คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประนีประนอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกันหลังสัญญาประนีประนอมสิ้นสุด – ไม่ต้องฟ้องคดีใหม่
เมื่อจำเลยรับว่าจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์อยู่ภายหลังจากกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ย่อมบังคับชำระหนี้โดยยึดทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันในศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 ได้โดยไม่ต้องฟ้องผู้ค้ำประกันเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ: ต้องเปิดโอกาสสืบพยานเพื่อพิสูจน์สถานะกรรมการ
ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ยังมีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนของบริษัทจำเลยที่ 7 และที่ 8 อยู่หรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 7 และที่ 8 ทำกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ยังเป็นข้อที่โจทก์และจำเลยทั้งแปดโต้เถียงกันอยู่ ควรให้โอกาสคู่ความนำสืบให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้งดสืบพยานของคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งแปดต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3771/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินอื่นหลังขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ระบุว่า หลังจากโจทก์ยึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสี่ออกขายทอดตลาดแล้ว โจทก์ได้เรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ในคดีนี้ให้แก่โจทก์อีก อ้างว่าเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยทั้งสี่ไม่เพียงพอกับเงินที่จำเลยทั้งสี่ต้องชำระตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ได้ปฏิเสธที่จะชำระหนี้เพราะตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ถ้าหากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ไม่ชำระหนี้โจทก์ก็มีสิทธิบังคับชำระหนี้เพียงจากทรัพย์ที่จำเลยทั้งสี่จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์เท่านั้น คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ในส่วนนี้อนุโลมได้ว่าเป็นการร้องขอให้งดการบังคับคดีอีกต่อไปอยู่ด้วย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำอธิบายสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมซึ่งมีผลให้โจทก์สามารถติดตามยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เพื่อบังคับชำระหนี้ได้อีกจนครบมูลหนี้ จึงมีผลเป็นคำสั่งในชั้นบังคับคดีที่ให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้อยู่ในตัวจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงอาจใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 คำฟ้องโจทก์ระบุชัดเจนว่าหากบังคับจำนองได้เงินไม่ครบให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระจนครบ โจทก์และจำเลยทั้งสี่ไม่ได้ตกลงจำกัดความรับผิดไว้ว่าถ้าหากโจทก์ยึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสี่ที่ได้จำนองไว้แก่โจทก์ออกขายทอดตลาดได้เงินไม่ครบจำนวนหนี้แล้วจำเลยทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดอีก หรือโจทก์ติดตามเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยทั้งสี่จนครบจำนวนหนี้ไม่ได้อีก ดังนั้นเมื่อโจทก์ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่เพียงพอจำนวนหนี้ โจทก์จึงยังมีสิทธิติดตามบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสี่ภายใน 10 ปี ได้จนครบจำนวนหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอม-พินัยกรรม-การรับมรดก: สิทธิในที่ดินเมื่อคู่สมรสหย่าและมีพินัยกรรมยกมรดก
ข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.ที่ตกลงยกที่ดินพร้อมบ้านให้แก่โจทก์ที่ 2 ผู้เป็นบุตรนั้น เป็นบันทึกข้อตกลงที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.และทั้งสองฝ่ายประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรส ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ตามมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ ฟ.ลูกหนี้ชำระหนี้ด้วยการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาดังกล่าวแก่โจทก์ที่ 2 ได้ ส่วนโจทก์ที่ 2 ในฐานะบุคคลภายนอกหากแสดงเจตนาแก่ ฟ.ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น โจทก์ที่ 2ก็ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ ฟ.ชำระหนี้โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญานั้นให้แก่ตนได้โดยตรง ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.เมื่อหย่ากัน แต่ละฝ่ายย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคนละครึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 แต่โจทก์ที่ 2 ไม่ได้แสดงเจตนาแก่ ฟ.ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาในส่วนที่ดินพิพาทซึ่ง ฟ.มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งก่อนที่ฟ.จะตาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งจึงยังเป็นของ ฟ.อยู่ฟ.ย่อมแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับที่ดินนั้นในส่วนของตนเพื่อให้มีผลบังคับตามกฎหมายเมื่อตนตายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 ฟ.ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิได้รับที่ดินดังกล่าวตามส่วนที่ ฟ.มีกรรมสิทธิ์อยู่ในฐานะเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรม เมื่อ ฟ.ตาย อย่างไรก็ตามกองมรดกของผู้ตายตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 นอกจากจะได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายแล้ว ยังรวมถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ด้วย แม้จำเลยจะมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายก็ตามแต่หน้าที่และความรับผิดที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นมรดกมีผลผูกพันให้จำเลยต้องรับผิดด้วย ดังนั้น หน้าที่และความรับผิดที่ ฟ. มีต่อโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามบันทึกข้อตกลงในทะเบียนการหย่าซึ่งเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงตกทอดมายังจำเลย และจำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกดังกล่าวด้วยการที่โจทก์ทั้งสองไปคัดค้านในขณะที่จำเลยทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองไปแสดงและขอรับมรดกต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า ฟ.ไม่มีสิทธินำเอาที่ดินพิพาทไปทำพินัยกรรมยกให้จำเลย นั้น ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกนั้นแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.ได้ทำกันไว้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2519 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวได้ โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 จึงเกินกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) แล้ว คดีของโจทก์ที่ 1 จึงขาดอายุความ แต่คดีของโจทก์ที่ 2 ปรากฏว่าโจทก์ที่ 2ไปคัดค้านการขอรับมรดกที่ดินของจำเลยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2530และโจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2531 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) คดีของโจทก์ที่ 2จึงยังไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้แสดงเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอรับมรดกที่ดินครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาทและไม่มีสิทธิที่จะยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้ต่อไป จำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2393/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เกิน 10 ปี หมดสิทธิ
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2531 ความว่า โจทก์ยอมให้ที่ดินที่เป็นเกาะมีบ้านจำเลยปลูกอยู่เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในโฉนดเลขที่ 1924 เป็นของจำเลย และจะไปขอแบ่งแยกให้ ทั้งสองฝ่ายจะไปยื่นขอแบ่งแยกภายในเดือนมกราคม 2514 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้บังคับคดีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2533 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงหมดสิทธิบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้กรณีเป็นดังที่จำเลยอ้างว่าเป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งโจทก์เป็นฝ่ายเพิกเฉยไม่ไปขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วกลับมาฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีใหม่ และจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์แล้วก็ตามก็หามีบทกฎหมายใดบัญญัติให้มีการขอบังคับคดีเกินกว่าสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส สินส่วนตัว และผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความในการก่อตั้งภารจำยอม
จำเลยได้รับยกให้ที่ดินภายหลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 เมื่อหนังสือยกให้ไม่ได้ระบุว่าให้เป็นสินสมรสจึงต้องถือว่าที่ดินของจำเลยเป็นสินส่วนตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จำเลยจึงมีอำนาจจัดการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้มีทางภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ในที่ดินดังกล่าวโดยมิได้รับความยินยอมจากภริยา จึงมีผลผูกพันจำเลย สัญญาประนีประนอมยอมความ มีข้อตกลงว่าจำเลยจะจดทะเบียนที่ดินเป็นภารจำยอมให้โจทก์เป็นสัญญาก่อตั้งภารจำยอมในที่พิพาท เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: สัญญาเป็นโมฆะเมื่อคู่สัญญาถูกฉ้อฉลขณะวิกลจริต
คดีปรากฏตามฟ้องของโจทก์เองว่า จำเลยล้มป่วยเป็นโรคผิดปกติทางประสาทและจิต และแพทย์ลงความเห็นว่า จำเลยมีอาการโรคจิตอย่างร้ายแรงไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ และในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเวลาภายหลัง โจทก์ยื่นฟ้องเพียงเดือนเดียว จำเลยก็ไม่มีทนายความ ตามคำแก้อุทธรณ์และฎีกาโจทก์ก็ไม่ได้โต้เถียงว่ามิได้ปิดบังลอบพาจำเลยไปศาล ได้แต่โต้แย้งว่า ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมีความรู้สึกผิดชอบดีทุกประการ ซึ่งก็ขัดกับข้ออ้างที่โจทก์ยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องหย่าดังกล่าว พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้รับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องแล้วใช้อุบายพาจำเลยซึ่งวิกลจริตไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นกรณีที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปเพราะถูกโจทก์ฉ้อฉลจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนสัญญานั้นและคำพิพากษาตามยอมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีตามคำพิพากษาตามยอม: นับจากวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
จำเลยที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนแบ่งแยกที่พิพาทไม่เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำพิพากษาตามยอมที่ถึงที่สุดซึ่งบังคับให้จำเลยที่ 2จำต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 โดยนับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับตามคำพิพากษาตามยอม: 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลก็ดีโดยคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการก็ดี โดยประนีประนอมยอมความก็ดีท่านให้มีกำหนดอายุความสิบปี แม้ทั้งที่เป็นประเภทอันอยู่ในบังคับอายุความกำหนดน้อยกว่านั้นดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำพิพากษาตามยอมที่ถึงที่สุดซึ่งบังคับให้จำเลยที่ 2 จำต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความสิบปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่? เมื่อสถานะที่ดินเปลี่ยนแปลงจากป่าสงวนเป็นที่ดินว่างเปล่า สัญญาประนีประนอมยังบังคับได้
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และจำเลยตกลงจะซื้อที่พิพาทจากโจทก์โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว แต่ศาลวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้วินิจฉัยประเด็นอื่น ต่อมาทางราชการได้รับรองว่าที่พิพาทอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี.
of 51