พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่เลิกกิจการ ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องแทน
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช. ถึงแก่กรรม ห้าง น. ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 (5), 1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1257 (1)
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เมื่อ ช. ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้รับเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช. ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น. ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่ม ดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น. ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น. เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช. ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น. ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อหุ้นส่วนสามัญถึงแก่กรรม
ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญคนหนึ่งตาย ห้างเลิกกันโดยผลของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คยังคงสิทธิเรียกร้องแม้เข้าบัญชีห้างหุ้นส่วน ศาลวินิจฉัยคดีแพ่งไม่ผูกพันข้อเท็จจริงคดีอาญา
ผู้ทรงเช็คเอาเช็คเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนที่ตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพื่ออาศัยเรียกเก็บเงิน ถือว่ายังเป็นผู้ทรงเช็คอยู่ เมื่อเรียกเก็บเงินไม่ได้จึงฟ้องผู้สั่งจ่ายตามเช็คได้
คู่ความในคดีแพ่งขอให้ศาลวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในคดีอาญาซึ่งคัดสำเนาส่งศาล ไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ศาลวินิจฉัยคดีแพ่งตามนั้นแต่สิทธิเรียกร้องตามเช็คไม่ต้องอาศัยมูลความผิดอาญาศาลไม่ถือตามคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีอาญา
คู่ความในคดีแพ่งขอให้ศาลวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในคดีอาญาซึ่งคัดสำเนาส่งศาล ไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ศาลวินิจฉัยคดีแพ่งตามนั้นแต่สิทธิเรียกร้องตามเช็คไม่ต้องอาศัยมูลความผิดอาญาศาลไม่ถือตามคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้างหุ้นส่วนรับผิดชอบรถหายจากการรับฝาก จ่ายค่าเสียหาย
จำเลยเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เชิด ศ. ออกแสดงเป็นตัวแทนรับฝากรถเป็นกิจการค้าต่อเนื่องกับการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงของจำเลย โดยรับค่าฝากรถจากโจทก์ผู้ทำการโดยสุจริต เมื่อรถที่ฝากไว้หายไป จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันเช็คหลังการพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วน: เช็คยังผูกพันจนกว่าจะบอกเลิก
ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ผู้ชำระบัญชียังไม่ได้บอกทะเบียนเลิกห้าง ห้างยังไม่สิ้นสภาพบุคคลเช็คที่ห้างเป็นผู้ออกยังผูกพันห้างอยู่ ผู้ทรงเช็คยังมิได้ยื่นเช็คต่อธนาคาร ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอากับผู้เป็นหุ้นส่วนในคดีล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของห้างหุ้นส่วนและผู้ร่วมก่อตั้งในหนี้สินของโรงงาน
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ตั้งโรงงานแก้วขึ้นเพื่อผลิตขวดยาและเครื่องแก้วออกจำหน่ายหากำไรในระหว่างที่โรงงานแห่งนี้ยังมิได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 ได้ซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในกิจการของโรงงานแล้วไม่ชำระราคาจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต้องรับผิดหนี้ค่าซื้อสินค้านั้นร่วมกับจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1079 และต่อมาเมื่อโรงงานนั้นได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดในหนี้รายนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนค้าที่ดิน และการแก้ไขจำนวนเงินประเมินหลังพ้นกำหนดระยะเวลา
ห้างหุ้นส่วนมีวัตถุประสงค์ในการค้า ทำการขายที่ดินในทางการค้าไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
เมื่อครั้งคดีนี้ขึ้นสู่ศาลฎีกาครั้งแรกศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า จ. เจ้าพนักงานประเมินคนเดียวมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีผลบังคับให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาประเด็นอื่นแล้วพิพากษาใหม่ประเด็นเรื่องอำนาจประเมินของ จ. กับอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงยุติ โจทก์ฎีกาครั้งหลังอีกว่าไม่มีอำนาจประเมินแม้จะยกเหตุต่างกัน ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ปีพ.ศ.2499-2501 เจ้าพนักงานประเมินจังหวัดสงขลาได้มีหมายเรียกลงวันที่ 12 กันยายน 2501 เรียกโจทก์เพื่อไต่สวนต่อมาโจทก์ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ในจังหวัดพระนครเจ้าพนักงานประเมินในเขตจังหวัดสงขลาโอนเรื่องให้เจ้าพนักงานประเมินในเขตจังหวัดพระนครดำเนินการจึงได้มีหมายเรียกฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2508 ถึงโจทก์ หมายเรียกฉบับหลังจึงเป็นหมายเรียกซ้ำโจทก์จะอ้างว่าเพิ่งออกหมายเรียกเมื่อพ้นกำหนด5 ปีแล้วหาได้ไม่เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมได้
แม้เจ้าพนักงานประเมินที่มีหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนครั้งแรกจะมีความเห็นว่าโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ก็ตาม กรมสรรพากรซึ่งมีอำนาจหน้าที่และควบคุมการจัดเก็บภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ก็มีอำนาจสั่งให้ประเมินใหม่ได้
เมื่อครั้งคดีนี้ขึ้นสู่ศาลฎีกาครั้งแรกศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า จ. เจ้าพนักงานประเมินคนเดียวมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีผลบังคับให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาประเด็นอื่นแล้วพิพากษาใหม่ประเด็นเรื่องอำนาจประเมินของ จ. กับอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงยุติ โจทก์ฎีกาครั้งหลังอีกว่าไม่มีอำนาจประเมินแม้จะยกเหตุต่างกัน ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ปีพ.ศ.2499-2501 เจ้าพนักงานประเมินจังหวัดสงขลาได้มีหมายเรียกลงวันที่ 12 กันยายน 2501 เรียกโจทก์เพื่อไต่สวนต่อมาโจทก์ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ในจังหวัดพระนครเจ้าพนักงานประเมินในเขตจังหวัดสงขลาโอนเรื่องให้เจ้าพนักงานประเมินในเขตจังหวัดพระนครดำเนินการจึงได้มีหมายเรียกฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2508 ถึงโจทก์ หมายเรียกฉบับหลังจึงเป็นหมายเรียกซ้ำโจทก์จะอ้างว่าเพิ่งออกหมายเรียกเมื่อพ้นกำหนด5 ปีแล้วหาได้ไม่เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมได้
แม้เจ้าพนักงานประเมินที่มีหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนครั้งแรกจะมีความเห็นว่าโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ก็ตาม กรมสรรพากรซึ่งมีอำนาจหน้าที่และควบคุมการจัดเก็บภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ก็มีอำนาจสั่งให้ประเมินใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้รับอาวัลและการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง และต่อมาได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชี ระหว่างการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ยอมรับใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ลงนามเป็นผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ดังนี้ แม้ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเลิกกันแล้ว ก็ยังไม่สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคล เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี เมื่อจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ในระหว่างการชำระบัญชี โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ชำระบัญชีด้วยเป็นผู้แทนและเป็นผู้รับอาวัลในฐานะส่วนตัวด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงิน โดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา 940 วรรคแรก บัญญัติว่าผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน ดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแต่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงิน โดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา 940 วรรคแรก บัญญัติว่าผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน ดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแต่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้รับอาวัลและการสิ้นสภาพนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนที่ชำระบัญชี
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่งและต่อมาได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชี ระหว่างการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ยอมรับใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังกล่าวโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ลงนามเป็นผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ดังนี้ แม้ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่1 จะจดทะเบียนเลิกกันแล้วก็ยังไม่สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเมื่อจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ในระหว่างการชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ชำระบัญชีด้วยเป็นผู้ทำแทนและเป็นผู้รับอาวัลในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้นๆ ถึงกำหนดใช้เงินโดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา940 วรรคแรก บัญญัติว่า ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแก่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้นๆ ถึงกำหนดใช้เงินโดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา940 วรรคแรก บัญญัติว่า ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแก่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278-2279/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของหุ้นส่วนผู้จัดการในการรักษาสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโรงงานฆ่าสัตว์ โจทก์เป็นลูกจ้างของห้างหุ้นส่วนและอาศัยอยู่ในโรงงานฆ่าสัตว์ ซึ่งเป็นสำนักงานของห้างหุ้นส่วน จำเลยให้โจทก์ออกจากงาน จำเลยกับพวกไปที่โรงงานยื่นบันทึกให้โจทก์ส่งมอบเงินกับบัญชีและอายัดทรัพย์ปิดไว้ที่ตู้เซฟ ประตูห้องโจทก์ และเอาไม้ตีประตูชั้นล่างของโรงงาน เพราะเกรงว่าจะมีสิ่งของหายไป เช่นนี้จำเลยไม่มีความผิดฐานบุกรุก