พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ: เหตุสมควรอนุญาตยื่นได้ แม้ไม่ปรากฏเจตนาขาดนัด
เมื่อศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิที่จะแจ้งต่อศาลถึงเหตุที่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199ถ้าศาลเห็นว่าการขาดนัดของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ และในการวินิจฉัยว่าจะอนุญาตหรือไม่ เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรแล้ว ก็อนุญาตให้ยื่นคำให้การได้โดยไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่ เพราะมาตรานี้กำหนดว่าขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ประการใดเพียงอย่างเดียว ศาลก็มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ยื่นคำให้การได้
กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2535 จำเลยต้องยื่นคำให้การในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2535ระหว่างนั้นจำเลยได้ติดต่อทนายความ แต่ยังมิได้แต่งตั้งให้ดำเนินคดีโดยทนายความสั่งให้จำเลยหาหลักฐานมาก่อน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2535 จำเลยป่วยได้ผ่าตัดเนื้องอกที่รังไข่ซ้ายที่โรงพยาบาล วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จึงได้ออกจากโรงพยาบาลและแพทย์ลงความเห็นว่าควรพักผ่อนอีก 30 วัน และคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยเป็นเงิน 89 ล้านบาทเศษ กรณีเช่นนี้นับว่ามีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้
กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2535 จำเลยต้องยื่นคำให้การในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2535ระหว่างนั้นจำเลยได้ติดต่อทนายความ แต่ยังมิได้แต่งตั้งให้ดำเนินคดีโดยทนายความสั่งให้จำเลยหาหลักฐานมาก่อน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2535 จำเลยป่วยได้ผ่าตัดเนื้องอกที่รังไข่ซ้ายที่โรงพยาบาล วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จึงได้ออกจากโรงพยาบาลและแพทย์ลงความเห็นว่าควรพักผ่อนอีก 30 วัน และคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยเป็นเงิน 89 ล้านบาทเศษ กรณีเช่นนี้นับว่ามีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ: เหตุผลสมควรอนุญาตยื่นได้ แม้พ้นกำหนดตามกฎหมาย
เมื่อศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยมีสิทธิที่จะแจ้งต่อศาลถึงเหตุที่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199ถ้าศาลเห็นว่าการขาดนัดของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้และในการวินิจฉัยว่าจะอนุญาตหรือไม่เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรแล้วก็อนุญาตให้ยื่นคำให้การได้โดยไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่เพราะมาตรานี้กำหนดว่าขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ประการใดเพียงอย่างเดียวศาลก็มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ยื่นคำให้การได้ กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่6ตุลาคม2535จำเลยต้องยื่นคำให้การในวันที่5พฤศจิกายน2535ระหว่างนั้นจำเลยได้ติดต่อทนายความแต่ยังมิได้แต่งตั้งให้ดำเนินคดีโดยทนายความสั่งให้จำเลยหาหลักฐานมาก่อนในวันที่29ตุลาคม2535จำเลยป่วยได้ผ่าตัดเนื้องอกที่รังไข่ซ้ายที่โรงพยาบาลวันที่5พฤศจิกายน2535จึงได้ออกจากโรงพยาบาลและแพทย์ลงความเห็นว่าควรพักผ่อนอีก30วันและคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยเป็นเงิน89ล้านบาทเศษกรณีเช่นนี้นับว่ามีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการมีไม้แปรรูป รวมถึงสิ่งประดิษฐ์จากไม้หวงห้าม
จำเลยแปรรูปไม้ในบริเวณบ้านของจำเลยส่วนที่เป็นเพิงหลังบ้าน พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดได้ไม้สักแปรรูปจำนวน 139 แผ่นปริมาตร 0.129 ลูกบาศก์เมตร บานหน้าต่างไม้สัก 60 บานและบานประตูไม้สัก 4 บาน เครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปไม้และทำสิ่งประดิษฐ์ โดยเฉพาะพบแท่นซอยและแท่นเจาะติดตั้งไว้กับพื้นรวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ อีกหลายรายการกับพบร่องรอย ขี้เลื่อยขี้กบทั้งเก่าและใหม่ในบริเวณบ้านด้วย แสดงว่าเป็นสถานที่จัดขึ้นไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้โดยเฉพาะ จึงเป็นโรงงานแปรรูปไม้ตามบทนิยามในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 4(13) จำเลยตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยมิได้รับอนุญาตจึงมีความผิดตามมาตรา 78,73
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาเกินกำหนดระยะเวลาและการพิจารณาคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาโดยผู้พิพากษาที่ย้ายไปแล้วยังคงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับฎีกาภายในกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ถึงแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้ฎีกาเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาและย้ายไปรับราชการอยู่ที่ศาลอื่นแล้ว ก็เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ยื่นหลังหมดระยะเวลา แต่มีคำสั่งอนุญาตถูกต้อง และการลดโทษรอการลงโทษ
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงการที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับฎีกาภายในกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วถึงแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาไปแล้วก็เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินจากการอนุญาตของเจ้าของรวม แม้ไม่มีหนังสือก็อาจมีผลผูกพันได้
จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของล.มารดาม.เมื่อปี2505ล.ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งจึงได้มอบอำนาจให้ม. ใส่ชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนล.โดยกำชับไว้ว่าเมื่อล. ถึงแก่กรรมให้จัดแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาททั้ง8คนของล.ต่อมาเมื่อล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของล.ตกได้แก่ทายาททั้ง8คนหาใช่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของม.แต่เพียงผู้เดียวไม่จำเลยได้รับอนุญาตจากทายาททั้ง8คนรวมทั้งม. ให้ปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิตของจำเลยโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนแม้สิทธิของจำเลยตามที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการได้มานั้นไม่บริบูรณ์เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคหนึ่งแต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะไม่คงเป็นบุคคลสิทธิที่มีผลผูกพันคู่สัญญาและแม้ตามคำให้การของจำเลยจะมิได้ปรากฎว่าโจทก์ผู้จัดการมรดกของม.รู้เห็นยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นด้วยแต่หากฟังได้ว่าเป็นความจริงก็เป็นเรื่องเจ้าของรวมจัดการทรัพย์สินในเรื่องอันเป็นสาระสำคัญซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1358วรรคสามให้ตกลงกันโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวมจำเลยจึงอาจมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทได้คดีจึงมีความจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวต่อไปไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะด่วนสั่งให้งดสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นโมฆะเนื่องจากผู้ขายทราบว่ายังไม่ได้รับอนุญาตจัดสรร และการเลิกสัญญโดยปริยาย
ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจำเลยผู้จะขายแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286เรื่องควบคุมการจัดสรรที่ดินข้อ10ที่ห้ามมิให้ผู้ใดทำการจัดสรรที่ดินเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการโดยโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ร่วมรู้ในวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการดังนี้วัตถุประสงค์ของสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องจึงหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินอันเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายซึ่งในขณะนั้นจำเลยอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ได้ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นโดยโจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบดังนั้นการที่โจทก์ไม่ยอมชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายงวดต่อๆมาจึงหาได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา205ไม่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุดังกล่าวหาได้ไม่แต่ต่อมาการที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืนจำเลยก็มิได้โต้แย้งแสดงความประสงค์ให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปกลับบอกปัดชัดแจ้งว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายโจทก์และจำเลยต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยเมื่อเป็นกรณีที่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งจึงให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคสองและมาตรา7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานการกู้ยืมที่สูญหาย และการอนุญาตให้สืบพยานบุคคล
การนำสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้นโจทก์นำสืบด้วยพยานบุคคลได้ เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ส่วนการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สูญหายไปต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบได้ตลอดทั้งเรื่อง ถือว่าได้อนุญาตโดยปริยาย การสืบพยานของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลแทนเอกสารกู้ยืมที่สูญหาย ศาลอนุญาตโดยปริยาย ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
การนำสืบว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือสูญหายไปนั้นโจทก์นำสืบด้วยพยานบุคคลได้เพราะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงส่วนการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สูญหายไปต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนเมื่อศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบได้ตลอดทั้งเรื่องถือได้อนุญาตโดยปริยายการสืบพยานของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้บังอาจมีอาวุธปืนพกกระสุนปืนและแม็กกาซีนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายโดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่ามีอาวุธปืนไม่ปรากฏหลักฐานใบอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำเลยให้การรับสารภาพคดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและพาไปโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯพ.ศ.2490มาตรา7,72วรรคสามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา7,72วรรคแรกและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นจึงไม่ชอบปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะไม่ได้อุทธรณ์และฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้