คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิ้นสุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748-2749/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงค่าฝากทรัพย์ - การคิดค่าฝากสิ้นสุดเมื่อเจ้าของของขอขนออกแต่ถูกปฏิเสธ
จำเลยสั่งสินค้าจากต่างประเทศนำเข้ามาโดยทางเรือและขนถ่ายขึ้นที่ท่าเรือของโจทก์ แล้วฝากเก็บสินค้านั้นไว้ที่โรงพักสินค้าของโจทก์จำเลยย่อมมีความผูกพันตามสัญญาฝากทรัพย์ที่จะต้องชำระบำเหน็จค่าฝากให้โจทก์ แม้โจทก์จะเก็บรักษาทรัพย์ของจำเลยไม่ดีจนเป็นเหตุให้ทรัพย์นั้นเสื่อมเสียไปบ้าง ก็ไม่ทำให้สิทธิที่จะได้รับบำเหน็จค่าฝากของโจทก์ต้องสูญสิ้นไป ความเสียหายอันเกิดจากการเก็บรักษาทรัพย์ที่ฝากไว้ไม่ดีอย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวเรียกร้องเอาแก่กันอีกส่วนหนึ่ง
การท่าเรือแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นองค์การประกอบกิจการท่าเรือเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน มีบทกฎหมายพิเศษที่ ก่อตั้งและรับรองโจทก์ ให้โจทก์มีอำนาจกำหนดอัตราค่าภาระการใช้ท่าเรือซึ่งรวมทั้งค่าฝากทรัพย์ที่เก็บไว้ที่ท่าเรือนั้นด้วย ผู้ใดมาใช้บริการเอาทรัพย์ฝากเก็บไว้ที่ท่าเรือ สัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้นั้นก็เกิดขึ้นโดยไม่ต้องตกลงกันในเรื่องบำเหน็จค่าฝากดังเช่นกรณีของบุคคลธรรมดาเพราะเท่ากับคู่สัญญาได้ตกลงกันในตัวให้ถือตามอัตราที่โจทก์กำหนดแม้ภายหลังจากโจทก์รับฝากทรัพย์ของจำเลยไว้แล้ว โจทก์จะกำหนดอัตราค่าฝากทรัพย์ขึ้นใหม่สูงขึ้นกว่าเดิม ก็ถือได้ว่าอัตราค่าฝากใหม่นั้นเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในข้อตกลงเดิมในสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างโจทก์จำเลยทั้งจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ขึ้นราคาค่าฝาก แต่ไม่ขนทรัพย์ออกไปคงฝากไว้กับโจทก์อยู่เรื่อยมา จึงถือได้ว่าจำเลยตกลงยอมเสียค่าบำเหน็จค่าฝากให้โจทก์ตามอัตราใหม่ แม้จำนวนบำเหน็จค่าฝากจะท่วมราคาทรัพย์ที่ฝากมากก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า หากจำเลยต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ก็ขอหักกลบลบหนี้กันค่าเสียหายที่โจทก์เก็บรักษาทรัพย์ของจำเลยไม่ดีโดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้ง ค่าเสียหายที่จำเลยกล่าวอ้างนี้ โจทก์นำสืบปฏิเสธว่าทรัพย์ของจำเลยไม่เสียหาย จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยจะขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์หาได้ไม่
ทรัพย์ที่ฝากย่อมจะถูกยึดหน่วงเอาไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระค่าฝาก แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยนำสินค้าของจำเลยออกไปจากโรงพักสินค้าของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง และจำเลยได้จัดการปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิยึดหน่วงสินค้านั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระบำเหน็จค่าฝาก แต่ต้องถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยนำสินค้าออกไปแล้ว แม้สินค้าจะยังอยู่ในโรงพักสินค้าของโจทก์ต่อมาก็เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิยึดถือเอาไว้เองตามสิทธิยึดหน่วงของโจทก์มิใช่จำเลยฝ่าฝืนไม่นำออกไป การคิดบำเหน็จค่าฝากทรัพย์จาก จำเลยตามคำพิพากษาจึงต้องยุติลงในวันที่จำเลยไปขอขนสินค้าออกแล้วโจทก์ไม่ยอมให้ขน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองในที่เช่าสิ้นสุดเมื่อผู้เช่ายอมออกจากห้อง ผู้บุกรุกจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
ห้องพิพาทและที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 สามีโจทก์ที่1เป็นแต่เพียงผู้เช่าโดยมีโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาและบุตรเป็นบริวาร จำเลยที่ 1 เคยฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 1 และสามีออกจากห้องพิพาท ทนายของสามีโจทก์ที่ 1 แถลงต่อศาลว่าผู้เช่ารับว่าจะไม่ไปเกี่ยวข้องกับห้องพิพาทอีกต่อไป ดังนี้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบริวารจึงไม่มีสิทธิอันใดในห้องพิพาทการที่โจทก์ทั้งสองเข้าอยู่ในห้องต่อไปจึงเป็นการเข้าอยู่โดยละเมิด ไม่มีสิทธิครอบครอง และไม่มีการครอบครองตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ฉะนั้นความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ต่อห้องพิพาท จึงไม่อาจเกิดแก่จำเลยซึ่งบุกรุกเข้าไปรื้อห้องพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบอนุญาตพิมพ์สิ้นสุดเมื่อไม่ได้ออกหนังสือพิมพ์ตามกำหนด แม้มีเหตุสุดวิสัยก็อ้างไม่ได้
จำเลยเป็นเจ้าของ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายคาบ(ราย 5 วัน) มิได้ออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นเวลาต่อเนื่องกันถึงสี่คราว การเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 45 ภายหลังจากนั้น จำเลยยังขืนออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวอยู่ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 60 แห่งกฎหมายดังกล่าวนั้น จำเลยจะอ้างว่าที่ออกไม่ได้นั้นเพราะจำเลยถูกคุมขังอยู่ตลอดเวลาเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะออกได้ มาเป็นข้อยกเว้นโดยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดใบอนุญาตผู้พิมพ์-โฆษณา-บรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายคาบ กรณีไม่ได้ออกหนังสือพิมพ์ต่อเนื่องตามกฎหมาย แม้มีเหตุสุดวิสัย
จำเลยเป็นเจ้าของ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายคาบ(ราย 5 วัน) มิได้ออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นเวลาต่อเนื่องกันถึงสี่คราว การเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณา บรรณาธิการ และเจ้าของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 45 ภายหลังจากนั้น จำเลยยังขืนออกหนังสือพิมพ์ดังกล่าวอยู่ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 60 แห่งกฎหมายดังกล่าวนั้น จำเลยจะอ้างว่าที่ออกไม่ได้นั้นเพราะจำเลยถูกคุมขังอยู่ตลอดเวลาเป็นเหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะออกได้ มาเป็นข้อยกเว้นโทษหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์: นับจากวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทั้งหมด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรค 3 ระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น หมายถึงวันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นครั้งที่สามจึงมีสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์: นับจากวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทั้งหมด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรค 3ระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น หมายถึงวันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด คดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นครั้งที่สามจึงมีสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนและอายุความฟ้องแบ่งมรดก: ครอบครองแทนสิ้นสุดเมื่อเจ้าของเสียชีวิต
ฉ. เจ้าของที่ดินพิพาท อนุญาตให้จำเลยซึ่งเป็นมารดาทำกินในที่ดินพิพาทการครอบครองของจำเลยเหนือที่พิพาทอาจถือว่าเป็นการครอบครองแทน ฉ. ได้เฉพาะแต่ในระหว่าง ฉ. มีชีวิตอยู่เท่านั้น เมื่อ ฉ. ถึงแก่กรรมแล้ว จะถือว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทซึ่งกลายเป็นมรดกแทนโจทก์ซึ่งเป็นสามี ฉ. ต่อไปหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับมรดกเกิน 1 ปี นับแต่ ฉ. ถึงแก่กรรมฟ้องโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมย่อมเป็นไปตามคำฟ้องของผู้ว่าคดี หากคำฟ้องของผู้ว่าคดีต้องยกฟ้อง อำนาจฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย
การที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้ว่าคดีโจทก์ ตามอำนาจที่ให้ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 นั้น คำร้องของผู้เสียหายไม่ใช่คำฟ้องที่ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องคดีหนึ่งอีกต่างหากจากฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์เมื่ออำนาจฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์สำหรับคดีนั้นไม่มีต้องยกฟ้องของผู้ว่าคดีโจทก์แล้ว ย่อมเป็นผลตามกฎหมายที่ต้องยกฟ้องของผู้เสียหายโจทก์ร่วมไปด้วยเพราะไม่มีคำฟ้องเหลืออยู่ที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้(อ้างฎีกาที่ 1274/2481)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบริวารตามทะเบียนบ้านและการสิ้นสุดสิทธิอยู่ครองเมื่อถูกขับไล่
จำเลยแต่งงานกับ ฉ. แล้วจำเลยขึ้นทะเบียนอยู่บ้านพิพาทกับ ฉ.โดยลงว่าจำเลยเป็นหัวหน้าครอบครัวฉ. เป็นภริยา. จำเลยเช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทปลูกอยู่จากบิดาโจทก์ได้เสียค่าเช่าตลอดมา. เมื่อจำเลยกับ ฉ. จดทะเบียนหย่ากันแล้ว จำเลยก็ยังไปมาหาสู่ ฉ..ดังนี้ถือว่าฉ.เป็นบริวารจำเลย. เมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยให้รื้อเรือนออกไปจากที่ดินโจทก์แล้ว ฉ. ไม่มีสิทธิจะอยู่ได้ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยธรรมดา
โจทก์ (ธนาคาร) ตกลงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระดอกเบี้ยรายเดือน ถ้าไม่ชำระยอมให้เอาดอกเบี้ยทบต้นและจะชำระคืนใน 30 เมษายน 2495 ครั้งถึงกำหนดดังกล่าว โจทก์มีหนังสือไปทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน 2495 หลักจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้
of 20