คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันอำพราง การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความฟ้องร้อง
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ์นำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0769กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่41ของจำเลยที่1แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0485กาญจนบุรีแต่จำเลยที่1ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่งสำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวเช่นทำสัญญากันเมื่อใดราคาเท่าใดมีเงื่อนไขในการในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไรมีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลังส่วนคำว่าคิวนั้นเมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่1คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่40เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริงๆสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118เดิม โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายดังนั้นการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่41ให้แก่ส.ราคา352,000บาทนั้นความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อโจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่41โดยมีเงื่อนไขว่าหากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ส. ยึดคิวรถที่41ได้และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนส.ก็จะคืนคิวรถที่41ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใดการนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิดแต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้องเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่าจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย8203และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่1รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่41ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตได้นั้นโจทก์และจำเลยที่1จะต้องมีสัญญาต่อกันกล่าวคือจำเลยที่1จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่1และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าต่อมาจำเลยที่1ปฎิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่41แต่กลับให้จำเลยที่2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่1ทำผิดสัญญาดังกล่าวมิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ฉะนั้นจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาปรับแก่คดีหาไม่ได้และกรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่41ให้แก่ส. คิวรถที่41จึงยังเป็นของโจทก์อยู่แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่1ตามสัญญาจำเลยที่1กลับปฎิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่1ได้อนุญาตให้จำเลยที่2นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทนการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์: หลักฐานการฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 680
บันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายระบุว่ามีคู่กรณี2ฝ่ายฝ่ายแรกคือโจทก์ทั้งสองฝ่ายหลังคือ ท. คู่กรณีได้ตกลงกันว่าฝ่ายหลังจะชดใช้ค่าเสียหายคืนให้ฝ่ายแรกตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนดไว้หากฝ่ายหลังผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจะเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน ในตอนท้ายของบันทึกดังกล่าวระบุต่อไปว่าคู่กรณีตกลงกันเป็นที่เข้าใจแล้วโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่ ท. ในข้อหาฉ้อโกงอีกต่อไปพร้อมกับลงชื่อโจทก์ทั้งสอง ท. จำเลยทั้งสองและพนักงานสอบสวนดังนี้จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้ค้ำประกันอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในเมื่อ ท. ผิดสัญญาไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ทั้งสอง บันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันไว้เป็นสำคัญในอันที่โจทก์ทั้งสองจะนำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคสองเท่านั้นมิใช่ตราสารตามประมวลรัษฎากรมาตรา118จึง ไม่ต้องปิด อากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารหลักทรัพย์เพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน ต้องมีข้อความยอมชำระหนี้แทน
เอกสารที่จะเข้าลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันต้องมีข้อความที่ให้ความหมายว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้วบุคคลภายนอกนั้นจะยอมชำระหนี้แทนแต่เอกสารพิพาทมีข้อความว่า"ข้าพเจ้านางสาวอ. (จำเลยที่2)นางสาวด. (จำเลยที่3)ขอรับรองว่าจะนำโฉนดที่ดิน(ระบุเลขโฉนด)มอบให้ม. ในวันที่13มีนาคม2531เพื่อเป็นหลักทรัพย์ซึ่งน. (จำเลยที่1)ได้บกพร่องต่อทางราชการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีตามความเป็นจริงที่น. ได้กระทำเท่านั้น"เมื่อเอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความที่ให้ความหมายว่าถ้าจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้แล้วจำเลยที่2และที่3จะชำระแทนจึงไม่ใช่เอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่2และที่3ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเพื่อทุเลาการบังคับคดีมีผลเฉพาะชั้นอุทธรณ์ เมื่อหนี้ส่วนหนึ่งถูกยกคำพิพากษา สัญญาค้ำประกันนั้นสิ้นผล
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 กฎหมายกำหนดวิธีการอยู่ในอำนาจศาลเป็นชั้น ๆ ไป ไม่ใช่มีผลเป็นหลักประกันในการทุเลาการบังคับคดีในชั้นฎีกาเป็นการล่วงหน้าไปด้วย แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยใช้ข้อความว่าขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลว่าเมื่อคดีถึงที่สุด จำเลยไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ยินยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินที่วางประกันไว้ การประกันก็มีผลในชั้นอุทธรณ์เท่านั้น เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในส่วนค่าเสียหายถูกยกไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ด้วยเงินของจำเลยดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยอีกต่อไป เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงขอคืนโฉนดที่ดินที่นำมาวางประกันไว้ตามสัญญาค้ำประกัน จึงต้องคืนโฉนดที่ดินให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน แม้มีข้อตกลงถอนฟ้องอาญาเพิ่มเติม ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด
จำเลยที่1กู้ยืมเงินโจทก์650,000บาทโดยมีจำเลยที่2ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์โดยมีใจความสำคัญว่าผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้แทนจำเลยที่1แก่โจทก์ถ้าจำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระหนี้ดังนี้จำเลยที่2จึงเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่1ส่วนข้อตกลงอื่นๆที่ระบุว่าเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนลูกหนี้จนครบแล้วเจ้าหนี้จะดำเนินการถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาให้แก่ลูกหนี้ต่อไปเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับความรับผิดของผู้ค้ำประกันและไม่ใช่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์จำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระหนี้แทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อากรแสตมป์สัญญาค้ำประกัน: ค้ำประกันหนี้รายเดียวกัน ปิดอากรแสตมป์ฉบับเดียวได้
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร หมวด 6 ข้อ 17เรื่อง ค้ำประกัน กำหนดไว้ว่า "สัญญาค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาทผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท" บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์คนละ 10 บาท แม้ตามสัญญาค้ำประกันจะมีจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ลงลายมือชื่อค้ำประกัน 2 คน แต่ก็เป็นการค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน สัญญาฉบับเดียวกัน การปิดอากรแสตมป์ไว้ในสัญาค้ำประกันดังกล่าว 10 บาท เป็นการถูกต้องครบถ้วนแล้ว จึงรับฟังสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6955/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับและค่าควบคุมงานจากการก่อสร้างล่าช้า สัญญาค้ำประกันไม่ใช่หลักประกันหนี้
การจ้างก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังรวมอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันรวมราคาค่าก่อสร้างเบ็ดเสร็จเป็นเงิน14,700,000บาทโดยไม่ได้จำแนกหรือระบุเฉพาะเจาะจงว่าอาคารแต่ละหลังราคาเท่าใดการก่อสร้างอาคารทั้งสามหลังกำหนดแล้วเสร็จในวันที่22มีนาคม2531ในสัญญาดังกล่าวถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยยอมให้ปรับเป็นรายวันละ10,000บาทและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายวันวันละ200บาทโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าปรับหรือค่าควบคุมงานของอาคารหลังใดประการสำคัญหากโจทก์กับจำเลยประสงค์จะให้มีการปรับและจ่ายค่าควบคุมงานเป็นรายหลังต่อวันก็น่าจะตกลงไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งเมื่อไม่มีการตกลงกันเช่นนี้และกรณีมีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นคือจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยคงต้องรับผิดในค่าปรับและค่าควบคุมงานเป็นรายวันโดยรวมอาคารทั้งสามหลัง สัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา377ที่โจทก์จะใช้สิทธิริบจำนวนเงินในสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นมัดจำได้ฉะนั้นแม้สัญญาค้ำประกันจะเป็นเอกสารปลอมโจทก์จะอ้างเป็นเหตุให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามจำนวนในสัญญาค้ำประกันแก่โจทก์ไม่ได้หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการปลอมและใช้สัญญาค้ำประกันปลอมอย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้กระทำความผิดนั้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน – การขยายเวลาศึกษาต่อ – การผิดสัญญา – อายุความ
สัญญาระหว่างโจทก์กับ อ.มิได้ระบุระยะเวลาที่ อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบกำหนดแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้ อ.ลาศึกษาต่อและลากิจเป็นเวลา 4 ปี 5 เดือน โดยจำเลยมิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้ อ.ศึกษาต่ออีกนั้น แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยผู้ค้ำประกัน แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด เมื่อ อ.สำเร็จการศึกษาแล้วไม่กลับมารับราชการกับโจทก์ อันเป็นการผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้ที่ อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยจึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อ.ต้องกลับมารับราชการในวันที่ 1 มิถุนายน 2525 แต่ อ.ไม่กลับมารับราชการตามกำหนดดังกล่าว โจทก์จึงมีคำสั่งปลดออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2525 ถือได้ว่า อ.ผิดสัญญาตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - ขอบเขตความรับผิด - การอนุมัติลาศึกษาต่อเพิ่มเติมไม่ถือเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้
สัญญาระหว่างโจทก์กับอ.มิได้ระบุระยะเวลาที่อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณต่างประเทศและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกันฉะนั้นการที่อ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณต่างประเทศเป็นเวลา2ปีครบกำหนดแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้อ.ลาศึกษาต่อและลากิจเป็นเวลา4ปี5เดือนโดยจำเลยมิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้อ.ศึกษาต่ออีกนั้นแม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยผู้ค้ำประกันแต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดเมื่ออ.สำเร็จการศึกษาแล้วไม่กับมารับราชการกับโจทก์อันเป็นการผิดสัญญาต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้ที่อ.ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยจึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย อ.ต้องกลับมารับราชการในวันที่1มิถุนายน2525แต่อ.ไม่กลับมารับราชการตามกำหนดดังกล่าวโจทก์จึงมีคำสั่งปลดออกจากราชการตั้งแต่วันที่1มิถุนายน2525ถือได้ว่าอ.ผิดสัญญาตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่8มีนาคม2532ยังไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6023/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่ผูกพันทายาทหากผู้ค้ำประกันเสียชีวิตก่อนจำเลยผิดสัญญา
จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติจากทางราชการให้ลาไปศึกษาต่อต่างประเทศด้วยทุนของโจทก์และทำสัญญาให้ไว้แก่โจทก์ว่า จำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการชดใช้ทุน หากผิดสัญญายอมชดใช้เงินทุนและเบี้ยปรับแก่โจทก์โดยมี ก.เป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า ก.ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายลงในระหว่างเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดสัญญาและยังไม่ผิดนัด จึงยังไม่มีหนี้ของ ก.ที่โจทก์จะเรียกให้รับผิดได้ สัญญาค้ำประกันของ ก.ที่ทำไว้ต่อโจทก์ก็ย่อมไม่ตกทอดไปยังทายาท จำเลยที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นทายาทของ ก.จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
of 50