คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช็คพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 256 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การสลักหลังไม่ขาดสาย ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย และขอบเขตการนำสืบ
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ และไม่เข้าข่ายที่จะเป็นตั๋วเสีย ทั้งมีการสลักหลังไม่ขาดสาย โจทก์เป็นผู้ครอบครองเช็ค จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมิได้ให้การว่า โจทก์มิใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใด จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ
จำเลยให้การว่า มิได้สลักหลังเช็คพิพาท แต่กลับนำสืบว่า จำเลยสลักหลังเช็คเพียงเพื่อแสดงว่าเช็คพิพาทผ่านห้างหุ้นส่วนมา มิใช่สลักหลังเพื่อรับผิดนั้น จึงเป็นการสืบนอกเหนือและขัดกับคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทดอกเบี้ยเกินอัตรา: การกระทำผิดทางอาญาต้องพิจารณาจากการกระทำของจำเลยโดยตรง
เช็คพิพาทที่จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมให้แก่ อ.มีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 อ.ไม่มีสิทธิที่จะทำได้ การออกเช็ครายนี้จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทโดยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว แม้ อ.จะโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมไม่ทราบว่ามีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การออกเช็คของจำเลยซึ่งไม่ผิดกฎหมายกลับเป็นผิดกฎหมายขึ้นมาอีก เพราะจำเลยจะรับผิดในทางอาญาต้องเป็นการกระทำของจำเลย มิใช่จะถือเอาข้อที่โจทก์ร่วมได้รับเช็คมาโดยไม่ทราบว่าเช็คดังกล่าวมีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่มาเป็นข้อกำหนดความผิดจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทดอกเบี้ยเกินอัตรา: การออกเช็คไม่เป็นความผิด หากดอกเบี้ยผิดกฎหมายตั้งแต่ต้น
เช็คพิพาทที่จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมให้แก่ อ. มีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 อ. ไม่มีสิทธิที่จะทำได้ การออกเช็ครายนี้จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทโดยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว แม้ อ. จะโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมไม่ทราบว่ามี ดอกเบี้ย เกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้ออกเช็คของจำเลยซึ่งไม่ผิดกฎหมายกลับเป็นผิดกฎหมายขึ้นมาอีกเพราะจำเลยจะรับผิดในทางอาญาต้องเป็นการกระทำของจำเลย มิใช่จะถือเอาข้อที่โจทก์ร่วมได้รับเช็คมาโดยไม่ทราบว่าเช็คดังกล่าวมี ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่มาเป็นข้อกำหนดความผิดจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทเกิดจากการข่มขู่และแจ้งอายัดธนาคาร การออกเช็คโดยไม่มีเจตนาให้ใช้เงิน ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทเพราะถูกข่มขู่ วันรุ่งขึ้นจำเลยได้ไปแจ้งอายัดต่อธนาคารมิให้จ่ายเงินตามเช็ค เป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยออกเช็คไปโดยไม่มีเจตนาที่จะให้นำเช็คไป เรียกเก็บเงิน ทั้งการที่จำเลยสั่งธนาคารมิให้จ่ายเงินตามเช็คก็มิใช่เป็นการทุจริต แม้ผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่ง & เช็คพิพาท: หนังสือมอบอำนาจไม่จำต้องระบุจำเลยโดยเฉพาะเจาะจง เช็คค้างชำระเป็นหนี้ค่าเช่าซื้อ
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นจำเลยหรือผู้ใด แม้หนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับคดีไม่ได้ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยทั้งสอง แต่ก็มีข้อความไว้แล้วว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแพ่งแทนและในนามของโจทก์ได้ ส. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทสิบเอ็ด ฉบับลงวันที่ล่วงหน้ามอบให้โจทก์เพื่อชำระราคาค่ารถขุดดินที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อจากโจทก์สำหรับงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาและธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินก่อนโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ เช็คดังกล่าวถือว่าเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์สำหรับเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระโจทก์เมื่อก่อนมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันและตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงกันไว้ว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ก่อนสัญญาเลิกกันให้โจทก์ จำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทและจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทซึ่งมีมูลหนี้มาจากค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้โจทก์ตามข้อสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีมูลหนี้ระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้ทรงก่อน หากไม่มีเจตนาฉ้อฉล
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์รับเช็คมาย่อมเป็นผู้ทรง มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ส.โดยไม่มีมูลหนี้ แต่เป็นการค้ำประกันในการที่จำเลยจัดตั้งบริษัทขึ้นคำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทกับ ส.ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 และที่จำเลยให้การว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส.ไปแล้ว แต่ด้วยอุบายและชั้นเชิงของ ส.จึงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คำให้การก็ไม่ชัดแจ้งว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร การที่ ส.ฝ่ายเดียวใช้อุบายและชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ และที่จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่า โจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คดีย่อมวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย หากไม่มีการโอนโดยฉ้อฉล
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์รับเช็คมาย่อมเป็นผู้ทรงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ส. โดยไม่มีมูลหนี้แต่เป็นการค้ำประกันในการที่จำเลยจัดตั้งบริษัทขึ้นคำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทกับ ส. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 และที่จำเลยให้การว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส. ไปแล้ว แต่ด้วยอุบายและชั้นเชิงของส. จึงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คำให้การก็ไม่ชัดแจ้งว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร การที่ ส. ฝ่ายเดียวใช้อุบายและชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ และที่จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่า โจทก์ไม่สุจริตอย่างไรคำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คดีย่อมวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้รับโอนเช็คพิพาทที่ได้มาโดยไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทมาจาก ฉ.โดยไม่มีมูลหนี้และโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) และปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญา เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันที่เช็คหลังการปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ถือเป็นการขยายอายุความฟ้องร้อง
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือซึ่งเดิม ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์2526 แม้จะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินไปแล้วก็ยังคงมีสภาพเป็นเช็คที่สามารถโอนเปลี่ยนมือกันต่อไปได้ ทั้งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคแรก และวรรคสาม ก็ได้บัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาใช้เงินในเช็คได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ขีดฆ่าแก้ไขวันที่ลงในเช็ค จึงต้องผูกพันรับผิดชดใช้เงินตามเช็คดังกล่าว โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินในวันที่ 15 ตุลาคม 2526 ตามที่แก้ไขนั้นกรณีหาใช่เป็นเรื่องตกลงขยายอายุความฟ้องร้องไม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คพิพาทจากจำเลย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2527ยังไม่พ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงิน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การแก้ไขวันเช็คไม่ถือเป็นการขยายอายุความ ผู้สั่งจ่ายผูกพันตามวันที่แก้ไข
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงมีสภาพเป็นเช็คที่สามารถโอนเปลี่ยนมือต่อไปได้ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคแรก และวรรคสามบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาใช้เงินในเช็คได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ขีดฆ่าแก้ไขวันที่ลงในเช็คพิพาทจึงต้องผูกพันรับผิดตามเช็คโดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินในวันที่แก้ไขนั้น และกรณีมิใช่การตกลงขยายอายุความฟ้องร้อง
of 26