คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6351/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนจนกว่าชำระเงินครบถ้วน สัญญาซื้อขายระบุเงื่อนไขชัดเจน
สัญญาซื้อขายรถแทรกเตอร์ระบุว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ขายจนกว่าผู้ซื้อจะชำระเงินให้ผู้ขายจนครบถ้วนแล้ว ดังนี้กรรมสิทธิ์ในรถแทรกเตอร์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การซื้อขายสินค้าเคมีภัณฑ์, และฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติ-บุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทย กับให้อำนาจ ส.มอบอำนาจช่วงได้ และ ส.มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช.พยานเบิกความทุกประการ ซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทย-ประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูต-ไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ
โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามป.พ.พ. มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อน จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 189วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตหลังต่ออายุ และผลผูกพันตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ยังมิได้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ คำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ ช.ทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะได้ ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191(เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตจำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2529 ฉะนั้นเมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5574/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดตั้งบริษัท: เงื่อนไขการโอนหุ้นและการปฏิบัติตามสัญญา
ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ตั้งเงื่อนไขในการจัดตั้งบริษัทไว้ว่า บริษัทจำเลยที่ 1 และผู้เริ่มก่อการตกลงให้โจทก์ถือหุ้น30 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการให้เปล่าก็ต่อเมื่อกรมการค้าภายในได้จัดสรรสินค้าที่ได้จัดสรรให้บริษัทจังหวัดต่าง ๆ อยู่แล้วให้บริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อโจทก์อนุมัติให้ตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้โดยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอไว้ในคำเสนอขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในคำเสนอดังกล่าวในส่วนที่เป็นหน้าที่ของโจทก์ด้วย เพราะถือว่าโจทก์สนองรับคำเสนอของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 เกิดเป็นสัญญาที่คู่กรณีต้องปฏิบัติชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ไม่เคยจัดสรรสินค้าต่าง ๆ ตามสัญญาให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการโอนหุ้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5574/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดตั้งบริษัทและการชำระหนี้ตามสัญญา เงื่อนไขการจัดสรรสินค้าเป็นสาระสำคัญ
ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ตั้งเงื่อนไขในการจัดตั้งบริษัทไว้ว่า บริษัทจำเลยที่ 1 และผู้เริ่มก่อการตกลงให้โจทก์ถือหุ้น 30 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นการให้เปล่าก็ต่อเมื่อกรมการค้าภายในได้จัดสรรสินค้าที่ได้จัดสรรให้บริษัทจังหวัดต่าง ๆอยู่แล้วให้บริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อโจทก์อนุมัติให้ตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ได้โดยให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอไว้ในคำเสนอขอรับความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในคำเสนอดังกล่าวในส่วนที่เป็นหน้าที่ของโจทก์ด้วย เพราะถือว่าโจทก์สนองรับคำเสนอของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 เกิดเป็นสัญญาที่คู่กรณีต้องปฏิบัติชำระหนี้ซึ่งกันและกัน เมื่อโจทก์ไม่เคยจัดสรรสินค้าต่าง ๆตามสัญญาให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้บริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ซึ่งเป็นผู้เริ่มก่อการโอนหุ้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่กฎหมายใช้บังคับ ไม่ใช่งวดเก่า และการวางเงินมีเงื่อนไขไม่ถือเป็นการวางเงินตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 วางเงินโดยมีเงื่อนไข ทำให้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินทั้ง ๆ ที่ตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ พ.ศ. 2526 กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนไว้ อันมีผลให้กรรมสิทธิ์โอนไปด้วยอำนาจกฎหมายโดยไม่จำต้องทำการแบ่งแยกโฉนด เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปวางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางในคราวเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่ามีการวางเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระยะเวลาหนึ่งปีจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2)ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ พ.ศ. 2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ. 2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4761/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกัน: เงื่อนไขการเรียกร้องหนี้ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาและวิธีการที่ระบุไว้
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันการชำระเงินค่าจ้างเหมาตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าการเรียกร้องค่าเสียหายจะต้องยื่นเป็นลายลักษณ์อักษร ณ ที่สำนักงานของจำเลยที่ 3 ก่อนปิดทำการของวันที่ 20ตุลาคม 2530 อันเป็นวันหมดอายุหนังสือค้ำประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์หนี้ที่เกิดจากการผิดสัญญาที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 20 ตุลาคม 2530 จึงอยู่ในอายุหนังสือค้ำประกัน แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวเสียก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 โดยมิได้ยื่นคำเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยที่ 3 ทราบตามเงื่อนไขภายในกำหนดเวลาในหนังสือค้ำประกัน จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4761/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการแจ้งหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากผู้รับประโยชน์ไม่ปฏิบัติตาม
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือค้ำประกันการชำระหนี้เงินค่าจ้างเหมาตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าการเรียกร้องค่าเสียหายจะต้องยื่นเป็นลายลักษณะอักษร ณ ที่สำนักงานของจำเลยที่ 3 ก่อนปิดทำการของวันที่ 20 ตุลาคม 2530อันเป็นวันหมดอายุหนังสือค้ำประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์หนี้เกิดจากการผิดสัญญาที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 20ตุลาคม 2530 จึงอยู่ในอายุหนังสือค้ำประกัน แต่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวเสียก่อน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 โดยมิได้ยื่นคำเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรให้จำเลยที่ 3 ทราบตามเงื่อนไขภายในกำหนดเวลาในหนังสือค้ำประกัน จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดียาเสพติด: เงื่อนไขการริบเฉพาะสิ่งที่ใช้ในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเสพและจำหน่ายเฮโรอีนโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ไซลิงค์พร้อมเข็มฉีดยาและเงินที่จำเลยทั้งสองได้มาจากการจำหน่ายเฮโรอีน จึงมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 แห่งพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงไม่อาจริบได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5),246 และ 247 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศประกวดราคาไม่เป็นคำเสนอ แต่เป็นคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอ เงื่อนไขเพิ่มเติมในคำสนองถือเป็นคำเสนอใหม่
ประกาศประกวดราคามีทั้งสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเลือกทำสัญญากับผู้เข้าประกวดราคารายใดก็ได้ โดยไม่จำต้องทำสัญญากับผู้ประกวดราคาที่เสนอราคาสูงสุด หรือไม่เลือกผู้ประกวดราคารายใดเลยก็ได้ ดังนี้ประกาศประกวดราคาเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น หนังสือประกวดราคาของโจทก์จึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทกับจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ โดยโจทก์ต้องนำหลักฐานแสดงการตกลงระหว่างโจทก์กับผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทที่ว่าจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินโดยไม่เรียกร้องใด ๆ จากจำเลยมาแสดงภายใน 30วัน หนังสือของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสองเมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการสนองตามคำเสนอของจำเลยภายในเวลาที่กำหนดไว้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น
of 48