คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครองจากอาศัยสิทธิผู้อื่นเป็นเจ้าของ และการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
เจ้าของโฉนดที่ดินพิพาทได้จำนำโฉนดที่ดินพิพาทไว้แก่บุคคลอื่นการที่ มารดา ของผู้คัดค้านซึ่งอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินได้ไถ่โฉนดที่ดินพิพาทแทนเจ้าของโฉนดยังไม่อาจฟังว่าเป็นการแสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงการครอบครองที่ดินพิพาทจากการอาศัยสิทธิของผู้อื่นเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง เพราะอาจเป็นการไถ่โดยเจตนาที่จะอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ถือว่ามารดาของผู้คัดค้านและผู้คัดค้านครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินดังนั้นแม้ว่าจะครอบครองมานานเพียงใด ผู้คัดค้านย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5425/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช่าซื้อและการรับผิดในสัญญาเช่าซื้อเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าซื้อ
ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบ จำเลยที่ 1อาจโอนสิทธิในทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่ผู้อื่นได้ แต่จำเลยที่ 1 ยังมีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์อยู่หาพ้นความรับผิดไม่ เว้นแต่จะได้มีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 การที่บริษัทส. ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมลงชื่อในแบบพิมพ์เปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อ กับให้จำเลยร่วมลงชื่อในแบบพิมพ์คำร้องขอเช่าซื้อรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อกับจำเลยร่วม สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ยังไม่ระงับและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1
จำเลยร่วมมิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยร่วม อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่จำเลยร่วมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุผลชัดเจนว่าหากเปิดโอกาสต่อสู้คดีแล้วผลจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยอ้างว่า หากจำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีมาแต่แรก คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะต้องเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากจำเลยมิได้เป็นหนี้ตามจำนวนที่ฟ้อง เพราะได้ชำระ เงินต้นและดอกเบี้ยบางส่วนให้แก่โจทก์แล้ว ทั้งการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการกล่าวอ้างแต่เพียงว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่เกินจำนวนหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงในอันที่จะแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่า หากพิจารณาใหม่แล้ว ศาลจะพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว ส่วนที่จำเลยอ้างว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยก็ไม่ได้อ้างว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังนี้ คำร้อง ของ จำเลยไม่กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 จึงไม่มีเหตุที่จะขอให้พิจารณาใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาที่เปลี่ยนแปลง การส่งทางประกาศชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่สามารถส่งตามภูมิลำเนาเดิมได้
โจทก์ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยตามภูมิลำเนาในคำฟ้องตามที่จำเลยระบุไว้ในสัญญากู้เงิน แต่การส่ง ณสถานที่ดังกล่าวไม่อาจกระทำได้เพราะจำเลยย้ายภูมิลำเนาและโจทก์ไม่อาจค้นหาภูมิลำเนาใหม่ได้ เพราะไม่ปรากฎว่าจำเลยได้แจ้งย้ายเข้าและย้ายออกจากบ้านที่แจ้งไว้โดยทางทะเบียนจึงเป็นกรณีที่ไม่อาจส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยได้ การที่ศาลมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลย โดยวิธีประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ตามที่โจทก์ขอ จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงใหม่แทนที่สัญญาเดิมได้ หากทำโดยความสมัครใจและมีอำนาจใช้ดุลพินิจ
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้ดำเนินการตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลสั่งให้นัดพร้อมในวันนัดพร้อม โจทก์ จำเลย ทนายโจทก์ ทนายจำเลยมาศาล โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยในศาลมีข้อความว่า โจทก์จำเลยไม่อาจบังคับตามข้อ 2ของสัญญาประนีประนอมยอมความจึงให้บังคับตามข้อ 1 แทน ศาลได้บันทึกข้อความดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าข้อตกลงกันใหม่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ และจำเลยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงกันใหม่หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องตรงกับตำแหน่งผู้มีอำนาจ ณ ขณะเกิดเหตุ แม้ฟ้องโดยระบุตำแหน่ง แต่ผู้ดำรงตำแหน่งเปลี่ยนไปแล้ว ถือไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้าในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว การฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งออกโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลต่อไปถึงจำเลยอื่นด้วย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำให้การในชั้นอุทธรณ์ต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา หากยื่นหลังถือเป็นข้อจำกัดตามกฎหมาย
จำเลยที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงคำให้การเดิมของตนย่อมทำได้ด้วยการขอแก้หรือเพิ่มคำให้การ ซึ่งจะต้องยื่นคำร้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสอง ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าวก็หาทำให้การพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ต้องเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำให้การหลังศาลชั้นต้นพิพากษา เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงคำให้การเดิมของตนย่อมทำได้ด้วยการขอแก้หรือเพิ่มคำให้การ ซึ่งจะต้องยื่นคำร้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสอง ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าวก็หาทำให้การพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ต้องเสียไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงมติของราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะกระทบสิทธิคู่สัญญาเดิม ก็ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
บริษัทขนส่ง จำกัด ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการขนส่งทางบกได้ทำสัญญาให้โจทก์เข้าปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ (ตลาดหมอชิต)ของบริษัทขนส่ง จำกัด แต่บริษัทขนส่ง จำกัด ไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทำการก่อสร้างได้ เนื่องจากกรมธนารักษ์โต้แย้งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะกรมการขนส่งทางบก จึงไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้บริษัทขนส่ง จำกัด ทำสัญญา กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลังกรมการขนส่งทางบก กรมธนารักษ์ และบริษัทขนส่ง จำกัด ได้ร่วมประชุมและมีมติให้กรมการขนส่งทางบก มอบที่ดินดังกล่าวคืน กระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการถอนสภาพการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ให้เป็นที่ดินราชพัสดุที่ใช้ในการจัดหาประโยชน์ เพื่อที่จะให้กรมธนารักษ์พิจารณาให้โจทก์มีสิทธิปลูกสร้างและรับประโยชน์ตอบแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทขนส่ง จำกัด ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคม พิจารณาเห็นว่ามติดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่นได้การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเรื่องขอที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ในฐานะรองอธิบดีกรมธนารักษ์ รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อ กระทรวงคมนาคม จะได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกนำที่ดินบริเวณสถานีขนส่งตลาดหมอชิตทั้งหมด รวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวไปดำเนินการตามโครงการที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศ เบลเยี่ยม เสนอ อันจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการมากกว่าที่จะแบ่งให้โจทก์ไปทำการปรับปรุงแต่เพียงบางส่วนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงหาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามทุจริตอย่างไร คดีโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าอากรขาออกสำเร็จแล้ว ไม่อต้องชำระเพิ่มเติม แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ตรี วรรคแรก มีความหมายว่า ผู้ส่งของออกจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่ส่งออกก็ต่อเมื่อได้ส่งออกก็ต่อเมื่อได้ส่งของออกสำเร็จ หากส่งของออกไม่สำเร็จก็ไม่ต้องเสียค่าภาษี ดังนั้น ในกรณีผู้ส่งของออกเสียค่าภาษีไว้ก่อนส่งของออกสำเร็จ แต่ภายหลังกลับปรากฏว่า ไม่สามารถส่งของออกได้สำเร็จ ผู้ส่งของออกย่อมมีสิทธิขอคืนค่าภาษีที่ชำระไปแล้วได้ตามวรรคสามของมาตราเดียวกันนี้ ส่วนการชำระภาษีนั้นผู้ส่งของออกมักจะต้องชำระก่อนที่จะส่งของออกสำเร็จวรรคสองของมาตรา 10 ตรี จึงบัญญัติให้คำนวณค่าภาษีตามสภาพของราคาของและพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ เมื่อผู้ส่งของออกชำระค่าภาษีครบถ้วนในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้แล้ว ก็ไม่มีหน้าที่ต้องเสียค่าภาษีเพิ่มเติมหากมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ ทั้งไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าภาษีคืนในกรณีที่มีการลดหรือยกเว้นค่าภาษีในขณะที่ส่งของออกสำเร็จ
จำเลยชำระค่าอากรขาออกสินค้ายางพาราแผ่นรมควันครบถ้วนถูกต้องในขณะที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ออกใบขนสินค้าให้จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรขาออกเพิ่มเติมเมื่อมีการขึ้นค่าภาษีในขณะส่งของออกสำเร็จ
of 40