พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมชื่อจำเลยในฟ้อง: ศาลอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ในระหว่างสืบพยานโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องว่าฟ้องโจทก์หน้าแรกตรงข้อความว่า "ข้าพเจ้าพนักงานอัยการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โจทก์ขอยื่นฟ้อง (1)... จำเลย" นั้น ยังมิได้เติมชื่อจำเลยลงไป ด้วยความพลั้งเผลอ จึงขอเติมชื่อจำเลยในช่องว่างเป็นว่า "นายดวง จิตชุ่ม" จำเลยนั้นเห็นว่าฟ้องของโจทก์ในช่องคดีระหว่างใครโจทก์ ใครจำเลยนั้น โจทก์ได้ระบุชื่อนายดวง จิตชุ่ม เป็นจำเลยไว้แล้ว เพียงแต่โจทก์พิมพ์ตกชื่อจำเลยในฟ้องหน้าแรก บรรทัดที่ 10 เท่านั้น ส่วนที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลยในบรรทัดต่อไปโจทก์ก็พิมพ์ไว้ครบถ้วน ทั้งในฟ้องหน้า 2 ตอนท้าย โจทก์ก็ได้ระบุว่าจำเลยต้องขังตามหมายขังของศาล ฟ้องของโจทก์จึงไม่มีทางที่จะให้เข้าใจผิดไปว่า โจทก์มิได้ฟ้องจำเลย จำเลยเองก็ดำเนินการต่อสู้คดีตลอดมาโดยมิได้หลงข้อต่อสู้แต่ประการใด การที่โจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ จึงเป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวในฟ้องด้วยความพลั้งเผลอ และไม่ได้ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี สมควรอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163, 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนอุทธรณ์หลังจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ จำเป็นต้องฟังจำเลยก่อน
โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เมื่อจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว จะต้องฟังจำเลยก่อน มิฉะนั้นห้ามมิให้ศาลอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การเพิ่มเติมไม่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม หากขยายความประเด็นข้อต่อสู้เดิมได้ ศาลต้องอนุญาตให้สืบพยาน
กรณีที่ถือว่าคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดแย้งกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ: ศาลอนุญาตได้แม้เป็นข้อต่อสู้ใหม่ ไม่ผูกติดกับคำให้การเดิม
การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่นั้นไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญาประนีประนอมสูญหาย ศาลอนุญาตให้ใช้พยานบุคคลแทนได้
โจทก์ฟ้องอ้างถึงสัญญาประนีประนอมระหว่างมารดาโจทก์กับจำเลยว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือที่อำเภอ มิได้รับว่า. ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ. ฉะนั้น จึงไม่ห้ามมิให้ศาลรับฟ้องไว้พิจารณา. โจทก์ขออ้างหนังสือดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาในภายหลังได้. เมื่ออำเภอแจ้งมายังศาลว่าสัญญาประนีประนอมค้นหาไม่พบ.เนื่องจากเป็นเวลานานและมีการย้ายที่ว่าการอำเภอ. ไม่สามารถนำส่งได้. ย่อมถือได้ว่าเอกสารที่โจทก์อ้างสูญหาย. โจทก์อ้างพยานบุคคลและศาลยอมให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบแทน.ก็ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตโดยปริยายชอบด้วยมาตรา 93(2). ศาลรับฟังคำพยานบุคคลของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมรดกของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่มีคำอนุญาตจากศาล
ผู้เยาว์อายุ 18 ปีมีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก
ผู้เยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็นพยานในเอกสารสัญญานั้นถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรม เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยังมิได้รับอนุญาตจากศาล ผู้ใช้อำนาจปกครองในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดก
สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกซึ่งผู้เยาว์ทำและผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลย่อมตกเป็นโมฆะ แม้สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำขึ้นระหว่างผู้เยาว์กับทายาทอื่นอีกหลายคน แต่จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวพัน ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ ย่อมตกเป็นโมฆะด้วยกันทั้งสิ้น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ใดครอบครองมรดกส่วนไหนก็ย่อมมีสิทธิเฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นที่ตนมิได้เกี่ยวข้อง ย่อมขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีเนื่องจากทนายป่วยและการประวิงคดี ศาลอุทธรณ์และฎีกาอนุญาตเลื่อนได้
วันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกซึ่งโจทก์เป็นฝ่ายสืบก่อน ทนายจำเลยไปศาล ส่วนโจทก์ ตัวโจทก์ ทนายโจทก์ และพยานไม่มีไปศาล ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนของทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อน อ้างว่าทนายป่วย ตามหนังสือรับรองของแพทย์ ไม่สามารถมาว่าความได้ ทนายจำเลยแถลงไม่ค้าน และว่าสุดแต่ศาลจะพิจารณา ดังนี้ การที่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีก็โดยที่ทนายโจทก์ป่วยไม่สามารถมาว่าความได้ ซึ่งการป่วยย่อมเป็นความจำเป็นอย่างหนึ่งที่ไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และเป็นการขอเลื่อนครั้งแรก ทนายจำเลยก็ไม่คัดค้าน การที่โจทก์และพยานโจทก์ไม่มีไปศาลอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจว่าทนายโจทก์ป่วยและขอเลื่อนคดีแล้วคดีคงจะเลื่อนไป โจทก์จึงไม่มาศาลก็ได้ และพยานบุคคลของโจทก์ที่เป็นพยานหมายนั้นปรากฏว่ามีคนเดียว โจทก์ได้ขอหมายเรียกพยานไปแล้ว แต่พยานไม่มา พยานอาจมีเหตุขัดข้องอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งไม่ใช่ความผิดของโจทก์ก็ได้ กรณีเช่นนี้ยังไม่พอจะฟังว่าโจทก์ประวิงคดี คำขอเลื่อนคดีของฝ่ายโจทก์ จึงมีเหตุจำเป็นที่สมควรจะให้เลื่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระหนี้และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลง ศาลอนุญาตให้สืบพยานบุคคลได้หากข้อตกลงผ่อนผันมีผลผูกมัด
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่ว่า โจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เดือนละ 500 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2507 เป็นต้นไปแต่ทั้งนี้จะไม่ค้างให้เกิน 6 เดือน ส่วนเงิน 5,000 บาทที่จำเลยจะต้องชำระให้ในเดือนพฤศจิกายน 2506 โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนระยะเวลาไปไม่เกิน 6 เดือน ดังนี้ มิใช่แปลงหนี้ใหม่
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ต่อไป ถ้าเป็นจริงย่อมมีผลผูกมัดโจทก์ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ จำเลยย่อมนำพยานบุคคลเข้าสืบได้ (อ้างฎีกาที่ 782/2503)
จำเลยได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงในการต่อสู้คดีไว้ชัดแจ้งแล้ว การจะปรับเข้าบทกฎหมายใด ย่อมตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาใช้เอง (อ้างฎีกาที่ 183/2486)
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ต่อไป ถ้าเป็นจริงย่อมมีผลผูกมัดโจทก์ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ จำเลยย่อมนำพยานบุคคลเข้าสืบได้ (อ้างฎีกาที่ 782/2503)
จำเลยได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงในการต่อสู้คดีไว้ชัดแจ้งแล้ว การจะปรับเข้าบทกฎหมายใด ย่อมตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาใช้เอง (อ้างฎีกาที่ 183/2486)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายความที่สมบูรณ์ แม้ลายมือชื่อไม่ครบถ้วน ศาลอนุญาตให้ดำเนินคดีได้
การที่คู่ความได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ตั้งทนายความแล้วแต่ทนายมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะเข้ารับเป็นทนายนั้นเป็นการบกพร่องที่เชื่อได้ว่าเกิดจากการพลั้งเผลอเพียงเล็กน้อย ศาลชั้นต้นได้ยินยอมให้ทนายว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความตลอดมา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ทนายว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตัวความได้การว่าความและการดำเนินกระบวนพิจาารณาของทนายแทนตัวความจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนดและคำโต้แย้ง ศาลอนุญาตให้สืบพยานได้
การที่ศาลไม่รับบัญชีระบุพยานของจำเลยเพราะมิได้ยื่นภายในกำหนด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 นั้น เมื่อศาลสั่งแล้ว จำเลยได้ยื่นคำร้องแถลงถึงความจำเป็นที่มิได้ยื่นภายในกำหนดและขอให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้ ดังนี้ถือว่า จำเลยได้ยื่นคำโต้แย้งคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)แล้ว จำเลยจึงยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้.