พบผลลัพธ์ทั้งหมด 440 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วแต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วยโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ปรากฏนิติกรรม การครอบครองปรปักษ์ และข้อยกเว้นสิทธิ
การที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยการจับจองมาแต่เริ่มแรก แต่ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินมีโฉนดของผู้อื่น ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่ง-และพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง นั่นเอง เพราะผู้ร้องทั้งสองไม่ได้ที่ดินมาโดยนิติกรรมจากผู้ใด และได้ความว่าผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำมาตรา 1299 วรรคสอง มาปรับใช้กับคดีผู้ร้องทั้งสองแล้ววินิจฉัยว่า แม้จะฟังว่าผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองผู้ร้องทั้งสองก็ไม่อาจยกข้อต่อสู้ขึ้นยันโจทก์ได้นั้น ไม่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินโฉนด – มาตรา 1299 วรรคสอง – การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างว่าเป็นผู้ได้สิทธิครอบครองที่ดินโดยการจับจองมาแต่เริ่มแรก แต่ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินมีโฉนดของผู้อื่น ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง นั่นเอง เพราะผู้ร้องทั้งสองไม่ได้ที่ดินมาโดยนิติกรรมจากผู้ใด และได้ความว่าผู้ร้องยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำมาตรา 1299 วรรคสอง มาปรับใช้กับคดีผู้ร้องทั้งสองแล้ววินิจฉัยว่าแม้จะฟังว่าผู้ร้องทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองผู้ร้องทั้งสองก็ไม่อาจยกข้อต่อสู้ขึ้นยันโจทก์ได้นั้นไม่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3287/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีหนี้ที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน: ศาลชี้ว่าไม่ใช่คดีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ แต่เป็นคดีหนี้บุคคลธรรมดา
ที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 1 ตกลงชดใช้เงินให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่ง และจำเลยที่ 1 นำน.ส.3 ก. และ น.ส.3 มอบให้โจทก์ไว้เพื่อนำออกขายเอาเงินมาชำระหนี้โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันนำ น.ส.3 ก. และ น.ส.3ดังกล่าวไปจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 แล้วยักยอกเงินค่าที่ดินเป็นประโยชน์ส่วนตนนั้น คำฟ้องส่วนนี้มิใช่คำฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา4 ทวิ แต่เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
การที่จำเลยที่ 1 มอบเอกสาร น.ส.3 ก. และ น.ส.3ให้แก่โจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิหรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินทั้งตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้จดทะเบียนรับโอนโดยไม่สุจริตหรือร่วมกระทำการทุจริตกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
การที่จำเลยที่ 1 มอบเอกสาร น.ส.3 ก. และ น.ส.3ให้แก่โจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิหรือมีสิทธิครอบครองในที่ดินทั้งตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้จดทะเบียนรับโอนโดยไม่สุจริตหรือร่วมกระทำการทุจริตกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ขาย
ผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทมาจาก ท.โดยมีข้อตกลงว่าให้บ้านพิพาทอยู่ในที่เดิมเพื่อให้ญาติพี่น้องอาศัยอยู่ไปก่อน แล้วจะไปจดทะเบียนในภายหลัง เห็นได้ชัดเจนว่าการซื้อขายบ้านพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ท. นั้นมีเจตนาซื้อขายกันอย่างอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก บ้านพิพาทจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เมื่อ ท.ถึงแก่ความตาย กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงเป็นมรดกของ ท.ตกทอดแก่จำเลยซึ่งมีสิทธิได้รับตามส่วนในฐานะทายาทคนหนึ่งของ ท.โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดมาขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่จดทะเบียน: โมฆะและผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์มรดก
ผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทมาจาก ท. โดยมีข้อตกลงว่าให้บ้านพิพาทอยู่ในที่เดิมเพื่อให้ญาติพี่น้องอาศัยอยู่ไปก่อน แล้วจะไปจดทะเบียนในภายหลัง เห็นได้ชัดเจนว่าการซื้อขายบ้านพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ท. นั้นมีเจตนาซื้อขายกันอย่างอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456 วรรคแรก บ้านพิพาทจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท.เมื่อท.ถึงแก่ความตาย กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงเป็นมรดกของ ท. ตกทอดแก่จำเลยซึ่งมีสิทธิได้รับตามส่วนในฐานะทายาทคนหนึ่งของ ท.โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดมาขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับภารจำยอม: ผู้ฟ้องต้องเป็นเจ้าของที่ดินเท่านั้น
ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 4 ลักษณะ 4 ฉะนั้น ผู้ที่จะฟ้องบังคับภารจำยอมได้ต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ที่ดินที่โจทก์ครอบครองเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน อยู่ทางทิศเหนือของที่ดินจำเลยที่ 2 และที่ 1 โจทก์ไม่ใช่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองว่าที่ดินของจำเลยทั้งสองตกอยู่ในภารจำยอมเกี่ยวกับทางเดินหรือทางรถยนต์ของที่ดินที่โจทก์ครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นไม่บริบูรณ์
การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นทรัพย์สิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและมิได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพยสิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับก่อน ไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คู่ความยื่นคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ศาลมีคำสั่งโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามที่ขอ คู่ความย่อมมีสิทธิยื่นคำขอเช่นว่านั้นได้อีก เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามทั้งศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เมื่อศาลเห็นสมควรย่อมมีคำสั่งใหม่ให้วินิจฉัยตามคำขอได้โดยไม่ต้องเพิกถอนคำสั่งเดิมก่อน เพราะมิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมิได้กำหนดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่พฤติการณ์แสดงว่า เป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้เป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้เมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้วคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชอบที่จะกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันได้หาใช่คู่สัญญามีเจตนาให้เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ก่อนฟ้องคดีต่อศาล
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กำหนดสิทธิฟ้องคดีต่อศาลของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 26 วรรคแรก ซึ่งแสดงว่า ผู้ที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ไม่พอใจ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในเมื่อรัฐมนตรี มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามมาตรา 18 จึงต้องดำเนินการตามมาตรา 25 วรรคแรก แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล คำว่ามีสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น หมายความเพียงว่าเป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้แต่มิได้หมายความว่าโจทก์มีสิทธิ เลือกอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีหรือฟ้องคดีต่อศาลก็ได้ เพราะสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลได้มีบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 26