พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว, การโต้แย้งสิทธิ, อำนาจฟ้อง, ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 94
โจทก์เป็นคนต่างด้าวให้จำเลยที่1ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนแม้คนต่างด้าวจะได้ที่ดินมาโดยฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86วรรคหนึ่งอันเป็นโมฆะก็ตามแต่ตามมาตรา94บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาตเสียภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดถ้าไม่จำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดก็ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ดังนั้นจำเลยที่1จึงไม่มีอำนาจจำหน่ายที่ดินของโจทก์ได้โดยพลการการที่จำเลยที่1นำเอาที่ดินของโจทก์ไปขายให้แก่จำเลยที่2โดยพลการถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7250/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการฟ้องแย้งสิทธิในที่ดินพิพาทและการพิพากษานอกประเด็นที่โจทก์ฟ้อง ย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าบิดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้ ค. ต่อมา ค.ขายที่ดินนั้นให้จำเลย โดยที่ดินพิพาทโจทก์คงมีส่วนอยู่กึ่งหนึ่ง ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนนี้ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาทั้งแปลงและครอบครองตลอดมา ขอให้พิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และมิได้โต้แย้งการครอบครองโดยอ้างว่ามีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองและการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบเพราะเป็นการพิพากษานอกประเด็นที่พิพาทกัน และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) แต่คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาใหม่ในประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6780/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ – ประเด็นสิทธิในที่ดิน – มาตรา 144
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เคยฟ้องร้องกันเกี่ยวกับที่พิพาทตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 924/2528 ของศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวกับคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทเช่นเดียวกันว่า จำเลยที่ 1ซื้อที่พิพาทมาโดยชอบหรือไม่ และโจทก์หรือจำเลยที่ 1เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาท เมื่อศาลมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 924/2528 ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลจะวินิจฉัยคดีหมายเลขแดงที่ 924/2528 ก็ตามเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาชี้ขาดคดีแล้ว กรณีก็ต้องอยู่ใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6544/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินร่วมกัน ผู้โอนไม่มีสิทธิ ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิ แม้จะสุจริตและจดทะเบียน
โจทก์มีคำขอเพียงให้ศาลพิพากษาเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ครึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการเกินคำขอ โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน ในส่วนที่เป็นของโจทก์หากโจทก์ไม่ยินยอมจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะนำไปจำหน่ายจ่ายโอนให้แก่บุคคลใดได้ เมื่อจำเลยที่ 1 นำที่พิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ไปจำหน่ายแม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะซื้อมาโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตก็หาได้สิทธิอย่างใดไม่เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินเมื่อมีหลักฐานสิทธิในที่ดินเดิม หากศาลพบว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลมีอำนาจเพิกถอนโฉนดได้
ฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอน น.ส.3 ก. เลขที่ 1898 ที่มีชื่อจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่า น.ส.3 ก. ดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกโฉนดที่ดินให้จำเลยเป็นโฉนดเลขที่ 20753 ซึ่งในวันชี้สองสถานโจทก์จำเลยแถลงว่าที่ดินพิพาทปัจจุบันมีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 20753 ดังนั้นโฉนดที่ดินเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินแปลงเดียวกับที่ปรากฎตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 1898 เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอน น.ส.3ก. เมื่อมีโฉนดที่ดินแปลงเดียวกัน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้ไม่เกินคำขอ
ฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอน น.ส.3 ก. เลขที่ 1898ที่มีชื่อจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่า น.ส.3 ก. ดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกโฉนดที่ดินให้จำเลยเป็นโฉนดเลขที่20753 ซึ่งในวันชี้สองสถานโจทก์จำเลยแถลงว่าที่ดินพิพาทปัจจุบันมีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 20753 ดังนั้นโฉนดที่ดินเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินแปลงเดียวกับที่ปรากฏตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 1898 เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน, ทางสาธารณะ, การเพิกถอนบันทึกโฉนด, สิทธิในที่ดิน
คดีก่อน โจทก์ฟ้องการไฟฟ้านครหลวงเป็นจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยเข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในเขตที่ดินโฉนดเลขที่1006 เลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เฉพาะส่วนนอกจากที่แบ่งไว้เป็นถนนและที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000การไฟฟ้านครหลวงให้การว่า เมื่อ ล. เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ออกเป็น 72 แปลง จัดสรรให้บุคคลอื่นการแบ่งแยกได้กันที่ดินทำเป็นถนนเพื่อให้ประชาชนในบริเวณนั้นใช้โดยล.มีเจตนาจะให้ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นทางสาธารณะและประชาชนได้ใช้สัญจรมากว่า 20 ปีแล้ว การไฟฟ้านครหลวงได้เข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมจากถนนไปสู่ที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ซึ่งเป็นทางสาธารณะไปแล้วนั้นก็ได้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อย ๆ อีกหลายแปลงรวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ปัญหาที่ว่าที่ดินทั้งสี่โฉนดของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นประเด็นที่พิพาทกันโดยตรงในคดีก่อน ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นทางสาธารณะแล้ววินิจฉัยว่าการกระทำของการไฟฟ้านครหลวงไม่เป็นการละเมิด พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงในปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า ล. ได้อุทิศที่ดินทั้งสี่โฉนดให้เป็นทางสาธารณะแล้วดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วยเพราะเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องฟังว่าที่ดินทั้งสี่แปลงพิพาทในคดีนี้เป็นทางสาธารณะ การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บันทึกลงในโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลงว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) จึงมิใช่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเมื่อสิทธิยังไม่ถูกโต้แย้ง: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากยังไม่ได้ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่ากรมสรรพากรจำเลยนำยึดที่ดินประกาศขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรที่ ช. ซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของรวมในที่ดินค้างชำระแก่จำเลย แม้ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นถนนที่โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์ผ่านเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ก็ตาม แต่ตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้ปิดกั้นถนนโจทก์และประชาชนทั่วไปก็คงใช้ถนนได้ตามปกติหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการครอบครองที่ดินพิพาท: การยกอายุความฟ้องเรียกคืนเมื่อจำเลยอ้างสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์จำนองแก่จำเลยและมอบให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ต่อมาโจทก์ประสงค์จะไถ่ถอนจำนอง แต่จำเลยปฏิเสธ จึงขอให้จำเลยรับเงินและคืนที่ดินแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์ได้ขายที่ดินพิพาทโดยสละการครอบครองให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลย และจำเลยครอบครองเกินกว่าหนึ่งปี จึงพ้นกำหนดเวลาฟ้องเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ดังนี้ เมื่อจำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ เพราะเหตุแย่งการครอบครองตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ที่ดินต้องเป็นสิทธิครอบครองของผู้อื่น หาได้หมายความถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาดดีกว่าสิทธิจากการซื้อจากลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เดือนละ3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงฟังได้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ3,000 บาท แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทปรับอีก 100,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในส่วนนี้ก็ไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ที่จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย