พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15407/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน การจดทะเบียนภาระจำยอม และผลของการไม่ฟ้องแย้งเพื่อบังคับชำระหนี้
สัญญาข้อ 2 มีใจความว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงดำเนินการจดทะเบียนทางภาระจำยอม โดยโจทก์ตกลงจดทะเบียนให้ที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 36717 ของโจทก์เป็นทางภาระจำยอมสำหรับที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 36715 ของจำเลยที่ 1 ให้มีความกว้าง 12 เมตร ส่วนจำเลยที่ 1 ตกลงจดทะเบียนทางภาระจำยอมให้มีความกว้าง 9 เมตร ซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 36715 ของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางภาระจำยอม สำหรับที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 36716, 36717 และ 341 ของโจทก์ ทั้งสองฝ่ายยินยอมให้ใช้เป็นทางภาระจำยอมตลอดไป เว้นแต่จำเลยที่ 1 ไม่ใช้ทางภาระจำยอมเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป ก็ยินยอมให้จดทะเบียนยกเลิกทางภาระจำยอมได้ ตามคำฟ้องและคำให้การทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ดำเนินการจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่ฝ่ายตนตามสัญญา ถือว่าทั้งสองฝ่ายมีข้อโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากันแล้ว หากจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้ศาลบังคับให้โจทก์จดทะเบียนทางภาระจำยอมให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการตอบแทนด้วยนั้น จำเลยที่ 1 จะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งตั้งประเด็นแห่งคดีเข้ามาเพื่อให้ศาลวินิจฉัยข้อพิพาทในส่วนที่โจทก์จะต้องชำระหนี้ตอบแทนให้แก่จำเลยที่ 1 ไปในคราวเดียวกัน ทั้งตามพฤติการณ์แห่งคดีนี้ หากจำเลยที่ 1 ตั้งประเด็นแห่งคดีเข้ามา โจทก์อาจมีข้อต่อสู้ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดก่อนที่จะพิพากษาบังคับโจทก์ก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องแย้งเข้ามาโดยมีคำขอให้ศาลบังคับโจทก์ ศาลย่อมไม่อาจวินิจฉัยข้อพิพาทในส่วนนี้และพิพากษาบังคับให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวเป็นการตอบแทนได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ไม่ยอมดำเนินการจดทะเบียนทางภาระจำยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นการตอบแทน จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิปฏิเสธที่จะไม่ดำเนินการจดทะเบียนทางภาระจำยอมให้โจทก์เช่นกันได้
ขณะทำสัญญาก็ดี ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ดี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ใช้บังคับอยู่ จึงต้องนำประกาศดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมี พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ให้ยกเลิกประกาศดังกล่าว และให้ใช้ พ.ร.บ.นี้เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินต่อไปก็ตาม ก็ยังคงต้องนำประกาศดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ ซึ่งตามประกาศดังกล่าวข้อ 30 วรรคหนึ่ง ก็มีใจความทำนองเดียวกับมาตรา 43 วรรคหนึ่ง พิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีนี้แล้ว หากให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ถนนดังกล่าวเป็นทางภาระจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมใช้ถนนดังกล่าวในฐานะทางภาระจำยอมทำนองเดียวกันกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจากโครงการที่ได้รับอนุญาต กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก อันจะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยประกาศดังกล่าวข้อ 30 วรรคหนึ่ง จึงไม่เป็นโมฆะ
ขณะทำสัญญาก็ดี ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ดี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ใช้บังคับอยู่ จึงต้องนำประกาศดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมี พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ให้ยกเลิกประกาศดังกล่าว และให้ใช้ พ.ร.บ.นี้เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินต่อไปก็ตาม ก็ยังคงต้องนำประกาศดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ ซึ่งตามประกาศดังกล่าวข้อ 30 วรรคหนึ่ง ก็มีใจความทำนองเดียวกับมาตรา 43 วรรคหนึ่ง พิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีนี้แล้ว หากให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้ถนนดังกล่าวเป็นทางภาระจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมใช้ถนนดังกล่าวในฐานะทางภาระจำยอมทำนองเดียวกันกับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจากโครงการที่ได้รับอนุญาต กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก อันจะเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยประกาศดังกล่าวข้อ 30 วรรคหนึ่ง จึงไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11902/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำคัดค้านและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ต้องยื่นแก้ไขก่อนกำหนด หากไม่เป็นเหตุสมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลยพินิจ
การแก้ไขข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงที่เสนอต่อศาลแต่แรก ผู้คัดค้านต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นได้ก่อนนั้น หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 (3) และ 180 คดีนี้ไม่มีการชี้สองสถาน หากผู้คัดค้านจะยื่นคำร้องขอแก้ไขพินัยกรรมท้ายคำคัดค้าน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำคัดค้านจึงต้องยื่นก่อนวันสืบพยานในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 ไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2552 จึงล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งผู้คัดค้านอ้างว่าเพิ่งค้นพบพินัยกรรมฉบับใหม่ในเดือนมีนาคม 2552 หากผู้คัดค้านประสงค์จะเปลี่ยนพินัยกรรมตามคำคัดค้านเป็นพินัยกรรมฉบับใหม่ก็สามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ขณะนั้น การที่ผู้คัดค้านเพิ่งมายื่นคำร้องภายหลังทราบผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของ ม. ตามพินัยกรรมท้ายคำคัดค้าน และมีการสืบพยานผู้ร้องเสร็จแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่ามีเหตุสมควรและไม่ใช่กรณีขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านชอบแล้ว
แม้ผู้คัดค้านจะมีคำขอให้มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. โดยมิได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ร่วมกับผู้ร้องก็ตาม แต่หากศาลเห็นว่าการแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
แม้ผู้คัดค้านจะมีคำขอให้มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. โดยมิได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ม. ร่วมกับผู้ร้องก็ตาม แต่หากศาลเห็นว่าการแต่งตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการมรดกยิ่งขึ้น ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13854/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การประเมินค่าเช่าที่ดินโรงเรียนเอกชน และการคืนค่าขึ้นศาล
จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดให้โจทก์เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน 709,532.42 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 ไม่เห็นด้วยกับการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยปรับลดลง 1,704,192.58 บาท คำชี้ขาดจึงเป็นไปตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์บางส่วนแล้ว แต่สำหรับในส่วนที่จำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดเห็นด้วยกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นั้น หากโจทก์ไม่พอใจในคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ในส่วนนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลได้ เมื่อในส่วนที่จำเลยที่ 2 ไม่เห็นด้วยกับการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ผู้รับประเมินไม่พอใจในคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้มีคำชี้ขาดแล้วว่าการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ในส่วนนี้จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามการประเมินของจำเลยที่ 1 เพราะฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำชี้ขาดในส่วนนี้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
นอกจากค่าธรรมเนียมการเรียนแล้ว โจทก์ยังเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อน ค่าบัตรร่วมงานประจำปี ค่าสมาชิกศิษย์เก่า แม้โจทก์เป็นองค์กรทางคริสต์ศาสนามีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ศาสนาให้การศึกษาและดำเนินกิจการด้านสาธารณกุศลต่าง ๆ อีกทั้งไม่ได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการเรียนจากนักเรียนยากจน นักเรียนที่เป็นบุตรหลานของครูและพนักงานในโรงเรียน และนักเรียนบางรายซึ่งติดค้างไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมการเรียนได้ก็ตาม แต่จากข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าธรรมเนียมอื่น และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากนักเรียนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการกระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล จึงไม่ใช่ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการศึกษาอันไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9
สำหรับโรงเรียนของโจทก์เป็นกรณีที่ทรัพย์สินนั้นหาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของดำเนินกิจการเอง ทางนำสืบไม่ปรากฏโรงเรียนที่ตั้งในเขตเดียวกับโรงเรียนโจทก์มาเทียบเคียงได้ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินตามหลักเกณฑ์ที่มีการแบ่งทำเลเพื่อกำหนดค่าเช่ามาตรฐานสอดคล้องกับประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีโรงเรียนเอกชนอื่นแตกต่างออกไป นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังมีคำชี้ขาดลดค่ารายปีแต่ละปีโดยคำนวณลดลงปีละ 3 เดือน ตามที่โจทก์อ้างว่ามีการหยุดเทอมภาคฤดูร้อน ทั้งที่ปรากฏตามทางนำสืบว่า โจทก์มีการเรียกเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อนแสดงว่ามีการเรียนการสอนในระยะเวลาดังกล่าว คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เป็นคุณแก่โจทก์ในส่วนนี้ คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
นอกจากค่าธรรมเนียมการเรียนแล้ว โจทก์ยังเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อน ค่าบัตรร่วมงานประจำปี ค่าสมาชิกศิษย์เก่า แม้โจทก์เป็นองค์กรทางคริสต์ศาสนามีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ศาสนาให้การศึกษาและดำเนินกิจการด้านสาธารณกุศลต่าง ๆ อีกทั้งไม่ได้เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการเรียนจากนักเรียนยากจน นักเรียนที่เป็นบุตรหลานของครูและพนักงานในโรงเรียน และนักเรียนบางรายซึ่งติดค้างไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมการเรียนได้ก็ตาม แต่จากข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ค่าธรรมเนียมอื่น และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากนักเรียนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการกระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล จึงไม่ใช่ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการศึกษาอันไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9
สำหรับโรงเรียนของโจทก์เป็นกรณีที่ทรัพย์สินนั้นหาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากเจ้าของดำเนินกิจการเอง ทางนำสืบไม่ปรากฏโรงเรียนที่ตั้งในเขตเดียวกับโรงเรียนโจทก์มาเทียบเคียงได้ แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินตามหลักเกณฑ์ที่มีการแบ่งทำเลเพื่อกำหนดค่าเช่ามาตรฐานสอดคล้องกับประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีโรงเรียนเอกชนอื่นแตกต่างออกไป นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังมีคำชี้ขาดลดค่ารายปีแต่ละปีโดยคำนวณลดลงปีละ 3 เดือน ตามที่โจทก์อ้างว่ามีการหยุดเทอมภาคฤดูร้อน ทั้งที่ปรากฏตามทางนำสืบว่า โจทก์มีการเรียกเก็บค่าเรียนภาคฤดูร้อนแสดงว่ามีการเรียนการสอนในระยะเวลาดังกล่าว คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 เป็นคุณแก่โจทก์ในส่วนนี้ คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้าย vs. พยายามฆ่า และการรอการลงโทษในคดีเยาวชน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบ มาตรา 80, 83 จำคุก 5 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยไปฝึกและอบรมมีกำหนด 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ส่งจำเลยไปฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี กรณีเป็นการแก้ไขเฉพาะระยะเวลาการฝึกอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 183 และมาตรา 6 ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
เจตนาฆ่าโดยเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ผู้กระทำต้องเล็งเห็นผลของการกระทำแล้วว่าจะทำให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตายได้ ซึ่งเป็นผลที่เห็นได้ชัดว่าจะเกิดขึ้น มิใช่เพียงแค่อาจจะเกิดขึ้นเท่านั้น การที่จำเลยกับพวกร่วมกันถีบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายทั้งสองขับด้วยความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นความเร็วไม่มาก ทำให้ผู้เสียหายทั้งสองไถลไปตามไหล่ทางที่มีหญ้าขึ้นปกคลุม และได้รับบาดแผลถลอกเป็นส่วนใหญ่ คงมีแต่ผู้เสียหายที่ 2 ที่นิ้วมือขวาฉีกด้วยเท่านั้น จึงเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยเพียงเจตนาทำร้ายเท่านั้น
แม้จำเลยจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยหนักเกินไปย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดโดยรอการลงโทษให้ได้
เจตนาฆ่าโดยเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ผู้กระทำต้องเล็งเห็นผลของการกระทำแล้วว่าจะทำให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตายได้ ซึ่งเป็นผลที่เห็นได้ชัดว่าจะเกิดขึ้น มิใช่เพียงแค่อาจจะเกิดขึ้นเท่านั้น การที่จำเลยกับพวกร่วมกันถีบรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายทั้งสองขับด้วยความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นความเร็วไม่มาก ทำให้ผู้เสียหายทั้งสองไถลไปตามไหล่ทางที่มีหญ้าขึ้นปกคลุม และได้รับบาดแผลถลอกเป็นส่วนใหญ่ คงมีแต่ผู้เสียหายที่ 2 ที่นิ้วมือขวาฉีกด้วยเท่านั้น จึงเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยเพียงเจตนาทำร้ายเท่านั้น
แม้จำเลยจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย หากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยหนักเกินไปย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดโดยรอการลงโทษให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8872/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาคดีถึงที่สุดและการออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุด การพิจารณาผลกระทบของการขยายเวลาฎีกา
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2550 ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม 2550 จำเลยยื่นคำร้องว่าไม่ประสงค์ฎีกาแต่ระหว่างนั้นศาลชั้นต้นยังไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟัง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2550 ดังนี้ นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังโจทก์ยังมีสิทธิยื่นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายหรือขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 217 และ 221 ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง เช่นนี้จะถือว่าคดีของจำเลยถึงที่สุดย้อนหลังไปวันที่ 24 กันยายน 2550 ซึ่งเป็นวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังย่อมไม่ได้ เพราะขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาและศาลชั้นต้นให้ขยายระยะเวลาฎีกาถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ไม่ยื่นฎีกา คดีจึงถึงที่สุดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันที่ระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิฎีกาสิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดวันที่ 29 ธันวาคม 2550 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6479/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าเสียหาย และการกำหนดค่าทนายความ: ทุนทรัพย์ที่ใช้คำนวณค่าทนายความต้องเป็นค่าเสียหายที่โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายรวมทั้งสิ้น 1,074,692 บาท โดยเป็นค่าซ่อมรถยนต์บรรทุกของโจทก์และค่าจ้างรถยนต์บรรทุกมาใช้งานแทนรวมจำนวนเงิน 309,800 บาท กับค่ารักษาพยาบาลและจัดงานศพของลูกจ้างทั้งสี่คนของโจทก์ที่เสียชีวิตจากเหตุคดีนี้รวมเป็นเงิน 764,892 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลและจัดงานศพของลูกจ้างทั้งสี่และพิพากษายกฟ้องในส่วนนี้มาแต่ต้น ดังนี้แม้ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) จะบัญญัติให้ศาลมีอำนาจกำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นสำหรับทุนทรัพย์เกิน 25,000 บาท ร้อยละ 5 ก็ตาม แต่สำหรับคดีนี้เมื่อโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายได้เฉพาะโจทก์เท่านั้น ทุนทรัพย์ที่จะนำมาเป็นหลักในการใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้ค่าทนายความแทนโจทก์จึงต้องใช้ฐานจากทุนทรัพย์ที่โจทก์มีอำนาจฟ้องคือ 309,800 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4698/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโมฆะและคุณสมบัติผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดก
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองซึ่งไม่ได้ทำต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก แม้ผู้ร้องจะไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แต่ผู้ร้องนำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกย่อมทำให้เป็นที่หวาดระแวงแก่ผู้คัดค้านและทายาทอื่นในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก ผู้ร้องจึงไม่เหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานหลักฐานนอกกรอบ ป.วิ.พ. มาตรา 88 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และการพิสูจน์ประเด็นการครอบครองที่ดิน
แม้การยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 1 จะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) เมื่อพิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 แล้วคดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของหรือในฐานะผู้เช่า ดังนี้ บัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 1 ที่อ้างพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์และจำเลยที่ 1 นำพยานบุคคลดังกล่าวเข้าเบิกความคือตัวจำเลยที่ 1 กับ ผ. ผู้รู้เห็นเหตุการณ์เช่าที่ดินพิพาทและเป็นผู้เก็บรักษาส่วนแบ่งข้าวที่ทำนาได้ จึงนับว่าเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยที่ 1 และอนุญาตให้จำเลยที่ 1 นำบุคคลดังกล่าวเข้าเบิกความจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี: กรณีฐานความผิดละเมิดลิขสิทธิ์และประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 3 (4) ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 แต่มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ดังนั้น การที่จำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายดีวีดีที่บันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องต่างๆ ซึ่งตรงกับบทนิยามศัพท์คำว่า ภาพยนตร์ ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังแล้ว จึงไม่อาจถือว่ากฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย
ในส่วนโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้น ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดมาบังคับแก่คดีตาม ป.อ. มาตรา 3 เมื่อมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำความผิด ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่ ในขณะที่มาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องใช้กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังในส่วนที่ไม่มีระวางโทษจำคุกซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ามาใช้บังคับ เมื่อมีแต่ระวางโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจรอการกำหนดโทษแก่จำเลยในความผิดฐานนี้ได้ สำหรับอัตราระวางโทษปรับนั้น ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดมากกว่า จึงต้องใช้อัตราระวางโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
ในส่วนโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้น ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดมาบังคับแก่คดีตาม ป.อ. มาตรา 3 เมื่อมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำความผิด ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่ ในขณะที่มาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องใช้กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังในส่วนที่ไม่มีระวางโทษจำคุกซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ามาใช้บังคับ เมื่อมีแต่ระวางโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจรอการกำหนดโทษแก่จำเลยในความผิดฐานนี้ได้ สำหรับอัตราระวางโทษปรับนั้น ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดมากกว่า จึงต้องใช้อัตราระวางโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7402/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนการสืบพยานเนื่องจากติดตามตัวพยานไม่ได้ ศาลไม่ควรด่วนงดสืบพยานทันที
โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานโจทก์ตามบัญชีระบุพยานอันดับ 2 ถึงอันดับ 7 ให้มาศาลตามกำหนดเวลาที่ศาลนัดสืบพยานโจทก์ไว้ในวันที่ 7 และ 8 เมษายน 2547 แล้ว เมื่อพยานโจทก์ดังกล่าวไม่มาศาล โจทก์แถลงต่อศาลว่าพยานทั้งหมดได้รับหมายเรียกแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของพยานที่จะต้องมาเบิกความต่อศาลตามกำหนดนัด จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ที่ไม่ติดตามพยานมาศาลหาได้ไม่ และในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 8 เมษายน 2547 ศาลชั้นต้นให้เลื่อนการสืบพยานโจทก์โดยมีคำสั่งให้ออกหมายจับพยานโจทก์ดังกล่าวก็เพื่อให้ได้ตัวพยานมาเบิกความ จึงต้องให้เวลาแก่โจทก์พอสมควรที่จะสามารถดำเนินการตามหมายจับได้ การที่ศาลชั้นต้นให้เลื่อนคดีไปเพียง 1 วัน โดยให้นัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยตามที่นัดไว้ในวันรุ่งขึ้น เห็นได้ว่าเป็นเวลากระชั้นชิดไปสำหรับการติดตามจับพยาน ซึ่งไม่แน่ว่าจะยังพบตัวอยู่ตามที่อยู่ที่พยานเคยให้ไว้หรือไม่ เมื่อในวันนัดที่เลื่อนไปดังกล่าว ปรากฏว่ายังไม่ได้ตัวพยานมาศาลตามหมายจับและโจทก์แถลงขอเลื่อนคดี โดยยังประสงค์จะติดตามพยานมาสืบ แม้จะได้ความจากโจทก์ว่าพยานทั้งหมดที่ศาลออกหมายจับมีอาชีพรับจ้างมีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง แต่หากให้เวลาโจทก์พอสมควรโจทก์ก็อาจให้เจ้าพนักงานตำรวจติดตามสืบหาที่อยู่ของพยานและได้ตัวมาเบิกความต่อศาลได้ การขอเลื่อนคดีของโจทก์จึงมีเหตุอันควร กรณียังไม่สมควรที่ศาลชั้นต้นจะด่วนงดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวทันทีอันอาจเป็นเหตุให้เสียความยุติธรรมได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะเลื่อนการพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 179 วรรคสอง