พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4617/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: นายประกันอาชีพหลอกลวงศาลด้วยเอกสารเท็จเพื่อผลประโยชน์
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ซึ่งเป็นนายประกันอาชีพเห็นอยู่แล้วว่าหนังสือมอบอำนาจที่จะใช้เป็นหลักฐานในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหายังไม่มีการกรอกข้อความใด ๆ ลงไว้ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ย่อมจะทราบได้ว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะการที่จะมอบอำนาจให้ใครกระทำการใดแทนนั้น ย่อมต้องมีการระบุข้อความที่มอบอำนาจไว้อย่างแน่นอนและชัดเจน แต่ได้มีการนำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาให้ ส. กรอกรายการในขณะนั้น โดยผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ยืนอยู่ใกล้ ๆ ซึ่งเข้าใจได้ว่าน่าจะรู้ว่าเกิดมีเรื่องไม่ชอบมาพากลขึ้น ควรที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 จะว่ากล่าวตักเตือนไม่ให้กระทำ แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 กลับส่งเสริมให้คำแนะนำแก่ผู้ถูกกล่าวหาคนอื่น ๆ ให้นำเอาเอกสารที่ไม่ชอบเหล่านั้นไปยื่นต่อศาล โดยแนะนำด้วยว่าให้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่คนใดจึงจะสะดวกและรวดเร็ว พร้อมกับยอมรับเป็นผู้รับส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลอีก พฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ถือได้ว่าเป็นการร่วมกระทำการหลอกลวงศาลให้มีคำสั่งโดยผิดหลงว่าหลักฐานที่นำยื่นเข้ามาเป็นเอกสารที่ถูกต้อง จนมีคำสั่งอนุญาตตามความประสงค์ของผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 กับพวก อันเป็นทางได้มาซึ่งผลประโยชน์ 10 เปอร์เซ็นต์ของหลักประกันที่ศาลตีราคา จึงถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 5 ประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ซึ่งเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) และมาตรา 33
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล เมื่อปรากฏต่อศาลว่าผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาล จะปรากฏโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาลหรือปรากฏจากหลักฐานอื่นใด ศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ทันทีโดยไม่จำต้องแจ้งข้อหาหรือส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการแต่อย่างใด เพียงแต่ศาลเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบถามให้ได้ความว่าเรื่องเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารที่นำเสนอจริงหรือไม่ ก็สามารถสั่งลงโทษได้ เพราะบทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นความผิดต่อศาล เมื่อปรากฏต่อศาลว่าผู้ใดกระทำละเมิดอำนาจศาล จะปรากฏโดยผู้นั้นกระทำต่อหน้าศาลหรือปรากฏจากหลักฐานอื่นใด ศาลก็ย่อมสั่งลงโทษได้ทันทีโดยไม่จำต้องแจ้งข้อหาหรือส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการแต่อย่างใด เพียงแต่ศาลเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบถามให้ได้ความว่าเรื่องเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารที่นำเสนอจริงหรือไม่ ก็สามารถสั่งลงโทษได้ เพราะบทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แม้ไม่คัดค้านเอกสาร แต่ศาลยังต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานอื่นประกอบ
แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งจะมิได้คัดค้านการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความอีกฝ่ายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ก็เพียงแต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการมีอยู่ และความแท้จริงของเอกสารนั้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการบังคับให้ศาลต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารนั้น เพราะข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ศาลต้องพิจารณาและมีอำนาจรับฟังจากพยานหลักฐานทั้งปวงอีกชั้นหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนคำพิพากษายกฟ้องที่ศาลล่างวินิจฉัยโดยไม่ไต่สวนข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์จงใจไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นั้น เป็นการยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 181 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2545 โจทก์มายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2545 แสดงเหตุยืนยันว่าโจทก์ได้มาศาลตามกำหนดแล้ว เพียงแต่โจทก์ยังติดการดำเนินคดีอาญาอื่น ซึ่งศาลได้นัดพิจารณาไว้ในวันเดียวกันก่อน เสร็จแล้วจึงจะมาดำเนินคดีต่อไปโดยขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำพิพากษา อันมีผลเท่ากับเป็นการขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ซึ่งหากเป็นความจริงตามคำร้องก็นับว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่ได้มาดำเนินคดีนี้ตามกำหนดนัด เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวยังไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องของโจทก์เสียก่อน จึงจะวินิจฉัยได้ว่าที่โจทก์ไม่มาดำเนินคดีนี้ตามกำหนดนัดมีเหตุสมควรหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งคำร้องของโจทก์โดยไม่ไต่สวนให้ได้ความจริงเสียก่อน จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 181
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกและปรับในคดียาเสพติด แม้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว การเพิ่มโทษปรับยังคงทำได้
เมื่อศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้วย่อมไม่อาจเพิ่มโทษจำคุกได้อีก แต่ความผิดที่จำเลยกระทำตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสาม มีโทษจำคุกและปรับ และตามมาตรา 100/1 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว กำหนดให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ทั้งโทษปรับเป็นโทษสถานหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้วางโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตและลงโทษปรับจำเลยด้วยดังที่กล่าวมาแล้ว การเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 จึงเพิ่มโทษปรับได้ด้วย ที่ศาลชั้นต้นมิได้เพิ่มโทษปรับจำเลยจึงเป็นการมิชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมิได้เพิ่มโทษปรับจำเลย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมไม่อาจเพิ่มโทษปรับได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายมีผลให้คดีพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุด ศาลควรแจ้งศาลอุทธรณ์เพื่อจำหน่ายคดี
คำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งให้ยกเลิกการล้มละลายมีผลทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายและเท่ากับศาลได้มีคำสั่งยกเลิกการพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของจำเลยไปด้วยในตัว ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ทราบเพื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยอีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ทราบ และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้วมีคำพิพากษาให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีขอคืนของกลาง: ห้ามวินิจฉัยข้อเท็จจริงยุติในคดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นในคดีก่อนพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน บก 5451 น่าน คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ป.อ. มาตรา 36 เพียงแต่บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของแท้จริงของทรัพย์ที่ถูกริบในคดีนั้น ในอันที่ขอคืนทรัพย์โดยเหตุมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด
การที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน บก 5451 น่าน เป็นยานพาหนะที่จำเลยใช้ในการกระทำผิด ย่อมเป็นยุติแล้ว ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีขอคืนของกลางนี้ จะหยิบยกข้อเท็จจริงที่ยุติในคดีที่ถึงที่สุดแล้วมาวินิจฉัยได้อีก ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ชอบที่จะวินิจฉัยไปตามประเด็นตามคำร้องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยในคดีดังกล่าวเท่านั้น
การที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน บก 5451 น่าน เป็นยานพาหนะที่จำเลยใช้ในการกระทำผิด ย่อมเป็นยุติแล้ว ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีขอคืนของกลางนี้ จะหยิบยกข้อเท็จจริงที่ยุติในคดีที่ถึงที่สุดแล้วมาวินิจฉัยได้อีก ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ชอบที่จะวินิจฉัยไปตามประเด็นตามคำร้องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยในคดีดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3054/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษจำคุกและปรับในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นไปตามกฎหมายบังคับโดยเด็ดขาด ศาลไม่อาจงดเว้นการลงโทษปรับได้
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มี
โทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีความผิดตามมาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งมีโทษจำคุกและปรับ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับโดยเด็ดขาด หาใช่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะงดเว้นไม่ลงโทษปรับได้
โทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีความผิดตามมาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งมีโทษจำคุกและปรับ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับโดยเด็ดขาด หาใช่อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะงดเว้นไม่ลงโทษปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการละเมิดอำนาจศาลต้องไต่สวนพยานหลักฐานก่อนตัดสิน หากไม่มีการไต่สวน ถ้อยคำของพยานยังไม่เป็นที่รับฟัง
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลซึ่งมิได้กระทำต่อหน้าศาล และผู้ถูกกล่าวหาให้การปฏิเสธ ศาลต้องไต่สวนพยานหลักฐานหาข้อเท็จจริงเสียก่อนให้ได้ความว่ามีการกระทำดังกล่าวหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นเพียงสอบถามปากคำของ ด. และผู้ถูกกล่าวหา โดยไม่ปรากฏว่า ด. ได้สาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 112 ถ้อยคำของ ด. จึงรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ถูกกล่าวหามิได้ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และการโต้แย้งดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองและหมู่บ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 6 เดือน ฐานบุกรุก จำคุก 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลดโทษกึ่งหนึ่งแล้ว ปรับ 10,000 บาท อีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ดังนี้ แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะได้รอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี คดีนี้จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องที่ไม่สมบูรณ์สามารถแก้ไขได้ก่อนมีคำพิพากษา และการพิสูจน์หนี้ตามเช็คพิพาท
การที่ใบแต่งทนายความของโจทก์ใช้ตราประทับของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. แทนที่จะใช้ตราประทับของบริษัทโจทก์ เป็นผลมาจากการหยิบตราประทับผิด อันเป็นการผิดพลาดบกพร่องในตัวผู้แต่งทนายความไม่ใช่การพิจารณาผิดระเบียบ แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมกับยื่นใบแต่งทนายความที่ถูกต้องเข้ามาใหม่พร้อมคำแก้อุทธรณ์ อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะสั่งสอบสวนหรือยอมรับการแก้ไขนั้นได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ไม่ว่าฝ่ายจำเลยจะยกเอาข้อบกพร่องนี้ขึ้นอุทธรณ์ด้วยหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าลายมือชื่อผู้แต่งทนายไม่เหมือนและไม่ใช่ลายมือชื่อของ บ. ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะจำเลยอุทธรณ์ว่า บ. ลงลายมือชื่อและประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. เป็นการกระทำในนามของห้างไม่ใช่บริษัทโจทก์ นอกจากนี้บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่ว่าไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา... นั้น มิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาล เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์บกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับขึ้นมาแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงเห็นสมควรอนุญาตยอมรับการแก้ไขนั้น ดังนี้อำนาจฟ้องที่ไม่สมบูรณ์จึงกลับเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่แรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง