พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมาคำนวณเงินบำเหน็จตามข้อบังคับบริษัท
จำเลยจ่ายเงินช่วยค่าครองชีพแก่โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ ให้บทนิยาม คำว่า 'ค่าจ้าง' ไว้ว่า'หมายความว่า ค่าจ้างที่โรงงานน้ำตาลจ่ายให้แก่ พนักงานและคนงานประจำเพื่อตอบแทนการทำงาน แต่ไม่รวมถึง เงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส เบี้ยเลี้ยงหรือประโยชน์ อย่างอื่น' ค่าครองชีพจึงเข้าลักษณะเป็นค่าจ้างหาใช่ประโยชน์อย่างอื่นอันจะไม่ต้องนำมาคำนวณเงินบำเหน็จไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงาน-อายุงานต่อเนื่อง-ค่าชดเชย-เงินบำเหน็จ: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเปลี่ยนนายจ้าง
บริษัท ม. กับจำเลยเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน การที่บริษัท ม.ออกคำสั่งชี้แจงแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัท ศ. ก่อนมีการโอนพนักงานว่า เงินเดือนให้รับในอัตราและวิธีการเดิมไปพลางก่อนจนกว่าบริษัท ม. จะปรับปรุงระเบียบข้อบังคับใหม่ จึงหาผูกพันจำเลยไม่ และเมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจำเลยบัญญัติว่า ให้ดำเนินการรับบรรจุแต่งตั้งพนักงานของบริษัทม. เป็นพนักงานของจำเลย และคณะกรรมการจำเลยมีมติว่า ให้พนักงานรับเงินเดือนเช่นเดิมจนกว่าจะพิจารณาจัดแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งแล้ว จึงหมายความว่าเมื่อแบ่งส่วนงานและจัดบุคคลลงในตำแหน่งเสร็จ เงินเดือนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยให้โจทก์รับเงินเดือนตามตำแหน่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบถ้วน
แต่เมื่อก่อนการโอนพนักงานของบริษัท ศ. รวมทั้งโจทก์มาเป็นพนักงานของบริษัท ม. นั้น บริษัท ม. ได้ออกคำชี้แจงให้ผู้ใคร่ขอรับค่าชดเชยมายื่นความจำนงขอรับแต่จะหมดสิทธิการนับอายุงานต่อเนื่อง โจทก์ไม่ประสงค์รับค่าชดเชย อายุการทำงานของโจทก์ต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานที่บริษัท ศ.และเมื่อจำเลยรับโอนพนักงานของบริษัท ม. มาเป็นพนักงานของจำเลย โดยให้พนักงานทุกคนอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ปฏิบัติงานอยู่กับบริษัท ม.และให้ได้รับเงินเดือนเดิม จึงเป็นการโอนการจ้างอันต้องนับอายุการทำงานของโจทก์ต่อเนื่องจากที่มีอยู่ในขณะเป็นลูกจ้างของบริษัท ม. เช่นกัน ดังนั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จมิได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าประสงค์จะให้นับเวลาทำงานของพนักงานเฉพาะที่เป็นพนักงานของจำเลยแต่อย่างใด การนับอายุการทำงานของโจทก์เพื่อรับบำเหน็จจึงต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานกับบริษัท ศ.
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับค่าชดเชยโดยระบุว่าได้นำเงินประจำตำแหน่งมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้ด้วยแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวมิได้แจ้งว่าจำนวนค่าชดเชยเป็นจำนวนเท่าใด ก็แสดงว่าจำเลยคำนวณค่าชดเชยถูกต้องแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปรับค่าชดเชย จึงเป็นผู้ผิดนัด จำเลยคงต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่โจทก์ ได้รับแจ้งดังกล่าว
แต่เมื่อก่อนการโอนพนักงานของบริษัท ศ. รวมทั้งโจทก์มาเป็นพนักงานของบริษัท ม. นั้น บริษัท ม. ได้ออกคำชี้แจงให้ผู้ใคร่ขอรับค่าชดเชยมายื่นความจำนงขอรับแต่จะหมดสิทธิการนับอายุงานต่อเนื่อง โจทก์ไม่ประสงค์รับค่าชดเชย อายุการทำงานของโจทก์ต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานที่บริษัท ศ.และเมื่อจำเลยรับโอนพนักงานของบริษัท ม. มาเป็นพนักงานของจำเลย โดยให้พนักงานทุกคนอยู่ในตำแหน่งเดิมที่ปฏิบัติงานอยู่กับบริษัท ม.และให้ได้รับเงินเดือนเดิม จึงเป็นการโอนการจ้างอันต้องนับอายุการทำงานของโจทก์ต่อเนื่องจากที่มีอยู่ในขณะเป็นลูกจ้างของบริษัท ม. เช่นกัน ดังนั้น เมื่อข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยเงินบำเหน็จมิได้มีข้อความแสดงให้เห็นว่าประสงค์จะให้นับเวลาทำงานของพนักงานเฉพาะที่เป็นพนักงานของจำเลยแต่อย่างใด การนับอายุการทำงานของโจทก์เพื่อรับบำเหน็จจึงต้องนับต่อเนื่องตั้งแต่โจทก์เข้าทำงานกับบริษัท ศ.
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับค่าชดเชยโดยระบุว่าได้นำเงินประจำตำแหน่งมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยให้ด้วยแล้ว แม้หนังสือดังกล่าวมิได้แจ้งว่าจำนวนค่าชดเชยเป็นจำนวนเท่าใด ก็แสดงว่าจำเลยคำนวณค่าชดเชยถูกต้องแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปรับค่าชดเชย จึงเป็นผู้ผิดนัด จำเลยคงต้องใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันเลิกจ้างถึงวันที่โจทก์ ได้รับแจ้งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และการนับระยะเวลาทำงาน
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิด ขึ้นโดยระเบียบเดิม เจตนาของโจทก์จำเลยในการทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากระเบียบเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปใช้ประโยชน์ก่อน เป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบเดิมเฉพาะระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จเท่านั้น ส่วนสาระสำคัญอื่น ๆ เป็นไปตามเดิมการที่ระเบียบเดิมกำหนดว่า ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียวมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จจำเลยมีสิทธินำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดกับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัดกับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย vs. เงินบำเหน็จ: การหักเงินบำเหน็จออกจากค่าชดเชย และการนับอายุงานที่ไม่ต่อเนื่อง
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิด ขึ้นโดยระเบียบเดิม เจตนาของโจทก์จำเลยในการทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากระเบียบเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างก็เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จไปใช้ประโยชน์ก่อนเป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบเดิมเฉพาะระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จเท่านั้น ส่วนสาระสำคัญอื่น ๆ เป็นไปตามเดิม การที่ระเบียบเดิมกำหนดว่า ถ้าเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชยให้ตัดเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินชดเชย ถ้าเงินบำเหน็จน้อยกว่าค่าชดเชยก็ให้ได้รับแต่ค่าชดเชยอย่างเดียวมิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จ จำเลยมีสิทธินำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทสุรามหาคุณจำกัด ก่อนเป็นลูกจ้างจำเลยโดยมิได้นับระยะเวลาทำงานติดต่อกัน ถือได้ว่า บริษัทสุรามหาคุณ จำกัด กับจำเลยมิได้โอนการจ้างแก่กัน การนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์เพื่อคำนวณค่าชดเชยที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต้องนับแต่วันที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เงินบำเหน็จที่จะถือว่าเป็นค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายไปแล้วก็คือเงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายไปตั้งแต่ปีที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างจำเลย ส่วนเงินบำเหน็จที่บริษัทสุรามหาคุณจำกัด จ่ายไปก่อนหน้านั้นเป็นการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนของบริษัทสุรามหาคุณ จำกัดเองจะนำระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับบริษัทสุรามหาคุณ จำกัด มาคำนวณเป็นค่าชดเชยรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทำงานกับจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436-2438/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จและค่าชดเชย แม้มีการจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอน ก็ยังต้องนำมาหักออกจากค่าชดเชยตามกฎหมาย
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยระเบียบเดิม ไม่ใช่เป็นสิทธิที่เกิดจากข้อเรียกร้องหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งทำขึ้นใหม่ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างแทนที่จะรอจ่ายเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเฉพาะกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงิน ส่วนสาระสำคัญอื่นๆ เช่น ประเภทของลูกจ้าง หรือคุณสมบัติของลูกจ้างผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ คงใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบเดิม ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังเป็นเพียงกำหนดให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะขอเลือกรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี หรือขอรับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานก็ได้เท่านั้น มิได้หมายความเลยไปว่าถ้าลูกจ้างขอรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีไปแล้ว ก็สิ้นความผูกพันที่มีอยู่ตามระเบียบเดิม นายจ้างมีสิทธิจะนำระเบียบเดิมมาใช้บังคับแก่ลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436-2438/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: สิทธิลูกจ้างยังคงมีแม้รับเงินบำเหน็จตัดตอน
สิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยระเบียบเดิม ไม่ใช่เป็นสิทธิที่เกิดจากข้อเรียกร้องหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งทำขึ้นใหม่ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการในการจ่ายเงินบำเหน็จจากเดิมโดยให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีให้แก่ลูกจ้างแทนที่จะรอจ่ายเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเฉพาะกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงิน ส่วนสาระสำคัญอื่นๆ เช่น ประเภทของลูกจ้าง หรือคุณสมบัติของลูกจ้างผู้มี สิทธิได้รับเงินบำเหน็จ คงใช้หลักเกณฑ์ตามระเบียบเดิมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังเป็นเพียงกำหนดให้สิทธิ แก่ลูกจ้างที่จะขอเลือกรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปี หรือขอรับเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานก็ได้เท่านั้นมิได้หมายความเลยไปว่าถ้าลูกจ้างขอรับเงินบำเหน็จตัดตอนเป็นรายปีไปแล้ว ก็สิ้นความผูกพันที่มีอยู่ตามระเบียบเดิม นายจ้างมีสิทธิจะนำระเบียบเดิมมาใช้ บังคับแก่ลูกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชยเมื่อมีข้อบังคับขององค์กรใช้บังคับแล้ว ถือเป็นสิทธิแยกจากระเบียบเดิม
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับเงินบำเหน็จ เริ่มนับจากวันที่จำเลยอนุญาตให้ลาออก ไม่ใช่วันที่ยื่นใบลาออก
ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จต้องยื่นขอรับเงินภายใน 120 วัน นับแต่วันออกจากงาน จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินบำเหน็จจากจำเลยได้แล้ว คือวันที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกจากงานเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ยื่นใบลาออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลายื่นคำขอรับเงินบำเหน็จ เริ่มนับจากวันที่จำเลยอนุญาตให้ลาออก ไม่ใช่วันยื่นใบลาออก
ข้อบังคับของจำเลยที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ ต้องยื่นขอรับเงินภายใน 120 วัน นับแต่วันออกจากงานจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิที่จะ เรียกร้องเงินบำเหน็จจากจำเลยได้แล้ว คือวันที่จำเลยอนุญาต ให้โจทก์ลาออกจากงานเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ ยื่นใบลาออก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงินบำเหน็จหลังยื่นคำร้อง
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ ต้องห้ามตามมาตรา 191
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ