คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สละสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5878/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิในสัญญาค้ำประกันและการผูกพันในหนี้ทั้งหมดของผู้ค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ค้ำประกันหาหลักประกันมาวางเพิ่มขึ้นอีก70,000 บาท ผู้ค้ำประกันได้นำ น.ส.3 ก. มาวางศาลเมื่อวันที่7 กรกฎาคม 2530 แต่ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม 2530 ผู้ค้ำประกันยอมทำสัญญาค้ำประกันต่อศาลชั้นต้นระบุว่า หากจำเลยทั้งสองแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ผู้ค้ำประกันยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ที่ผู้ค้ำประกันได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาล และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531ผู้ค้ำประกันได้ยื่นคำร้องขอถอนหลักทรัพย์คืน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนได้โดยให้วางเงินเท่าจำนวนหลักทรัพย์จำนวน 123,574.50 บาทซึ่งผู้ค้ำประกันก็ยินยอมปฏิบัติตาม ตามพฤติการณ์ที่แสดงออกของผู้ค้ำประกันทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ผู้ร้องได้สละสิทธิและเปลี่ยนเจตนาที่จะยอมผูกพันเพียงเท่าจำนวนเงินที่นำมาวางตามคำสั่งศาลชั้นต้นในตอนแรก แต่ยอมผูกพันรับผิดชอบในหนี้ทั้งหมดที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น และผลของการเสียภาษีบำรุงท้องที่ต่อการครอบครอง
การที่จำเลยเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดินพิพาทโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้เห็นการกระทำดังกล่าว มิใช่เป็นการแย่งการครอบครองและไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครอง เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอาศัยโจทก์มาแต่แรกและไม่เคยบอกกล่าวว่าจะเปลี่ยนลักษณะการครอบครองโดยจะยึดถือเพื่อตน แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาอีกนานเท่าใด โจทก์ก็ไม่ต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในหนึ่งปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนและการสละสิทธิเรียกร้องค่าปรับ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ครบทุกงวด โดยบางงวดชำระก่อนกำหนด บางงวดชำระช้า กว่ากำหนด ใบเสร็จรับเงินชำระค่าเช่าซื้อ ทุกฉบับมีช่องค่าปรับ แต่ไม่ระบุจำนวนเงินค่าปรับเพื่อให้โจทก์ทราบ และชำระค่าปรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบเสร็จรับเงินค่าเช่าซื้อ งวด สุดท้าย มีรอยตราประทับไว้ว่า "โปรดทำการโอนภายใน 15 วัน" พร้อม ทั้ง มีเส้นขีดล้อมรอบช่อง "ค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย" แต่ไม่ระบุ จำนวนเงิน ในช่องค่าปรับ แสดงว่าจำเลยยอมรับชำระหนี้แล้ว โดย มิได้ สงวนสิทธิ จะเรียกเอาเบี้ยปรับในเวลารับชำระหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 381 วรรคสาม จำเลยจึง ไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเสียอายุความทางภาษีอากร: หนังสือแจ้งให้ขอคืนเงินถือเป็นการยอมรับหนี้และสละสิทธิเรียกร้องอายุความ
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรที่ได้เสียเกิน ย่อมสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2468 มาตรา 10 วรรคห้าแต่การที่หัวหน้าฝ่ายกลาง กองพิธีการและประเมินอากร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามที่จำเลยมอบหมายมีหนังสือถึงโจทก์หลังจากครบกำหนดอายุความเรียกร้องขอคืนเงินอากรว่าโจทก์เสียอากรไว้เกินให้ไปติดต่อขอรับเงินที่ชำระไว้เกินคืน ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความอันครบบริบูรณ์แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความครอบคลุมฟ้องแย้ง สละสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระเงินแก่ตน ครั้นถึงวันนัดสืบพยาน คู่ความยอมตกลงกันตามที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย ศาลแรงงานกลางจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและได้มีคำพิพากษาตามยอม ในวันนั้นตามข้อ 2 แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระบุไว้ว่า โจทก์จำเลยต่างไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดกันอีก ซึ่งหมายความว่า จำเลยได้สละข้อเรียกร้องของตนตามฟ้องแย้งแล้ว ถือว่าข้อเรียกร้องตามฟ้องแย้งของจำเลยได้ระงับสิ้นไปด้วยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 และคำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลาง ได้พิพากษารวมถึงข้อเรียกร้องตามฟ้องแย้งของจำเลยด้วยแล้ว ศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาสละสิทธิในเงื่อนไขการเลิกสัญญา และผลของการปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทน
แม้ตามสัญญาจะมีข้อสัญญาว่า หากจำเลยไม่สามารถชำระเงินงวดที่สองแก่โจทก์ภายในกำหนด ยอมให้ริบเงินที่ได้ชำระไปแล้วทั้งหมดได้และสัญญาเป็นอันยกเลิก แต่ต่อมาจำเลยได้นำเงินงวดที่สองไปชำระแก่โจทก์จนครบถ้วน ทั้งยังให้โจทก์จดทะเบียนทางภาระจำยอมให้จำเลยพร้อมกับทำบันทึกกันไว้ด้านหลังสัญญาว่า ให้เลื่อนการโอนที่ดินของจำเลยไปก่อนและตราบใดที่จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ให้โจทก์มีสิทธิปิดทางภาระจำยอมได้ หาได้มีการกำหนดให้มีการเลิกสัญญากันได้ให้เหมือนกับที่เคยทำกันไว้ไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้นำเอาข้อสัญญาเดิมมาใช้บังคับกันอีกต่อไป เท่ากับเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนไขในการเลิกสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเอาประโยชน์จากข้อสัญญาดังกล่าวที่จำเลยได้สละไปแล้ว เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนและโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะให้จำเลยโอนที่ดินตามสัญญาเป็นการชำระหนี้ตอบแทนให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลสมควรในการเลิกจ้าง และการสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์มาทำงานสายบ่อยครั้ง และบางครั้งหลังจากพักเที่ยง โจทก์กลับมาทำงานช้าหรือไม่กลับมาทำงานอีก ดังนี้เป็นเรื่องที่ลูกจ้าง ไม่มาทำงานให้แก่นายจ้างตามเวลาที่ นายจ้างกำหนด อันถือว่ามีเหตุสมควรที่ นายจ้างจะเลิกจ้างได้ การที่ จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและการสละสิทธิทางอาญาของผู้รับเช็ค
จำเลยออกเช็ค ชำระหนี้แก่ภริยาโจทก์ ๓ ฉบับ ฉบับละ ๔๐,๐๐๐ บาทธนาคารปฏิเสธการจ่ายแล้ว ๒ ฉบับ ส่วนอีก ๑ ฉบับ คือเช็ค พิพาทยังไม่ถึงกำหนดใช้ เงิน ต่อมาจำเลยชำระเงินสด ๑๒,๐๐๐ บาท และชำระด้วย เช็ค ที่ ด. ออกและจำเลยสลักหลังจำนวน ๑๐๘,๐๐๐ บาท ตาม เช็คเอกสารหมาย จ.๘ แทนเช็ค ๓ ฉบับ เดิม แล้วขอเช็ค ๓ ฉบับ เดิม คืนภริยาโจทก์ยอมคืนให้ ๒ ฉบับ ส่วนเช็ค พิพาทไม่ยอมคืนให้ ต่อมาภริยาโจทก์นำเช็ค เอกสารหมาย จ.๘ ไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ภริยาโจทก์นำเช็ค เอกสารหมาย จ.๘ ไปดำเนินคดี อาญาตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แก่ ด.และจำเลยแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าภริยาโจทก์ตกลง เข้าถือเอาสิทธิตาม เช็ค เอกสารหมาย จ.๘ แทนสิทธิที่มีอยู่ตาม เช็ค พิพาทเป็นการสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็ค พิพาทอีกต่อไป รวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดี อาญาแก่จำเลย หากธนาคารปฏิเสธการใช้ เงินตาม เช็ค พิพาทด้วย โจทก์ซึ่ง ทราบข้อตกลงระหว่างภรรยาโจทก์กับจำเลยดังกล่าวดี ได้ นำเช็ค พิพาทไปเรียกเก็บเงิน แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องเช็คเดิมหลังตกลงรับชำระหนี้ด้วยเช็คใหม่ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่ภริยาโจทก์ 3 ฉบับ ฉบับละ40,000 บาท ธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายแล้ว 2 ฉบับ ส่วนอีก 1 ฉบับคือเช็คพิพาทยังไม่ถึงกำหนดใช้เงินต่อมาจำเลยชำระเงินสด 12,000 บาท และชำระด้วยเช็คที่ ด. ออกและจำเลยสลักหลังจำนวน 108,000 บาท ตามเช็คเอกสารหมาย จ.8 แทนเช็ค 3ฉบับเดิมแล้วขอเช็ค 3 ฉบับเดิมคืน ภริยาโจทก์ยอมคืนให้ 2ฉบับ ส่วนเช็คพิพาทไม่ยอมคืนให้ ต่อมาภริยาโจทก์นำเช็คเอกสารหมาย จ.8 ไปเรียกเก็บเงินธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินภริยาโจทก์นำเช็คเอกสารหมาย จ.8 ไปดำเนินคดีอาญาพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แก่ ด. และจำเลยแล้วพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าภริยาโจทก์ตกลงเข้าถือเอาสิทธิตามเช็คเอกสารหมาย จ.8 แทนสิทธิที่มีอยู่ตามเช็คพิพาทเป็นการสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็คพิพาทอีกต่อไป รวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยหากธนาคาร ปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คพิพาทด้วย โจทก์ซึ่งทราบข้อตกลงระหว่างภริยาโจทก์กับจำเลยดังกล่าวดี ได้นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงิน แม้ธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องเช็คและการชำระหนี้ใหม่ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายเช็ค
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่ภริยาโจทก์ 3 ฉบับ ฉบับละ 40,000 บาทธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว 2 ฉบับ ส่วนอีก 1 ฉบับคือเช็คพิพาทยังไม่ถึงกำหนดใช้เงิน ต่อมาจำเลยชำระเงินสด 12,000 บาท และชำระด้วยเช็คที่ ด.ออกและจำเลยสลักหลัง จำนวน 108,000 บาท ตามเช็คเอกสารหมาย จ.8 แทนเช็ค 3 ฉบับเดิมแล้วขอเช็ค 3 ฉบับเดิมคืนภริยาโจทก์ยอมคืนให้ 2 ฉบับ ส่วนเช็คพิพาทไม่ยอมคืนให้ ต่อมาภริยาโจทก์นำเช็คเอกสารหมาย จ.8 ไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ภริยาโจทก์นำเช็คเอกสารหมาย จ.8 ไปดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แก่ ด.และจำเลยแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าภริยาโจทก์ตกลงเข้าถือเอาสิทธิตามเช็คเอกสารหมาย จ.8 แทนสิทธิที่มีอยู่ตามเช็คพิพาท เป็นการสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็คพิพาทอีกต่อไปรวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยหากธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คพิพาทด้วย โจทก์ซึ่งทราบข้อตกลงระหว่างภริยาโจทก์กับจำเลยดังกล่าวดี ได้นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงิน แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
of 39