พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3850/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนร่วมก่อสร้าง สัญญาเดิมยังไม่เลิก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหุ้นส่วนก่อนเลิกสัญญา
คดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองหาว่าร่วมกันฉีกสัญญาก่อสร้างทิ้ง ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ ศาลมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 ครั้นพิจารณาแล้วลงโทษจำเลยที่ 2 ดังนี้โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งข้อเท็จจริงในคดีอาญาคงผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ศาลในคดีแพ่งจึงฟังว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาอันเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ได้
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำการก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาก่อสร้างที่โจทก์และจำเลยที่2 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุให้สัญญาก่อสร้างระงับส่วนการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาก่อสร้างฉบับใหม่กับจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามของหุ้นส่วนเดิม เท่ากับทำแทนโจทก์นั่นเอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินที่โจทก์นำมาลงหุ้น รวมทั้งผลกำไรจากการที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนกัน จึงฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ และกรณีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2นั้น โจทก์ชอบที่จะจัดการให้มีการเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 ถึง 1063เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนร่วมกันทำการก่อสร้างตึกแถวยกกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินการที่จำเลยที่ 2 ฉีกสัญญาก่อสร้างที่โจทก์และจำเลยที่2 ทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุให้สัญญาก่อสร้างระงับส่วนการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาก่อสร้างฉบับใหม่กับจำเลยที่ 1 ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามของหุ้นส่วนเดิม เท่ากับทำแทนโจทก์นั่นเอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินที่โจทก์นำมาลงหุ้น รวมทั้งผลกำไรจากการที่โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนกัน จึงฟ้องเรียกจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้ และกรณีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2นั้น โจทก์ชอบที่จะจัดการให้มีการเลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055 ถึง 1063เสียก่อน เมื่อโจทก์ยังมิได้ปฏิบัติดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก, สิทธิในกิจการแพปลาหลังแม่เสียชีวิต, การเป็นหุ้นส่วนต้องมีหลักฐาน
กิจการแพปลาซึ่ง ผ.มารดาของโจทก์จำเลยประกอบอาชีพอยู่ก่อนถึงแก่กรรมนั้น ไม่ปรากฏว่านอกจากเงินสดและเงินที่ผ.ให้ชาวประมงยืมไปเป็นทุนแล้ว ยังมีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอีก กิจการแพปลาจึงเป็นเพียงการงานอาชีพของ ผ.อันเป็นกิจการเฉพาะตัวโดยแท้ และย่อมไม่เป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์จำเลย การที่จำเลยประกอบกิจการแพปลาต่อมาหาทำให้โจทก์มีสิทธิเป็นเจ้าของกิจการแพปลาร่วมกับจำเลยด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กิจการเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก การเป็นหุ้นส่วนต้องมีหลักฐานชัดเจน
กิจการแพปลาซึ่ง ผ.มารดาของโจทก์จำเลยประกอบอาชีพอยู่ก่อนถึงแก่กรรมนั้น ไม่ปรากฏว่านอกจากเงินสดและเงินที่ผ.ให้ชาวประมงยืมไปเป็นทุนแล้ว ยังมีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอีก กิจการแพปลาจึงเป็นเพียงการงานอาชีพของผ.อันเป็นกิจการเฉพาะตัวโดยแท้ และย่อมไม่เป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์จำเลย การที่จำเลยประกอบกิจการแพปลาต่อมาหาทำให้โจทก์มีสิทธิเป็นเจ้าของกิจการแพปลาร่วมกับจำเลยด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวจากหุ้นส่วน: สิทธิในการฟ้องเลิกห้างหุ้นส่วนและการผูกพันตามคำพิพากษา
เมื่อโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนเพราะได้ตกลงถอนตัวจากการเป็นหุ้นส่วนในห้างพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและขอชำระบัญชีในห้างพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนตัวจากหุ้นส่วนและการไม่มีอำนาจฟ้องคดีเลิกห้าง
เมื่อโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนเพราะได้ตกลงถอนตัวจากการเป็นหุ้นส่วนในห้างพิพาทแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิมาฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและขอชำระบัญชีในห้างพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนกู้เงินเพื่อใช้ในกิจการค้า สัญญาผูกพัน หุ้นส่วนและผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์มาใช้ในกิจการค้าของจำเลยที่ 1 หาเป็นการนอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ไม่
การที่โจทก์เบิกความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ และรับเงินจากโจทก์ไปต่างกับฟ้องที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติ และตามอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินโจทก์แล้วก็ไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหานี้
การที่โจทก์เบิกความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ และรับเงินจากโจทก์ไปต่างกับฟ้องที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นอันยุติ และตามอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้เงินโจทก์แล้วก็ไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยปัญหานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของหุ้นส่วนผู้จัดการและการมีสิทธิฟ้องขอเลิกห้างหุ้นส่วน
ก. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยมิได้นำรถยนต์ที่ ผู้เป็นหุ้นส่วนนำมาลงหุ้นไปจดทะเบียนโอนเป็นทรัพย์สินของจำเลย ปล่อยให้ซ่อมแซมรักษาและเก็บผลประโยชน์กันเอง จัดทำบัญชีค่าใช้จ่าย ของจำเลยว่ามีค่าซ่อมรถยนต์ค่าซื้ออะไหล่ ค่าน้ำมัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะจำเลยไม่มีรถยนต์เป็นของตนเอง เอาใบเสร็จค่าน้ำมันรถยนต์ ของตนมาลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายของจำเลย และใบเสร็จรับเงินถูกแก้ไขจำนวนเงินและราคาให้สูงกว่าความเป็นจริง ถือได้ว่า ก. ปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบส่อไปในทางทุจริต เป็นการละเมิดข้อบังคับของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจึงมีสิทธิฟ้องขอให้เลิกห้างจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(1) และ มาตรา 1080
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหุ้นส่วนหลังล้มละลาย: โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาได้ แม้มีการพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ตั้งอยู่ในจังหวัดตราด โจทก์ได้ตกลงกับห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดอ. ให้โจทก์เข้าเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แล้วโจทก์จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้ห้าง และห้างใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งโรงน้ำแข็งของห้าง เมื่อเลิกห้างแล้วถ้าหากมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงินเข้ากองทรัพย์สินของห้าง 50,000 บาทแล้วห้างจะโอนที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ ต่อมาห้างถูกศาลแพ่งสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและ พิพากษาให้ล้มละลายคดีถึงที่สุด โจทก์ขอชำระเงิน 50,000 บาท ให้แก่ห้างและขอให้ห้างจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างไม่ยอมปฏิบัติตามที่โจทก์ขอ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดตราดขอให้บังคับจำเลยรับเงิน 50,000 บาท จากโจทก์ แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์กับขอให้บังคับห้างออกไปจากที่ดินพิพาทด้วย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 26,27 ซึ่งปฏิบัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ แต่ก็ห้ามเฉพาะหนี้เงิน ไม่ได้ห้ามฟ้องหนี้เกี่ยวด้วยการกระทำงดเว้นกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์อื่นนอกจากเงิน ซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังเช่นฟ้องโจทก์ ในคดีนี้ และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดตราด ซึ่งเป็นศาลที่ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตไม่จำต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. เด็ดขาด เพราะโจทก์มิได้ฟ้องว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดที่ดินพิพาทและขอให้สั่งถอนการยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในเช็คและการจัดการงานของห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1,2 ร่วมกันลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งต่อมาได้เลิกกิจการ จำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยเมื่อรถยนต์เข้าเป็นหุ้นส่วนของนิติบุคคล
แม้จำเลยที่ 1 ได้นำเอารถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ช.ย.03316เข้าเป็นหุ้นของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยที่ 1 แล้วก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ยังเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยอยู่นั่นเอง เมื่อวินาศภัยเกิดขึ้นแก่โจทก์ในระหว่างเอาประกันภัย ซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบแล้ว จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ในนามของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุน