คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องค่าทำงานล่วงเวลา/วันหยุด แม้ไม่มีงานจริง การอยู่เวรก็ถือเป็นการทำงาน
เมื่อฟ้องโจทก์เป็นการขอให้จำเลยจ่ายเงินตามระเบียบ ข้อบังคับซึ่งมีอยู่เดิม มิใช่เป็นเรื่องแก้ไขเพิ่มเติม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้ทันที
การที่โจทก์มีหน้าที่ต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด กับการมีงานให้ทำจริงๆในช่วงเวลานั้นๆเป็นคนละกรณี กัน เมื่อโจทก์ต้องทำงานในช่วงเวลาที่จำเลยกำหนดแต่ไม่มีงานให้โจทก์ทำ ไม่ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่เป็นการทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ต่อสู้ให้เป็น ประเด็นมาในคำให้การ แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยให้ก็ไม่เป็นการผูกพันที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยให้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436-2438/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จและค่าชดเชย แม้มีการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอน ก็ยังต้องนำมาหักออกจากค่าชดเชยตามกฎหมาย
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยระเบียบเดิม ไม่ใช่เป็นสิทธิที่เกิดจากข้อเรียกร้องหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งทำขึ้นใหม่ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างแทนที่จะรอจ่ายเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเฉพาะกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงิน ส่วนสาระสำคัญอื่นๆ เช่น ประเภทของลูกจ้าง หรือคุณสมบัติของลูกจ้างผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ คงใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบเดิม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังเป็นเพียงกำหนดให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะขอเลือกรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี หรือขอรับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานก็ได้เท่านั้น มิได้หมายความเลยไปว่าถ้าลูกจ้างขอรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีไปแล้ว ก็สิ้นความผูกพันที่มีอยู่ตามระเบียบเดิม นายจ้างมีสิทธิจะนำระเบียบเดิมมาใช้บังคับแก่ลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436-2438/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: สิทธิลูกจ้างยังคงมีแม้รับเงินบำเหน็จตัดตอน
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยระเบียบเดิม ไม่ใช่เป็นสิทธิที่เกิดจากข้อเรียกร้องหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งทำขึ้นใหม่ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างแทนที่จะรอจ่ายเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเฉพาะกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงิน ส่วนสาระสำคัญอื่นๆ เช่น ประเภทของลูกจ้าง หรือคุณสมบัติของลูกจ้างผู้มี สิทธิได้รับเงินบำเหน็จ คงใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบเดิมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังเป็นเพียงกำหนดให้สิทธิ แก่ลูกจ้างที่จะขอเลือกรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี หรือขอรับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานก็ได้เท่านั้นมิได้หมายความเลยไปว่าถ้าลูกจ้างขอรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีไปแล้ว ก็สิ้นความผูกพันที่มีอยู่ตามระเบียบเดิม นายจ้างมีสิทธิจะนำระเบียบเดิมมาใช้ บังคับแก่ลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างตามฤดูกาล: การเลิกจ้างก่อนครบกำหนดสัญญา ไม่กระทบสิทธิค่าชดเชย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ติดต่อกันรวม 9 ครั้ง ครั้งละ3 เดือนบ้าง6 เดือนบ้าง ครั้งสุดท้ายมีกำหนด 1 เดือน ทั้งนี้เพราะมีความจำเป็นตามฤดูกาลทางเกษตรกรรม ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะหมดเมื่อใด จึงเป็นการจ้างที่มิได้ ถือเอาระยะเวลาเป็นสำคัญ หากแต่ถือเอาความจำเป็นของจำเลยเป็นเหตุในการเลิกจ้าง ฉะนั้น กำหนดระยะเวลาการจ้างย่อมไม่มีผลบังคับอย่างแท้จริง เพราะจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้หากความจำเป็นหมดไป จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนอันจำเลยได้รับยกเว้นไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดนั้น
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหากฝ่าฝืนเป็นความผิดทางอาญาถือว่าเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนดังนั้น การที่ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยจึงหาทำให้สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับค่าชดเชยระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีและการจ่ายค่าจ้างเมื่อลาออก ลูกจ้างมีสิทธิเลือกใช้สิทธิหยุดพักผ่อน ไม่สามารถเรียกร้องค่าจ้างแทนได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯข้อ 10 ที่กำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละหกวันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ นั้น เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อทำงานครบหนึ่งปีแล้ว มิได้เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเลือกเอาค่าจ้างแทนการหยุดพักผ่อนประจำปี การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิและลาออกจากงานไปก่อน จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 45 ที่กำหนดว่า ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำ โดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามข้อ 47 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี นั้น ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง จะนำมาใช้บังคับกับกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507-3509/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนแทนวันลาป่วย: นายจ้างต้องพิจารณาสภาพความจำเป็นของผู้ป่วยเป็นรายกรณี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีความว่า ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม ลูกจ้างจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดพักผ่อน เว้นแต่จะใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยลากิจที่จำเป็นจริง ๆ นั้น ไม่อาจแปลได้ว่า เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของนายจ้างที่จะกำหนดเอาเองว่ากรณีใดร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นจริง ๆ หรือไม่ หากแต่จะต้องพิจารณาถึงสภาพความจำเป็นของผู้ลากิจ ลาป่วยเป็นเรื่อง ๆ ไป ดังนี้ เมื่อจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยได้ตามความเป็นจริงที่โจทก์อ้าง เพราะโจทก์แต่ละคนปวดศีรษะอย่างแรง เป็นไข้ท้องเสียอย่างแรง และเวียนศีรษะ เห็นได้ว่าเป็นความจำเป็นจริง ๆ อันโจทก์แต่ละคนย่อมไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อตกลงดังกล่าวที่โจทก์ทุกคนจะพึงใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยของโจทก์แต่ละคนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507-3509/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนแทนวันลาป่วย: พิจารณาความจำเป็นจริงเป็นรายกรณี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีความว่า ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม ลูกจ้างจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดพักผ่อน เว้นแต่จะใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยลากิจที่จำเป็นจริง ๆนั้น ไม่อาจแปลได้ว่า เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของนายจ้างที่จะกำหนดเอาเองว่ากรณีใดร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นจริง ๆ หรือไม่ หากแต่จะต้องพิจารณาถึงสภาพความจำเป็นของผู้ลากิจ ลาป่วยเป็นเรื่อง ๆ ไป ดังนี้ เมื่อจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยได้ตามความเป็นจริงที่โจทก์อ้าง เพราะโจทก์แต่ละคนปวดศีรษะอย่างแรง เป็นไข้ท้องเสียอย่างแรง และเวียนศีรษะ เห็นได้ว่าเป็นความจำเป็นจริง ๆ อันโจทก์แต่ละคนย่อมไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อตกลงดังกล่าวที่โจทก์ทุกคนจะพึงใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยของโจทก์แต่ละคนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916-2918/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงานได้เมื่อนายจ้างผิดนัดจ่ายค่าจ้าง ไม่ถือเป็นการนัดหยุดงานตามกฎหมายแรงงาน
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์หลายงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะพร้อมใจกันหยุดงานได้ กรณีหาใช่เป็นการนัดหยุดงานเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้อันจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ไม่ และกรณีดังกล่าวก็มิใช่เป็นการที่โจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้อง: สิทธิของลูกจ้างและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่ยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลย ขณะที่ข้อเรียกร้องยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ถ้าการปฏิบัติงานของโจทก์ไม่ใช่การกระทำตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 31(1) ถึง (4) แล้ว จำเลยยังไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ระหว่างนั้น แม้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยจะมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311-2313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเหตุผลทางเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างประสบปัญหาขาดทุน จำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่ขาดทุนและเลิกจ้างลูกจ้างที่ประจำอยู่หน่วยงานนั้น การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของนายจ้าง เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร มิใช่การกลั่นแกล้ง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะระบุว่า นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ทุกขณะโดยลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ ก็ตาม แต่ค่าชดเชย ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างจึงมิใช่ค่าเสียหายใด ๆ ตามสัญญาจ้าง เมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องจ่าย นายจ้างจะอ้างสัญญาจ้างมาเป็นข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินดังกล่าวแก่ลูกจ้างหาได้ไม่
of 17