คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะ
การยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 114,115 นั้นเป็นอำนาจโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อโจทก์หรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114,115แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำร้อง โจทก์หรือเจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ได้ แต่ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องต่อศาลโดยตรง เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์สินรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และความชอบธรรมของการประเมินราคา
การขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขายทอดตลาดไม่ชอบ จำเลยทั้งสองย่อมได้รับความเสียหาย เพราะจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อีกมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท จำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 146 จะนำมาตรา 22 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ เพราะมาตรา 22 บัญญัติให้ผู้ล้มละลายไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเท่านั้น คำสั่งของกรมบังคับคดี เรื่องการขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นเพียงการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานขายทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและรวดเร็วเท่านั้น ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3258/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้
ในคดีที่ผู้ร้องร้องคัดค้านต่อศาลปฏิเสธหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่ในฐานเป็นคู่ความมาแต่แรก หาใช่ผู้เริ่มต้นฟ้องคดีตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 145(4) กำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ก่อนไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจฟ้องฎีกาโดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุดต่อกองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เป็นคู่ความ
หนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่ศาลได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 1 ตกลงว่า หากผิดนัดไม่ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินยอมรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีอันเป็นอัตราดอกเบี้ยไม่เกินประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะทำสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตามสัญญาศาลจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวถึงที่สุดแล้วกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดหนี้ดังกล่าว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีแพ่งดังกล่าวอันจะต้องถูกผูกพันโดยผลแห่งคำพิพากษาโดยตรงก็ตาม แต่ก็ไม่มีเหตุตามกฎหมายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอ้างประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยไปลดดอกเบี้ยตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วลงเหลืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดหลังพิทักษ์ทรัพย์: จำเลยมีสิทธิคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่จำเลยซึ่งถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ของตนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าเป็นการขายที่ไม่ชอบ เป็นกรณีที่จำเลยร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยซึ่งตกเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปแล้ว ตามมาตรา 22 จำเลยจึงมีอำนาจร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการสัญญาเช่าหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าโรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ในกองทรัพย์สินของจำเลยกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) ฉะนั้นเมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่อันเนื่องมาจากสัญญาเช่าระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องผู้ร้องตามมาตรา 22 (3) จะใช้วิธีแจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระเงินตามมาตรา 119 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ร้องอันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยตามมาตรา 22 (2) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้ร้องยกขึ้นฎีกาได้ แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกหนี้จากคู่สัญญาหลังการล้มละลาย: การแจ้งความ vs. การฟ้อง
ผู้ร้อง ทำ สัญญา เช่า โรงงาน ประกอบ รถยนต์ ซึ่ง เป็น ทรัพย์ ใน กอง ทรัพย์สิน ของ จำเลย กับ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ หลังจาก ศาล มี คำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ จำเลย เด็ดขาด แล้ว กรณี จึงเป็น เรื่อง ที่ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เข้า จัดการ ทรัพย์สิน ของ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(1) ฉะนั้น เมื่อ มี ข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับ สิทธิ และ หน้าที่ อัน เนื่อง มา จาก สัญญา เช่า ระหว่าง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ กับ ผู้ร้อง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ก็ ชอบ ที่ จะ ใช้ สิทธิ ฟ้อง ผู้ร้อง ตาม มาตรา 22(3) จะ ใช้ วิธี แจ้งความ เป็น หนังสือ ให้ ผู้ร้อง ชำระเงิน ตาม มาตรา 119 หา ได้ ไม่ เพราะ ไม่ ใช่ กรณี ที่ จำเลย มี สิทธิ เรียกร้อง ต่อ ผู้ร้อง อัน เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ จะ จัด การ รวบ รวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ตาม มาตรา 22(1) ปัญหา นี้ เป็น ปัญหา ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความ สงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ผู้ร้อง ยกขึ้น ฎีกา ได้ แม้ จะ ไม่ ได้ ยก ขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลล่าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องทำสัญญาเช่าโรงงานประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ในกองทรัพย์สินของจำเลยจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว จึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(1) เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบจะใช้สิทธิฟ้องผู้ร้องตาม มาตรา 22(3) จะใช้วิธีแจ้งความเป็นหนังสือตาม มาตรา 119 หาได้ไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องต่อผู้ร้องอันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดการตาม มาตรา 22(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน: เริ่มนับจากวันที่ทวงถาม และสะดุดหยุดเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งหนี้
ตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม สิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเริ่มนับตั้งแต่เมื่อเจ้าหนี้ทวงถาม ผู้ชำระบัญชีของผู้ล้มละลายได้มีหนังสือทวงถาม เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2527 ถือเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายได้ยื่นหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2529 อายุความตามสิทธิเรียกร้องของผู้ล้มละลายย่อมสะดุดหยุดอยู่ในวันนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 178 เดิม เมื่อนับย้อน-หลังไปจนถึงวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงินแล้วไม่เกิน 3 ปี ตั๋วสัญญาใช้เงินจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกเลิกการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย โดยไม่ต้องมีกำหนดเวลาตามมาตรา 153 พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลายได้เองภายหลังจากลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 123 โดยไม่ต้องขออนุญาตศาลขาย กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นหมายถึงกระบวนพิจารณาที่กระทำต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการขายทอดตลาดทรัพย์รายใดดำเนินไปโดยไม่ชอบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นเสียได้ โดยไม่จำต้องมีคำสั่งภายใน 8 วันนับแต่วันขาย เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153 ประกอบมาตรา 27 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมิใช่การร้องขอของคู่ความฝ่ายที่เสียหาย
of 36