พบผลลัพธ์ทั้งหมด 746 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2542 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบรถเช่าซื้อตามคำพิพากษา: สถานที่ส่งมอบ ณ ภูมิลำเนาจำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยกับพวกร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยกับพวกส่งมอบรถหรือชำระเงินที่ศาล ทั้งตามคำบังคับที่ศาลชั้นต้นออกให้ตามคำขอของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มิได้ระบุสถานที่ส่งมอบรถและสถานที่ใช้เงินไว้ด้วย กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 324
หนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อเป็นการชำระหนี้ทรัพย์เฉพาะสิ่ง จึงต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้นเมื่อปรากฏว่าหนี้ของจำเลยที่จะต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์เกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้คืน ซึ่งขณะนั้นรถอยู่ในความครอบครองของจำเลย จึงต้องส่งมอบรถกันณ ภูมิลำเนาของจำเลย
หนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อเป็นการชำระหนี้ทรัพย์เฉพาะสิ่ง จึงต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้นเมื่อปรากฏว่าหนี้ของจำเลยที่จะต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์เกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้คืน ซึ่งขณะนั้นรถอยู่ในความครอบครองของจำเลย จึงต้องส่งมอบรถกันณ ภูมิลำเนาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่ส่งมอบรถเช่าซื้อตามคำพิพากษา: ส่งมอบ ณ ภูมิลำเนาจำเลย ไม่ใช่ที่ศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อให้โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนจำนวน 70,000 บาท โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 กับพวกส่งมอบรถหรือชำระเงินที่ศาลทั้งตามคำบังคับที่ศาลชั้นต้นออกให้ตามคำขอของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็มิได้ระบุสถานที่ส่งมอบรถและสถานที่ใช้เงินไว้ด้วย กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 ที่กำหนดสถานที่ส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งว่าต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้นแต่ถ้าเป็นการชำระหนี้โดยประการอื่นจะต้องชำระ ณ สถานที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาปัจจุบันของเจ้าหนี้ เมื่อหนี้ตามคำพิพากษามีหนี้ที่ต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อซึ่งเป็นการชำระหนี้ทรัพย์เฉพาะสิ่งก็ต้องส่งมอบกัน ณ สถานที่ซึ่งทรัพย์นั้นได้อยู่ในเวลาเมื่อก่อให้เกิดหนี้นั้นปรากฏว่าหนี้ของจำเลยที่ 1ที่จะต้องส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์เกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้คืน ซึ่งขณะนั้นรถอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ก็ต้องส่งมอบรถกัน ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1ไม่ใช่ส่งมอบกันที่ศาล ศาลไม่จำต้องนัดพร้อมโจทก์และจำเลยที่ 1 เพื่อส่งมอบรถให้กันและไม่ต้องสั่งงดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าซื้อ และสิทธิในการริบเงินดาวน์ หากผู้เช่าซื้อผิดนัด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ที่จำเลยทั้งสาม ขายให้โจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีสภาพบกพร่อง เป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติดังนี้ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาซื้อขายที่มีสภาพบกพร่องให้แก่โจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และมีคำขอบังคับให้จำเลยคืนเงิน 70,000 บาท ที่รับไปจากโจทก์และชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยให้การรับว่า ได้ขายรถยนต์ให้แก่โจทก์และรับเงินจากโจทก์จริง แต่ต่อสู้ว่าจำเลยไม่จำต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เพราะโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญา ซื้อขายนั้นแล้ว โดยโจทก์เปลี่ยนใจเช่าซื้อรถยนต์คันใหม่ จากจำเลยและยอมให้ถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้น เป็นส่วนหนึ่ง ของค่าเช่าซื้อ และโจทก์ยังเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ เป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหาย แก่จำเลย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์กับคำให้การ และฟ้องแย้งของจำเลยจึงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ซื้อรถยนต์ จากจำเลยแล้วชำระราคาบางส่วนเป็นเงิน 70,000 บาท คงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายต้องรับผิดคืนเงินจำนวน 70,000 บาท และชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ หรือโจทก์กับจำเลยตกลงเลิกสัญญาซื้อขายแล้วเปลี่ยนมาผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้อ โดยโจทก์เช่าซื้อรถยนต์คันใหม่จากจำเลยและถือเอาเงิน 70,000 บาทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าซื้อ แล้วโจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสามมีสิทธิรับเงิน70,000 บาท และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ดังนั้นเมื่อโจทก์กับจำเลยมีข้อพิพาทโดยตรงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกเงิน 70,000 บาท คืนจากจำเลยหรือไม่ แม้จะมีข้อเรียกร้องอื่น เกี่ยวกับค่าเสียหายที่ต่างฝ่ายยกขึ้นเป็นข้ออ้างข้อเถียง ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเงินจำนวน 70,000 บาทนั้นเอง ฉะนั้น คำฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่ามีสิทธิริบเงิน 70,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม จึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ให้เช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำผิดของผู้เช่าซื้อ และมีสิทธิรับชำระค่าเช่าซื้อจนกว่าจะผิดสัญญา
ผู้ร้องเป็นเพียงบริษัทที่มีวัตถุประสงค์นำรถจักรยานยนต์ออกให้เช่าซื้อเท่านั้น เมื่อผู้นำรถจักรยานยนต์ไปใช้ในการกระทำผิดคือจำเลยที่ 2 เพื่อนของบุตรชาย พ.ผู้เช่าซื้อซึ่งได้ยืมรถจักรยานยนต์ไปใช้ในการกระทำความผิดโจทก์เองก็นำสืบไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 จึงฟังได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ส่วนการที่หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบจักรยานยนต์ของกลางแล้วผู้ร้องยังรับชำระค่าเช่าซื้ออีก 9 งวดนั้น ก็เป็นสิทธิของผู้ร้องที่จะรับชำระค่าเช่าซื้อไว้ ผู้ร้องไม่จำเป็น ที่จะต้องบอกเลิกสัญญาและติดตามเอารถจักรยานยนต์ ของกลางคืน และมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนได้ จะถือว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังภาพถ่ายเอกสารเป็นหลักฐาน และการชดใช้ค่าเสียหายกรณีเช่าซื้อรถยนต์
หนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลและผู้เป็นกรรมการโจทก์นายทะเบียนจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความซึ่งลงทะเบียนในย่อเอกสารนั้นเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามที่ได้บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022ดังนั้น แม้โจทก์จะส่งแต่ภาพถ่ายเอกสารก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์เสียไปหนังสือฉบับนี้เป็นภาพถ่ายหนังสือรับรองออกโดยสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ต้นฉบับอยู่ในอารักขาของราชการ ซึ่งหนังสือรับรองที่ถ่ายภาพมามีนายทะเบียนสำนักงานทะเบียนลงลายมือชื่อและประทับตราไว้ ย่อมเพียงพอที่จะรับฟังภาพถ่ายฉบับนี้แทนต้นฉบับเอกสารได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัดชำระ: ไม่มีเหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากที่จำเลยได้รับรถไปตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเพียง 12 งวด และผิดนัดไม่ชำระตั้งแต่งวดที่13 เป็นต้นมาจนถึงวันฟ้อง โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว การผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปถึงเรื่องรายละเอียดของค่าเสียหาย ส่วนคำขอท้ายฟ้องเป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์คืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ ลักษณะคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องเช่นนี้ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่า จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อทั่วไปเท่านั้น คดีจึงไม่มีกรณีที่จำเลยต้องชำระค่าเสียหายแม้จะเกิดจากเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ โดยคำฟ้องไม่ได้ระบุถึงเหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากที่จำเลยได้รับรถไปตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเพียง 12 งวดและผิดนัดไม่ชำระตั้งแต่งวดที่ 13 เป็นต้นมาจนถึงวันฟ้องโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว การผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปถึงเรื่องรายละเอียดของค่าเสียหาย ส่วนคำขอท้ายฟ้องเป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์คืนหรือชดใช้ราคาทรัพย์ ลักษณะคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องเช่นนี้ เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่าจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อทั่วไปเท่านั้น คดีจึงไม่มีกรณีที่จำเลยต้องชำระค่าเสียหายแม้จะเกิดจากเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ให้เช่าซื้อในการจัดการจดทะเบียนรถยนต์ให้ถูกต้อง เพื่อให้ผู้เช่าซื้อสามารถใช้รถยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่ดำเนินการ ผู้ให้เช่าซื้อถือเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์และเป็นผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ย่อมมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่จำเลยผู้เช่าซื้อเพื่อให้จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อ รวมทั้งให้จำเลยสามารถขับรถยนต์นั้นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการให้จำเลยผู้เช่าซื้อได้ใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อตามวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 537 และ 546 โจทก์จึงมีหน้าที่ในการจัดการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายเลขเครื่องยนต์ของรถยนต์ที่ตนเป็นเจ้าของอยู่ให้ถูกต้อง เพื่อให้จำเลยสามารถใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อได้โดยไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยเมื่อจำเลยแจ้งให้โจทก์จัดการทะเบียนแก้ไขหมายเลขเครื่องยนต์แล้ว แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยจึงไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ตั้งแต่นั้น จำเลยย่อมมิใช่ฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ให้เช่าซื้อในการจดทะเบียนแก้ไขหมายเลขเครื่องยนต์ เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้รถยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์และเป็นผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ย่อมมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่จำเลยผู้เช่าซื้อเพื่อให้จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อ รวมทั้งให้จำเลยสามารถขับรถยนต์นั้นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการให้จำเลยผู้เช่าซื้อได้ใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่าซื้อตามวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 537 และ 546 โจทก์จึงมีหน้าที่ในการจัดการจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายเลขเครื่องยนต์ของรถยนต์ที่ตนเป็นเจ้าของอยู่ให้ถูกต้อง เพื่อให้จำเลยสามารถใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อได้โดยไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วย เมื่อจำเลยแจ้งให้โจทก์จัดการทะเบียนแก้ไขหมายเลขเครื่องยนต์แล้ว แต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยจึงไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ตั้งแต่นั้นจำเลยย่อมมิใช่ฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอำนาจฟ้องในคดีเช่าซื้อ: มูลหนี้ต่างกันและวัตถุประสงค์ของโจทก์
แม้พนักงานอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิด ฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์สี และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ที่ยักยอกไป การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหาย ที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญาแม้จะถือว่า เป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา เท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สี ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง ถึงแม้คำขอบังคับ จะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์สีหรือใช้ราคา แต่ข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการ ขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น เป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้าง เนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อในเมื่อมูลหนี้ ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประกอบกับคำฟ้อง ของโจทก์ กรณีของการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของ คู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญา ไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้าง ในคำขอส่วนแพ่งได้จึงมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน ในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน หนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 ระบุว่า ขาย โอน จำนองจำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สินโดยประการอื่นและข้อ 8 ระบุว่า ประกอบกิจการค้า เครื่องจักร เครื่องยนต์เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง ยานพาหนะ เครื่องกำเนิด และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ การที่โจทก์ให้เช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สีอันเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือเป็นการจำหน่าย ทรัพย์สินโดยประการอื่นและเป็นการประกอบกิจการค้าตามความหมาย ในหนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 และข้อ 8 จึงเป็นการกระทำซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้