พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่านาและการพิสูจน์สถานะผู้เช่าตามกฎหมายควบคุมการเช่านา
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 46 ที่บัญญัติไว้ว่า การเช่านารายใดซึ่งทำไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าไม่มีกำหนดเวลาหรือมีกำหนดเวลาต่ำกว่าหกปี ให้การเช่านารายนั้นมีกำหนดหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ผู้เช่าไม่ประสงค์จะเช่านาต่อไป ย่อมหมายความว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับแก่การเช่าที่ยังคงมีอยู่ในวันที่ 18 ธันวาคม 2517 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเท่านั้น ที่จะมีการยืดการเช่าออกไปได้ แต่ถ้าหากการเช่านาระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าสิ้นสุดลงแล้วก่อนวันที่ 18 ธันวาคม 2517 ก็จะนำมาตรา 46 นี้มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะในขณะที่พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านามีผลใช้บังคับนั้น ไม่มีกำหนดระยะเวลาการเช่านาเหลืออยู่ที่จะยืดออกไปอีกได้
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดโดยเข้าไปไถทำนาในที่นาที่ผู้เสียหายเช่าจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าในวันเวลาที่โจทก์กล่าวหา ผู้เสียหายยังเป็นผู้เช่าทำนาจากจำเลยอยู่ แต่เมื่อจำเลยได้ต่อสู้มาแต่ชั้นสอบสวนว่า สัญญาระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยสิ้นสุดโดยความตกลงของคู่สัญญา มิได้รับในประเด็นข้อนี้ เมื่อโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานเสียแล้วเช่นนี้ คดีก็ยังไม่พอที่จะรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่ามา พ.ศ. 2517 มาตรา 28 (4), 45
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดโดยเข้าไปไถทำนาในที่นาที่ผู้เสียหายเช่าจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าในวันเวลาที่โจทก์กล่าวหา ผู้เสียหายยังเป็นผู้เช่าทำนาจากจำเลยอยู่ แต่เมื่อจำเลยได้ต่อสู้มาแต่ชั้นสอบสวนว่า สัญญาระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยสิ้นสุดโดยความตกลงของคู่สัญญา มิได้รับในประเด็นข้อนี้ เมื่อโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานเสียแล้วเช่นนี้ คดีก็ยังไม่พอที่จะรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่ามา พ.ศ. 2517 มาตรา 28 (4), 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่านาและการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 การพิสูจน์สถานะผู้เช่า
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 46 ที่บัญญัติไว้ว่า การเช่านารายใดซึ่งทำไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าไม่มีกำหนดเวลาหรือมีกำหนดเวลาต่ำกว่าหกปี ให้การเช่านารายนั้นมีกำหนดหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเว้นแต่ผู้เช่าไม่ประสงค์จะเช่านาต่อไป ย่อมหมายความว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับแก่การเช่าที่ยังคงมีอยู่ในวันที่ 18 ธันวาคม 2517 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเท่านั้น ที่จะมีการยืดการเช่าออกไปได้แต่ถ้าหากการเช่านาระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าสิ้นสุดลงแล้วก่อนวันที่ 18 ธันวาคม 2517 ก็จะนำมาตรา 46 นี้มาใช้บังคับไม่ได้เพราะในขณะที่พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านามีผลใช้บังคับนั้น ไม่มีกำหนดระยะเวลาการเช่านาเหลืออยู่ที่จะยืดออกไปอีกได้
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดโดยเข้าไปไถทำนาในที่นาที่ผู้เสียหายเช่าจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าในวันเวลาที่โจทก์กล่าวหา ผู้เสียหายยังเป็นผู้เช่าทำนาจากจำเลยอยู่ แต่เมื่อจำเลยได้ต่อสู้มาแต่ชั้นสอบสวนว่า สัญญาระหว่าง ผู้เสียหายกับจำเลยสิ้นสุดโดยความตกลงของคู่สัญญา มิได้รับในประเด็นข้อนี้ เมื่อโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานเสียแล้วเช่นนี้ คดีก็ยังไม่พอที่จะรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 28(4), 45
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้กระทำผิดโดยเข้าไปไถทำนาในที่นาที่ผู้เสียหายเช่าจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าในวันเวลาที่โจทก์กล่าวหา ผู้เสียหายยังเป็นผู้เช่าทำนาจากจำเลยอยู่ แต่เมื่อจำเลยได้ต่อสู้มาแต่ชั้นสอบสวนว่า สัญญาระหว่าง ผู้เสียหายกับจำเลยสิ้นสุดโดยความตกลงของคู่สัญญา มิได้รับในประเด็นข้อนี้ เมื่อโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานเสียแล้วเช่นนี้ คดีก็ยังไม่พอที่จะรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 มาตรา 28(4), 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาซื้อขายที่ดินโดยนิติกรรมพิเศษ: การระบุวันสิ้นสุดชัดเจนทำให้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 158-159 ใช้ไม่ได้
บันทึกเปรียบเทียบที่โจทก์จำเลยลงชื่อไว้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2517 มีข้อความว่า ให้จำเลยขายที่ดินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี ถ้าพ้นกำหนด 1 ปี (19 มีนาคม 2518) ยังไม่มีการซื้อขายที่ดินคืนก็ให้ยกเลิกข้อตกลง การที่ระบุข้อความในวงเล็บว่า '19 มีนาคม 2518' ไว้ก็ด้วยเจตนาที่จะกำหนดวันสิ้นสุดแห่งระยะเวลา 1 ปี ให้เป็นที่แน่นอน เป็นข้อยกเว้นโดยนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 จะนำวิธีการกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158,159 มาใช้บังคับไม่ได้ต้องถือว่าวันที่ 19 มีนาคม 2518 เป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิขอซื้อที่ดินคืน เมื่อโจทก์ขอซื้อคืนในวันที่ 20 มีนาคม 2518 โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะซื้อคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัคคีภัยทำให้สัญญาเช่าระงับ: การพิจารณาความเสียหายของอัคคีภัยต่อการสิ้นสุดสัญญาเช่า
บันทึกการหักหนี้และโอนกรรมสิทธิ์ห้องแถวพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้เป็นสัญญาชำระะหนี้โดยการโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ เข้าลักษณะนิติกรรมที่จะต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 เมื่อมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ การโอนจึงถือว่าไม่บริบูรณ์ กรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทยังเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงนำยึดห้องแถวพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่านาสิ้นสุดก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 28(4)
การเช่านาสิ้นสุดลงก่อนพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ใช้บังคับ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 46 และไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 5 ที่ให้ถือว่าการเช่านามีกำหนด 6 ปี เพราะมาตรา 5 เป็นบทบัญญัติทั่วไปให้บังคับแก่การเช่านาภายหลังพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ใช้บังคับ
ในขณะเกิดเหตุ ผู้เสียหายมิใช่ผู้เช่านาจากจำเลย จะนำมาตรา 28(4) บังคับแก่จำเลยมิได้
ในขณะเกิดเหตุ ผู้เสียหายมิใช่ผู้เช่านาจากจำเลย จะนำมาตรา 28(4) บังคับแก่จำเลยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2315/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่าเดิมมีผลต่อสิทธิการฟ้องขับไล่และการเรียกร้องค่าเช่าของผู้ซื้อที่ดินและตึก
เดิมจำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากส. ต่อมาได้ตกลงเลิกสัญญาเช่าต่อกันและมีการทำสัญญาเช่ากันใหม่โดย จ. พี่ชายจำเลยเป็นผู้เช่าจาก ก.เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทแต่จำเลยยังคงอยู่ในตึกพิพาทโดยอาศัยสัญญาเช่าระหว่าง จ. กับ ก. โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกพิพาทจาก ก. ภายหลังที่จำเลยกับ ส.เลิกสัญญาเช่าต่อกันแล้วจำเลยย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าตึกพิพาทดังนี้ โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยโดยไม่ฟ้อง จ. ผู้เช่าไม่ได้และจะเรียกค่าเช่าที่ค้างกับค่าเสียหายที่จำเลยไม่ยอมออกจากที่เช่าก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน
จำเลยอ้างเอกสารที่แสดงการยกเลิกเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส. เป็นพยานหลักฐาน แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานนัดแรกไม่น้อยกว่า 3 วันอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ทั้งการรับฟังก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่ประการใด เพราะจำเลยได้อ้างก่อนสืบพยานโจทก์ และส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานจำเลย โจทก์ยังมีโอกาสที่จะขออนุญาตต่อศาลสืบหักล้างได้อยู่ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงรับฟังเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
จำเลยอ้างเอกสารที่แสดงการยกเลิกเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส. เป็นพยานหลักฐาน แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานนัดแรกไม่น้อยกว่า 3 วันอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ทั้งการรับฟังก็ไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่ประการใด เพราะจำเลยได้อ้างก่อนสืบพยานโจทก์ และส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานจำเลย โจทก์ยังมีโอกาสที่จะขออนุญาตต่อศาลสืบหักล้างได้อยู่ดังนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงรับฟังเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก, สัญญาเช่า, เงินค่าซ่อมแซมลักษณะเงินกินเปล่า, การสิ้นสุดสัญญาเช่า
แม้หน้าคำฟ้องในช่องคู่ความใส่เพียงชื่อโจทก์ โดยไม่ได้บอกฐานะไว้ แต่ตามคำบรรยายฟ้องกล่าวว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทดังนี้หาใช่โจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่
เงินค่าซ่อมแซมห้องที่ผู้เช่าให้ผู้ให้เช่าเพื่อที่จะได้เช่าห้องต่อไป มีลักษณะเป็นเงินกินเปล่า เป็นการเช่าธรรมดามิใช่สัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา
เงินค่าซ่อมแซมห้องที่ผู้เช่าให้ผู้ให้เช่าเพื่อที่จะได้เช่าห้องต่อไป มีลักษณะเป็นเงินกินเปล่า เป็นการเช่าธรรมดามิใช่สัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าโรงแรมเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน สัญญาเป็นโมฆะ การเช่าสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด
เช่าโรงแรมมีกำหนดเวลารวม 8 ปี. โดยทำสัญญาเช่ากันไว้ล่วงหน้าเป็น 3 ระยะ ระยะละ 3 ปี 3 ปี และ 2 ปี ตามลำดับโดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการหลีกเลี่ยงมาตรา 538 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ย่อมบังคับกันได้เพียง 3 ปีเท่านั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 768/2490)
เมื่อการเช่าบังคับกันได้เพียง 3 ปีตามสัญญาฉบับแรกและครบกำหนดเวลานั้นแล้วการที่ผู้เช่าอยู่ต่อมาในโรงแรมที่เช่าอาจถือได้ว่าเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 ซึ่งบัญญัติว่า หากผู้เช่ายังครองทรัพย์สินนั้นอยู่และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง แต่พฤติการณ์ที่ผู้เช่าส่งค่าเช่าเดือนแรกนับแต่การเช่าสิ้นสุดลงไปให้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ยอมรับและส่งค่าเช่าคืนนับว่าเป็นการทักท้วงแล้ว แม้ผู้เช่าจะยังครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ต่อมา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการอยู่ต่อมาของผู้เช่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 อันจะต้องมีการบอกเลิกการเช่าให้ถูกต้องตามมาตรา 566 การเช่าระงับลงแล้ว เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าฉบับแรกตามมาตรา 564 (หมายเหตุ ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 173/2506 เปรียบเทียบ)
เมื่อการเช่าบังคับกันได้เพียง 3 ปีตามสัญญาฉบับแรกและครบกำหนดเวลานั้นแล้วการที่ผู้เช่าอยู่ต่อมาในโรงแรมที่เช่าอาจถือได้ว่าเป็นการเช่าไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 ซึ่งบัญญัติว่า หากผู้เช่ายังครองทรัพย์สินนั้นอยู่และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง แต่พฤติการณ์ที่ผู้เช่าส่งค่าเช่าเดือนแรกนับแต่การเช่าสิ้นสุดลงไปให้ ผู้ให้เช่าก็ไม่ยอมรับและส่งค่าเช่าคืนนับว่าเป็นการทักท้วงแล้ว แม้ผู้เช่าจะยังครองทรัพย์สินที่เช่าอยู่ต่อมา ก็ไม่อาจถือได้ว่าการอยู่ต่อมาของผู้เช่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 อันจะต้องมีการบอกเลิกการเช่าให้ถูกต้องตามมาตรา 566 การเช่าระงับลงแล้ว เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าฉบับแรกตามมาตรา 564 (หมายเหตุ ดูคำพิพากษาฎีกาที่ 173/2506 เปรียบเทียบ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าและการสิ้นสุดสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา
โจทก์ทำใบมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องขับไล่ผู้เช่าที่ดินอาคารแผงทำการค้าซึ่งอยู่ในที่ดินโจทก์ ถึงแม้จะไม่ได้กำหนดให้ฟ้องผู้เช่ารายใดโดยเฉพาะก็ตาม เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวของโจทก์อยู่ด้วย ส. ก็มีอำนาจที่จะฟ้องขับไล่จำเลยได้
เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ไม่ทำให้สัญญานี้มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่าคงใช้ได้เพียง 3 ปี แม้จะได้เช่ากันต่อมาก็เป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา
เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ไม่ทำให้สัญญานี้มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่าคงใช้ได้เพียง 3 ปี แม้จะได้เช่ากันต่อมาก็เป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่า และการสิ้นสุดสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา
โจทก์ทำใบมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องขับไล่ผู้เช่าที่ดินอาคารแผงทำการค้าซึ่งอยู่ในที่ดินโจทก์ ถึงแม้จะไม่ได้กำหนดให้ฟ้องผู้เช่ารายใดโดยเฉพาะก็ตาม เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวของโจทก์อยู่ด้วย ส. ก็มีอำนาจที่จะฟ้องขับไล่จำเลยได้
เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ไม่ทำให้สัญญานี้มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่าคงใช้ได้เพียง 3 ปี แม้จะได้เช่ากันต่อมาก็เป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา
เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ไม่ทำให้สัญญานี้มีลักษณะตอบแทนเป็นพิเศษกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่าคงใช้ได้เพียง 3 ปี แม้จะได้เช่ากันต่อมาก็เป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลา