พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้และเงินมัดจำเช่า: จำเลยต้องคืนเงินให้โจทก์หากผิดสัญญาเช่า และต้องแสดงเหตุแห่งข้อต่อสู้ตามวิ.แพ่ง
การที่เจ้าของสถานที่เช่าทำสัญญากู้ไว้แก่ผู้ตกลงเช่ามีกำหนดชำระคืนแน่นอนในเดือนปีนั้น เมื่อครบกำหนดแล้วแม้จะเป็นเงินมัดจำก็ต้องคืน
คำให้การต่อสู้คดีแพ่งต้องแสดงเหตุแห่งข้อต่อสู้ของตน จำเลยจะกล่าวในคำให้การแต่ว่าโจทก์ผิดสัญญา โดยไม่ได้กล่าวว่าโจทก์กระทำหรือไม่ กระทำอย่างใดอันเป็นการผิดสัญญา การดังนี้ไม่ถูกต้องตาม วิ.แพ่ง ม.177
คำให้การต่อสู้คดีแพ่งต้องแสดงเหตุแห่งข้อต่อสู้ของตน จำเลยจะกล่าวในคำให้การแต่ว่าโจทก์ผิดสัญญา โดยไม่ได้กล่าวว่าโจทก์กระทำหรือไม่ กระทำอย่างใดอันเป็นการผิดสัญญา การดังนี้ไม่ถูกต้องตาม วิ.แพ่ง ม.177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่มีข้อตกลงโอนที่ดินเมื่อผิดนัดชำระ เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656
สัญญากู้เงินมีใจความว่ากู้เงินไปจำนวนหนึ่ง สัญญาจะใช้คืนภายในกำหนด และมีข้อความว่า ผู้กู้ได้นำนาแปลงหนึ่งมาให้ผู้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันโดยมีบันทึกว่า "นารายนี้ข้าพเจ้าไม่นำต้นเงินและดอกเบี้ยมาให้ท่านตามสัญญานี้ ข้าพเจ้าขอยอมโอนที่นารายนี้ให้แก่ท่านเป็นกรรมสิทธิ์" ดังนี้ ถือว่าเป็นสัญญากู้หนี้ธรรมดาไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายที่นา ฉะนั้นจึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยยืมใช้สิ้นเปลือง คือตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 650 เมื่อตกลงกันล่วงหน้าว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดยอมโอนที่นาให้เป็นกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการเอาทรัพย์สินอย่างอื่นชำระหนี้แทนเงินกันทีเดียวโดยมิได้คำนึงถึงราคานาเสียเลยจึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 656 วรรคสองและตกเป็นโมฆะตามวรรคสาม ผู้ให้กู้จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้บังคับผู้กู้โอนที่นาให้แก่ตนตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเอาทรัพย์สินเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาเงินกู้ เงื่อนไขการขาดกันเป็นโมฆะหากไม่มีเจตนาชัดเจน
ทำสัญญากู้เงินแล้วมอบที่ดินให้ยึดถือไว้เป็นประกันในสัญญามีข้อความว่า ถ้า 2 เดือนไม่นำเงินมาให้เป็นอันว่า ที่ดินที่กล่าวข้างบนนี้ขาดกัน เงื่อนไขตอนหลังนี้เป็นลักษณะแห่งการเอาทรัพย์สินเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 ข้อสัญญาย่อมเป็นโมฆะตาม มาตรา 656 วรรคสาม ส่วนที่จะให้แปลสัญญาว่า เมื่อไม่ชำระหนี้ผู้กู้จะโอนที่ดินให้เป็นการชำระหนี้แทนตัวเงินกู้นั้น โจทก์ต้องนำสืบให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่ามีดังนั้น (อ้างฎีกาที่ 1237/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องน้ำหนักทองตามสัญญาเงินกู้ การพิจารณาตามคำรับของจำเลยเมื่อไม่มีพยานสนับสนุน
คู่ความตกลงกันสืบพยานร่วมคนเดียว แล้วให้ศาลพิพากษาไปเมื่อสืบพยานร่วมเสร็จ คู่ความก็ขอให้ศาลนัดตัดสิน ดังนี้ เมื่อคำเบิกความของพยานฟังเป็นแน่นอนไม่ได้ ก็ไม่สมควรที่จะให้มีการพิจารณากันใหม่แต่ต้องกลับไปพิจารณาถึงประเด็นแห่งคดี คือ จำเลยให้การฟ้องแย้งว่าได้มอบทองไว้แก่โจทก์หนัก 4 บาท 2 สลึง โจทก์ให้การว่า ทองที่มอบไว้มีน้ำหนักเพียงบาทเดียว เมื่อจำเลยไม่มีพยานสนับสนุนคำกล่าวอ้าง ก็ต้องฟังตามคำรับ ของโจทก์ว่า มีน้ำหนักเพียงบาทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ต่างดอกเบี้ยกำหนดไถ่ถอน: การตีความเจตนาสละสิทธิ vs. กำหนดระยะเวลาชำระหนี้
ทำสัญญากู้เงินมอบที่นาให้ทำกินต่างดอกเบี้ย กำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี เมื่อพ้นกำหนดแล้วไม่ไถ่ ดังนี้ ในข้อวินิจฉัยที่ว่าจะเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองหรือเป็นเรื่องระยะเวลาชำระหนี้นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวแก่การวินิจฉัยหรือตีความตามข้อตกลงแห่งสัญญาซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าข้อตกลงเพียงเท่านี้ยังแปลไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสละสิทธิครอบครอง แปลได้เพียงว่า เป็นกำหนดระยะเวลาชำระหนี้หรือกำหนดเวลาการไถ่ถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่มีข้อตกลงโอนกรรมสิทธิที่ดินเมื่อผิดนัดชำระ ถือเป็นโมฆะตามกฎหมาย
สัญญากู้หนี้ธรรมดาซึ่งข้อที่สัญญามีว่า ถ้าไม่ชำระหนี้เงินกู้ภายในกำหนด ยอมโอนที่ดินให้หลุดเป็นกรรมสิทธิแก่เจ้าหนี้ ดังนี้ เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 656 วรรค 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่มีข้อตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อผิดนัดชำระ เป็นโมฆะตามกฎหมาย
สัญญากู้หนี้ธรรมดาซึ่งข้อที่สัญญามีว่า ถ้าไม่ชำระหนี้เงินกู้ภายในกำหนด ยอมโอนที่ดินให้หลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่เจ้าหนี้ ดังนี้ เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสอง
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2491
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2491
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่นาจากการยึดถือเพื่อตนหลังพ้นกำหนดสัญญาเงินกู้ และการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า
สัญญามีความว่า ถ้าไม่ชำระเงินกู้ตามสัญญา ที่นาที่ประกันนี้ให้เป็นสิทธิแก่เจ้าหนี้นั้น แสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาแจ้งชัดว่า เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ ให้ที่นาเป็นสิทธิแก่เจ้าหนี้ อีกนัยหนึ่งคือ ลูกหนี้ได้สละสิทธิการครอบครองตั้งแต่วันพ้นกำหนดแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครอง (ลูกหนี้) ตามความหมายในมาตรา 1381 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อเจ้าหนี้ครอบครองต่อมา จึงเป็นการครอบครองเพื่อตน
ที่นามือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญ ผู้ครอบครองได้ใช้อำนาจยึดถือเพื่อตนมานาน 8 - 9 ปี ย่อมได้สิทธิครอบครอง
(อ้างฎีกาที่ 152/2488)
ที่นามือเปล่าไม่มีหนังสือสำคัญ ผู้ครอบครองได้ใช้อำนาจยึดถือเพื่อตนมานาน 8 - 9 ปี ย่อมได้สิทธิครอบครอง
(อ้างฎีกาที่ 152/2488)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ต่างดอกเบี้ยไม่ใช่ขายฝาก การครอบครองปรปักษ์ยังไม่ครบกำหนด
ทำสัญญากู้เงินโดยมอบโฉนดที่นาให้ไว้แก่ผู้ให้กู้ และมอบนาให้ผู้ให้กู้ทำต่างดอกเบี้ย ไม่มีคำว่าขายฝาก เป็นแต่กล่าวว่าให้นำเงินมาใช้ภายใน 10 ปี ดังนี้ เป็นสัญญากู้เงิน ให้นาทำต่างดอกเบี้ยไม่ใช่เป็นการขายฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ไม่ระบุรายละเอียดการผ่อนชำระ อายุความไม่เริ่มนับ
แม้ในสัญญากู้จะเขียนไว้ว่า ผ่อนชำระเป็นงวดก็ดี ถ้าไม่มีข้อความว่าจะใช้กี่งวด งวดละเท่าใด และใช้เมื่อใดแล้ว ถือว่าคดีไม่อยู่ในบังคับอายุความตาม มาตรา 166