช้ค่าเสียหายจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นลูกจ้างของโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธิปฏิบัติงานของโจทก์ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วย ดังนี้ หาใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดแก่โจทก์เพียงประการเดียวไม่ การปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามมาตรา 164 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นอกจากมีหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการทำไม้ของกลางแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปตรวจดูแลไม้ของกลางที่ว่าจ้าง ป. เฝ้ารักษาไม่ให้เสียหายจนกว่าจะขายได้ด้วย ดังนั้น เมื่อไม้ของกลางดังกล่าวสูญหาย แม้โจทก์จะปรับ ป. ไปแล้วตามสัญญา ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่
ป. ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ว่า จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้อง ป. ให้รับผิด เมื่อ ป. ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยโดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีเสียก่อน
โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปฏิบัติผิดข้อบังคับระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงาน และไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก และจำเลยทั้งสองยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 การที่โจทก์สั่งให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายคนละกึ่งหนึ่งเป็นเรื่องโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่านั้น หากจำเลยคนหนึ่งคนใดยินยอมชำระให้กึ่งหนึ่ง โจทก์ก็อาจพิจารณาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ชำระหนี้นั้นต่อไป แต่ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับตาม มาตรา 291 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่โจทก์ลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของโจทก์ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยวินัยการสอบสวน และการลงโทษสำหรับพนักงานและคนงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หาเป็นเหตุลบล้างสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายไม่
จำเลยที่ 1 เป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นอกจากมีหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการควบคุมจำเลยที่ 2 ให้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการทำไม้ของกลางแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ไปตรวจดูแลไม้ของกลางที่ว่าจ้าง ป. เฝ้ารักษาไม่ให้เสียหายจนกว่าจะขายได้ด้วย ดังนั้น เมื่อไม้ของกลางดังกล่าวสูญหาย แม้โจทก์จะปรับ ป. ไปแล้วตามสัญญา ก็หาเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่
ป. ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่โจทก์ว่า จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งเป็นการชำระหนี้บางส่วนโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้อง ป. ให้รับผิด เมื่อ ป. ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยโดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีเสียก่อน
โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปฏิบัติผิดข้อบังคับระเบียบ คำสั่ง แบบแผน วิธีปฏิบัติงาน และไม่ระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของโจทก เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยทั้งสองในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก และจำเลยทั้งสองยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 การที่โจทก์สั่งให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายคนละกึ่งหนึ่งเป็นเรื่องโจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่านั้น หากจำเลยคนหนึ่งคนใดยินยอมชำระให้กึ่งหนึ่ง โจทก์ก็อาจพิจารณาไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ชำระหนี้นั้นต่อไป แต่ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระ ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับตาม มาตรา 291 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่โจทก์ลงโทษตัดเงินเดือนจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของโจทก์ ฉบับที่ 7 ว่าด้วยวินัยการสอบสวน และการลงโทษสำหรับพนักงานและคนงานอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 หาเป็นเหตุลบล้างสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนของผู้ขายและผู้รับโอนกรรมสิทธิ์: ลูกหนี้ร่วมและผลของการซื้อขาย
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทเดิมค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนต่อโจทก์ก่อนโอนขายให้ จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างด้วยในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 45
การที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระมาตั้งแต่จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เรื่องที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ศาลจึงจะพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระนั้นต่อจำเลยที่ 3 ให้เสร็จไปในคดีเดียวกันตามมาตรา 477 ไม่ได้.
การที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระมาตั้งแต่จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เรื่องที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ศาลจึงจะพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระนั้นต่อจำเลยที่ 3 ให้เสร็จไปในคดีเดียวกันตามมาตรา 477 ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนของผู้ขายและผู้ซื้อเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารพิพาทเดิมค้างชำระค่าภาษีโรงเรือนต่อโจทก์ก่อนโอนขายให้จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทต้องร่วมรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างด้วยในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 45 การที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระมาตั้งแต่จำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ ไม่ใช่เรื่องที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายตกอยู่ในบังคับแห่งสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมประโยชน์อันจะพึงได้แต่ทรัพย์สินนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ศาลจึงจะพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดในค่าภาษีโรงเรือนที่ค้างชำระนั้นต่อจำเลยที่ 3 ให้เสร็จไปในคดีเดียวกันตามมาตรา 477 ไม่ได้