พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญชาติ: การพิสูจน์สัญชาติไทยและการโต้แย้งสิทธิโดยเจ้าหน้าที่
โจทก์เดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยถือหนังสือสำคัญแสดงรูปพรรณว่าเป็นคนจีน กองตรวจคนเข้าเมืองกรมตำรวจอนุญาตให้โจทก์อยู่ได้ชั่วคราว โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อกองตรวจคนเข้าเมืองขอพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทย โดยยื่นเมื่ออยู่ในประเทศไทยแล้ว กองตรวจคนเข้าเมืองและกรมตำรวจไม่สั่งประการใด โจทก์รออยู่หลายเดือนไม่ได้รับทราบ จึงยื่นฟ้องอธิบดีกรมตำรวจและหัวหน้ากองตรวจคนเข้าเมืองเป็นจำเลย ขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์มีสัญชาติไทย และให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ออกไปจากประเทศไทย ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่า เมื่อครบกำหนดเวลาที่จำเลยอนุญาตแล้ว โจทก์ก็ต้องเดินทางกลับออกไป เพราะจำเลยถือว่าโจทก์มีสัญชาติจีน ทั้งที่โจทก์ก็ยืนยันอยู่ว่าเขาเป็นคนไทย มีสิทธิอยู่ในประเทศไทยได้ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ถือว่าตนเป็นคนไทยออกไปต่างประเทศโดยมิได้ทำหนังสือเดินทาง เมื่อจะกลับได้ไปแสดงต่อกงสุลไทย ณ เมืองฮ่องกงว่าโจทก์เป็นคนไทย แต่กงสุลไทยไม่ออกหนังสือเดินทางให้ โจทก์ต้องการเข้ามาพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทยจึงต้องทำหนังสือสำคัญแสดงว่าเป็นคนจีนขอเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราว เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่แล้ว โจทก์ก็ขอให้พิสูจน์สัญชาติไทย ดังนี้ หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ถือว่าตนเป็นคนไทยออกไปต่างประเทศโดยมิได้ทำหนังสือเดินทาง เมื่อจะกลับได้ไปแสดงต่อกงสุลไทย ณ เมืองฮ่องกงว่าโจทก์เป็นคนไทย แต่กงสุลไทยไม่ออกหนังสือเดินทางให้ โจทก์ต้องการเข้ามาพิสูจน์สัญชาติว่าเป็นคนไทยจึงต้องทำหนังสือสำคัญแสดงว่าเป็นคนจีนขอเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทยชั่วคราว เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่แล้ว โจทก์ก็ขอให้พิสูจน์สัญชาติไทย ดังนี้ หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสัญชาติไทยและการเนรเทศ: คำสั่งเนรเทศชอบด้วยกฎหมายแม้ภายหลังมีกฎหมายใหม่ให้สัญชาติคืน
โจทก์เกิดในประเทศไทย บิดาเป็นคนต่างด้าวและโจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ต่อมาจำเลยสั่งเนรเทศโจทก์ก่อนพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ คำสั่งเนรเทศดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ก่อนมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทยซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังคงเป็นบุคคลขาดสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับแล้วก็ดีปัญหาที่ว่า โจทก์จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องเพื่อขอแสดงว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยเพื่อจะให้ยกเลิกคำสั่งเนรเทศเท่านั้น
ก่อนมีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุคคลมีสัญชาติไทยซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังคงเป็นบุคคลขาดสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าต่อมาได้มีพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 7 ใช้บังคับแล้วก็ดีปัญหาที่ว่า โจทก์จะได้สัญชาติไทยกลับคืนมาหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องเพื่อขอแสดงว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยเพื่อจะให้ยกเลิกคำสั่งเนรเทศเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสตามประเพณีไม่ทำให้ได้รับสัญชาติไทย การจดทะเบียนสมรสมีความสำคัญ
หญิงต่างด้าวทำการสมรสกับคนไทยตามประเพณี ถือว่ายังมิใช่เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะยังมิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หญิงนั้นจะอาศัยสิทธิในฐานะภริยาคนสัญชาติไทย ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อได้รับสิทธิการเป็นคนสัญชาติไทยตามความในมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ. สัญชาติไทย พ.ศ. 2495 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสตามประเพณีไม่ทำให้ได้สัญชาติไทย การจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญ
หญิงต่างด้าวทำการสมรสกับคนไทยตามประเพณีถือว่ายังมิใช่เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะยังมิได้มีการจดทะเบียนสมรสกันหญิงนั้นจะอาศัยสิทธิในฐานะภริยาคนสัญชาติไทยยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อได้รับสิทธิการเป็นคนสัญชาติไทยตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยจากผู้เกิดในไทยที่มีเชื้อสายต่างด้าว กระทำผิดกฎหมายวิทยุสื่อสาร
กรณีที่ผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรแต่บิดาเป็นคนต่างด้าว กระทำผิด พ.ร.บ.วิทยุสื่อสารฯโดยบังอาจมี,ตั้งและใช้เครื่องส่งและรับวิทยุติดต่อกับต่างประเทศนั้น เป็นการกระทำอันเป็นเหตุที่ศาลจะสั่งให้ถอนสัญชาติไทยได้
มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติซึ่งแก้ไข เป็นเรื่องเกี่ยวแก่การได้สัญชาติโดยการเกิดหาได้หมายถึงเรื่องที่จะสั่งถอนสัญชาติตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติไม่.
มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติซึ่งแก้ไข เป็นเรื่องเกี่ยวแก่การได้สัญชาติโดยการเกิดหาได้หมายถึงเรื่องที่จะสั่งถอนสัญชาติตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยจากกรณีการกระทำความผิดทางอาญาและการพิจารณาถึงสัญชาติเดิมของบิดามารดา
กรณีที่ผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักร แต่บิดาเป็นคนต่างด้าว กระทำผิด พระราชบัญญัติวิทยุสื่อสารฯโดยบังอาจมีตั้งและใช้เครื่องส่งและรับวิทยุติดต่อกับต่างประเทศนั้น เป็นการกระทำอันเป็นเหตุที่ศาลจะสั่งให้ถอนสัญชาติไทยได้
มาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติสัญชาติซึ่งแก้ไข เป็นเรื่องเกี่ยวแก่การได้สัญชาติโดยการเกิด หาได้หมายถึงเรื่องที่จะสั่งถอนสัญชาติตามมาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติสัญชาติไม่
มาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติสัญชาติซึ่งแก้ไข เป็นเรื่องเกี่ยวแก่การได้สัญชาติโดยการเกิด หาได้หมายถึงเรื่องที่จะสั่งถอนสัญชาติตามมาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติสัญชาติไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487-1489/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดในประเทศไทย: การจดทะเบียนกับสถานทูตต่างประเทศไม่ทำให้เสียสัญชาติ
จำเลยเกิดในประเทศไทยในขณะที่ พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2456 ใช้บังคับ บิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่มารดาเกิดในประเทศไทย แม้เมื่อจำเลยเป็นผู้เยาว์ บิดาได้นำชื่อจำเลยไปจดทะเบียนไว้ต่อสถานเอกอัครราชฑูตอังกฤษก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นคนมีสัญชาติไทย ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2456 ม.3 ข้อ 3 การที่บิดานำเอาชื่อจำเลยไปจดทะเบียนไว้ต่อสถานเอกอัครราชฑูตอังกฤษ หาทำให้จำเลยเสียสัญชาติไทยไปไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487-1489/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดในประเทศไทย แม้บิดามารดาเป็นต่างด้าว และจดทะเบียนชื่อกับสถานทูตอังกฤษ
จำเลยเกิดในประเทศไทยในขณะที่ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 ใช้บังคับ บิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่มารดาเกิดในประเทศไทย แม้เมื่อจำเลยเป็นผู้เยาว์ บิดาได้นำชื่อจำเลยไปจดทะเบียนไว้ต่อสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456มาตรา 3 ข้อ 3 การที่บิดานำเอาชื่อจำเลยไปจดทะเบียนไว้ต่อสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ หาทำให้จำเลยเสียสัญชาติไทยไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสัญชาติไทยต้องเกิดจากเจตนาสมัครใจ การรับใบสำคัญคนต่างด้าวเพราะความกลัวผิดกฎหมาย ไม่ถือเป็นการสละสัญชาติ
ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นเมื่อจำเลยรับมาเพราะกลัวความผิดตามประกาศของอำเภอจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับมาด้วยความสมัครใจ จำเลยจึงไม่มีเจตนาจะสละสัญชาติไทย
เมื่อจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีคนต่างด้าว ตาม ก.ม. จำเลยจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามประกาศของอำเภอจำเลยยังคงเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2456 ดังนี้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับตามพฤติการณ์ดังกล่าวจะใช้บังคับแก่จำเลยให้ขาดจากสัญชาติไทยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วจำเลยก็ไม่มีหน้าที่จะต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับมานั้น
อนึ่งการที่จะขาดจากสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) ม.5 พ.ศ. 2496 จะต้องเป็นไปด้วยใจสมัครจึงจะถูกต้องตามความประสงค์ของมาตรานี้.
เมื่อจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีคนต่างด้าว ตาม ก.ม. จำเลยจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามประกาศของอำเภอจำเลยยังคงเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2456 ดังนี้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับตามพฤติการณ์ดังกล่าวจะใช้บังคับแก่จำเลยให้ขาดจากสัญชาติไทยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วจำเลยก็ไม่มีหน้าที่จะต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับมานั้น
อนึ่งการที่จะขาดจากสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) ม.5 พ.ศ. 2496 จะต้องเป็นไปด้วยใจสมัครจึงจะถูกต้องตามความประสงค์ของมาตรานี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสัญชาติไทยต้องเกิดจากเจตนาสมัครใจ การได้รับใบสำคัญคนต่างด้าวภายใต้ความกลัวผิดกฎหมาย ไม่ถือเป็นการสละสัญชาติ
ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นเมื่อจำเลยรับมาเพราะกลัวความผิดตามประกาศของอำเภอจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับมาด้วยความสมัครใจ จำเลยจึงไม่มีเจตนาจะสละสัญชาติไทย
เมื่อจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีคนต่างด้าว ตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามประกาศของอำเภอ จำเลยยังคงเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 ดังนี้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับตามพฤติการณ์ดังกล่าวจะใช้บังคับแก่จำเลยให้ขาดจากสัญชาติไทยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วจำเลยก็ไม่มีหน้าที่จะต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับมานั้น
อนึ่งการที่จะขาดจากสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 จะต้องเป็นไปด้วยใจสมัครจึงจะถูกต้องตามความประสงค์ของมาตรานี้
เมื่อจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีคนต่างด้าว ตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามประกาศของอำเภอ จำเลยยังคงเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 ดังนี้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับตามพฤติการณ์ดังกล่าวจะใช้บังคับแก่จำเลยให้ขาดจากสัญชาติไทยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วจำเลยก็ไม่มีหน้าที่จะต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับมานั้น
อนึ่งการที่จะขาดจากสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 จะต้องเป็นไปด้วยใจสมัครจึงจะถูกต้องตามความประสงค์ของมาตรานี้