คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: เริ่มนับใหม่เมื่อมีการชำระหนี้บางส่วน แม้จะมีการผ่อนผันการชำระหนี้ทั้งหมด
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ให้บริการประเภทบัตรเครดิตแก่สมาชิกซึ่งทำให้สมาชิกสามารถใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้จ่ายค่าสินค้าที่ซื้อจากร้านค้าหรือค่าบริการที่ใช้จากสถานบริการแทนการชำระด้วยเงินสด การที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนหรือให้สมาชิกเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลังก็เป็นการเรียกเอาเงินที่โจทก์ได้ทดรองไป จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7)
จำเลยใช้บัตรซิตี้แบงก์วีซ่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2540 ครบกำหนดต้องชำระหนี้ภายในวันที่ 12 กันยายน 2540 และจำเลยใช้บัตรซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2540 ครบกำหนดต้องชำระหนี้ภายในวันที่ 22สิงหาคม 2540 ซึ่งวันที่จำเลยต้องชำระหนี้บัตรเครดิตทั้งสองใบดังกล่าวเป็นวันที่โจทก์ย่อมบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระได้ ต่อมาจำเลยชำระหนี้บางส่วนตามบัตรซิตี้แบงก์วีซ่าให้โจทก์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2540 และชำระหนี้บางส่วนตามบัตรซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ดให้โจทก์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2540 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) และมาตรา 193/15 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2540 และวันที่ 27 ธันวาคม 2540 อันเป็นวันเริ่มนับอายุความใหม่ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
นับแต่จำเลยชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์ครั้งสุดท้ายแล้ว จำเลยไม่เคยใช้บัตรเครดิตของโจทก์อีก ทั้งโจทก์มิได้ออกเงินทดรองให้แก่จำเลย ใบแจ้งยอดบัญชีที่โจทก์ส่งให้จำเลยแต่ละเดือนต่อมาล้วนแต่เป็นการคิดบวกรวมดอกเบี้ยที่จำเลยผิดนัด เบี้ยปรับที่จำเลยชำระหนี้ล่าช้าเข้ากับต้นเงินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ทั้งสิ้น การที่โจทก์ยังให้โอกาสจำเลยนำเงินมาชำระให้โจทก์ต่อไปอีกก็มิได้หมายความว่าโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ติดค้างดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์โดยทันที เพียงแต่โจทก์ผ่อนผันไม่บังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยเท่านั้น ทั้งโจทก์ก็คิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับที่ชำระหนี้ล่าช้าเป็นการตอบแทนที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามวันที่ถึงกำหนดชำระอายุความจึงเริ่มนับอีกครั้งเมื่อจำเลยชำระหนี้บางส่วนให้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายตามหนี้บัตรเครดิตแต่ละใบมิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดโดยไม่ผ่อนผันให้จำเลยค้างชำระหนี้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเฉพาะคู่กรณี ไม่สละสิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกัน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญาต่อศาลชั้นต้นแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงต่อโจทก์ในศาลว่าจะชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน หากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ทำตามที่ตกลงไว้ยอมให้โจทก์บังคับคดีไปตามที่ตกลงทำยอมกันนั้นได้ มิได้ตกลงให้หนี้กู้ยืมและจำนองตามฟ้องนั้นระงับไป จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9002/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง: หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ระงับหนี้เดิม
ก่อนผู้ตายถึงแก่กรรม ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุด แม้ผู้ตายจะทำหนังสือรับสภาพหนี้พิพาทซึ่งเป็นการรับสภาพหนี้ตามคำพิพากษาคดีดังกล่าว ก็ไม่ทำให้หนี้ที่ผู้ตายมีอยู่ตามคำพิพากษาสิ้นไป การรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เพียงขยายเวลาการผ่อนชำระหนี้และงดเว้นเฉพาะดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ที่ผู้ตายจะต้องชำระแก่โจทก์เท่านั้น หนี้ประธานยังไม่ระงับคู่กรณีไม่ได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้แต่อย่างใด มูลหนี้เดิมยังมีอยู่ ทั้งไม่ใช่เป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่แล้วให้เสร็จสิ้นไป หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่หรือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและไม่ได้ก่อให้เกิดหนี้ขึ้นใหม่ การที่โจทก์นำมูลหนี้เดิมซึ่งโจทก์เคยฟ้องผู้ตายและศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายในครั้งหลังโดยอาศัยหนังสือรับสภาพหนี้พิพาทนั้น จึงเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8718/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหนี้เกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องไม่ได้ขอรับชำระหนี้ค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาตามฟ้องที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดให้รวมไว้ในมูลหนี้ ในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินซึ่งยื่นไว้ การที่ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ว่า ได้แจ้งความประสงค์ว่าผู้ร้องต้องการขอรับชำระหนี้ในส่วนค่าปรับรายวันจากลูกหนี้ตามที่ยื่นฎีกาไว้ มิใช่การขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์แสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินตามบทบัญญัติ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 วรรคสอง และผู้ร้องสามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ได้ล่วงหน้าอยู่แล้วโดยไม่ต้องรอให้ ศาลฎีกามีคำพิพากษาเสียก่อน ดังนั้นเมื่อผู้ร้องนำหนี้ปรับรายวันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามบทบัญญัติ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 อีกทั้งหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ เด็ดขาด ย่อมต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8718/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยหนี้เกิดขึ้นหลังมีคำสั่ง
มูลหนี้ที่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ 20727/2537 ของศาลชั้นต้น เนื่องจากการผิดสัญญาก่อสร้างงานไม่แล้วเสร็จ โดยขอให้บังคับให้ลูกหนี้ชำระค่าปรับและค่าเสียหายที่ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มพร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่ผู้ร้องต้องว่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อในราคาที่สูงขึ้นเป็นเงิน 3,486,927.94 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้ร้องได้มายื่นคำขอรับชำระหนี้รวม 5 อันดับ ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยได้ระบุในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินว่ามูลหนี้อันดับที่ 2 เป็นหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 20727/2537 ของศาลชั้นต้นจำนวนเงิน 4,780,720.22 บาท แสดงว่าผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้อันดับที่ 2 เฉพาะหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวของศาลชั้นต้นจำนวน 4,780,720.22 บาทเท่านั้น ส่วนหนี้ค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาตามฟ้องที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดให้นั้น แม้ว่าผู้ร้องจะฟ้องขอให้บังคับชำระหนี้มาด้วยกันและผู้ร้องได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาตามลำดับแต่ผู้ร้องไม่ได้ขอรับชำระหนี้ดังกล่าวนี้รวมไว้ในมูลหนี้อันดับที่ 2 ในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินซึ่งยื่นไว้ด้วย ที่ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ว่า ได้แจ้งความประสงค์ว่าผู้ร้องต้องการขอรับชำระหนี้ในส่วนค่าปรับรายวันจากลูกหนี้ตามที่ยื่นฎีกาไว้ก็มิใช่การขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์แสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคสอง และแม้ศาลฎีกายังไม่ได้มีคำพิพากษาในส่วนหนี้ค่าปรับรายวันดังกล่าว หากผู้ร้องประสงค์ขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ ผู้ร้องย่อมสามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้รวมกับยอดหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 20727/2537 ของศาลชั้นต้นได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว โดยไม่ต้องรอให้ศาลฎีกามีคำพิพากษาเกี่ยวกับหนี้ส่วนนี้เสียก่อน ดังนั้น เมื่อผู้ร้องนำหนี้ค่าปรับรายวันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม จึงพ้นกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 อีกทั้งหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ย่อมต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8340-8341/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องคดีค่ากระแสไฟฟ้า, ลักษณะหนี้, ดอกเบี้ยผิดนัด, และการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า
โจทก์และจำเลยต้องปรับปรุงสัญญาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์ในประเด็นราคาค่าจ้าง เพราะมีการยกเลิกระบบภาษีการค้ามาเป็นระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงจำเป็นต้องหักภาษีการค้าซึ่งเดิมรวมอยู่ในราคาค่าจ้างออกจากราคาค่าจ้างเดิม เพื่อให้เหลือราคาค่าจ้างที่แท้จริง การที่โจทก์และจำเลยไม่ได้แก้ไขสัญญาในเรื่องการจ่ายกระแสไฟฟ้าเหมือนดังที่แก้ไขราคาค่าจ้างเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยยังคงยึดถือข้อตกลงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ คือมีหน้าที่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ในอัตรากิโลวัตต์- ชั่วโมงละ 1.20 บาท การที่โจทก์แยกคิดกระแสไฟฟ้าจากจำเลยโดยแยกเป็นค่ากระแสไฟฟ้ากิโลวัตต์ - ชั่วโมงละ 1.121495 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 0.078505 บาทนั้น ทำให้โจทก์ได้รับเงินค่ากระแสไฟฟ้าไม่ครบ โดยขาดหายไปเท่ากับจำนวนค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเลยจึงต้องชำระเงินจำนวนนี้แก่โจทก์
โจทก์ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่บุคคลทั่วไป ดังเช่นการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคการที่โจทก์จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยโดยคิดค่ากระแสไฟฟ้าในราคาที่ต่ำมาก แสดงว่าโจทก์ไม่ได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยในเชิงการค้าหากแต่เป็นการจ่ายกระแสไฟฟ้าตามเงื่อนไขของสัญญาจ้างเหมาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์ระหว่างโจทก์และจำเลย ซึ่งนอกจากโจทก์จะต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่จำเลยดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังต้องจัดหาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วส่งถึงบริเวณถังน้ำมันของเหมืองแม่เมาะให้แก่จำเลยตามสัญญาด้วยข้อตกลงเรื่องกระแสไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยตามเงื่อนไขของสัญญาจึงเป็นเรื่องเฉพาะกิจ ไม่ได้ทำเป็นปกติธุระเช่นจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไปถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ประกอบกับหนี้คดีนี้เกิดจากโจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนจำเลย จึงคิดค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยขาดตกบกพร่องเท่ากับจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อหนี้ส่วนนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30
ตามสัญญาจ้างเหมาขุดขนดินและถ่านลิกไนต์ โจทก์เรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยเป็นงวด ตามงวดของการทำงานที่จำเลยส่งมอบให้แก่โจทก์ และจำเลยจะต้องชำระค่ากระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์หลังจากได้รับแจ้งจากโจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน ถ้าผิดนัดจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เสียให้แก่ธนาคาร แต่หนี้ในคดีนี้ไม่ใช่ค่ากระแสไฟฟ้าที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยตามงวดของการทำงานดังที่ระบุไว้ในสัญญา หากแต่เป็นหนี้ที่เกิดจากโจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนจำเลย ทำให้คิดค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยขาดจำนวนไป จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามอัตราที่โจทก์เสียให้แก่ธนาคารตามสัญญา แต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานออกเช็ค – จำเป็นต้องระบุหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ในคำฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 การออกเช็คจะเป็นความผิดต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย หนี้ตามเช็คจะมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หาได้เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผู้ถือ โอนด้วยการส่งมอบ ทายาทผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบตามเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยการส่งมอบให้แก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 เมื่อ ศ. นำเช็คพิพาทมาขายลดให้แก่โจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยในฐานะทายาทของ พ. จึงต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ แต่ต้องไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7159/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
ตามปกติโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี แต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงปรับอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากจำเลยที่ 1 ให้สูงขึ้นเป็นประเภทที่ผิดนัดชำระหนี้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีเชื่อได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยกรณีผิดนัดไม่ชำระหนี้ ถือได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเพิ่มจากเดิมมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่งให้อำนาจไว้ โดยไม่จำต้องมีฝ่ายใดอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีสัญญาบังคับใช้ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยเช่าซื้อไปจาก ผู้เสียหาย แต่สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่มีสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยมาแสดง จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้ผู้เสียหาย เพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่บังคับได้ตามกฎหมาย แม้รถยนต์ที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากบริษัท ธ. ผู้ให้เช่าซื้อเป็นรถยนต์ยี่ห้อ สี หมายเลขเครื่องและหมายเลขตัวถังอย่างเดียวกันกับรถยนต์ที่จำเลยขอเช่าซื้อจากผู้เสียหายก็ตาม แต่ผู้เสียหาย ก็มิได้เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำเลย ข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับบริษัท ธ. ผู้ให้เช่าซื้อ จะมีอยู่อย่างไร ก็ไม่ทำให้ ผู้เสียหายกลายเป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำเลยไปได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
of 145