พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681-682/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนที่ดินที่บุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยบุตรไม่ได้เป็นคู่ความ ศาลจำกัดผลกระทบของคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินซึ่งมีชื่อบุตรจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่บุตรจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดี กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลจะพิพากษาหรือสั่งใดๆ ให้ผูกพันบุตรของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย แม้ทรัพย์นั้นจะพังเสียหายโดยเหตุสุดวิสัย ผู้รับโอนไม่ต้องรับผิดชดใช้ราคา
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งผู้ล้มละลายโอนทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นไป ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ที่โอนนั้นพังสลายไปแล้ว โดยถูกพายุพัดพังซึ่งเห็นได้ว่าถึงอย่างไรก็ต้องพังสลายไปผู้รับโอนย่อมไม่ต้องรับผิดชดใช้ราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน การเพิกถอนการโอน และค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้น
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้ว ต่อมาตกลงกันให้ผู้อื่นเป็นผู้ซื้อดังนี้ถือว่าเลิกสัญญาเดิม และเกิดสัญญาขึ้นใหม่ตามที่ตกลงกันนั้น
ปรากฎว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอนดังนี้ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฎว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตามมาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องในบังคับตามาตรา 213
ตาม ม. 1336 และรัฐธรรมนูญ นั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอน ตามความพอใจของตน นอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ม. 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตน แล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 - 3 ดังนี้ ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม ม. 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม ม. 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตกมาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่ง ผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่น ศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น
ปรากฎว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอนดังนี้ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฎว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตามมาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องในบังคับตามาตรา 213
ตาม ม. 1336 และรัฐธรรมนูญ นั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอน ตามความพอใจของตน นอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ม. 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตน แล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 - 3 ดังนี้ ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม ม. 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม ม. 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตกมาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่ง ผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่น ศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, และการเพิกถอนการโอนที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้วต่อมาตกลงกันให้ผู้อื่นเป็นผู้ซื้อดังนี้ ถือว่าเลิกสัญญาเดิม และเกิดสัญญาขึ้นใหม่ตามที่ตกลงกันนั้น
ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอน ดังนี้ ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฏว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213
ตามมาตรา 1336 และรัฐธรรมนูญนั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอนตามความพอใจของตนนอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน มาตรา 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตนแล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2-3 ดังนี้ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม มาตรา 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม มาตรา 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตาม มาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่งผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่นศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น
ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอน ดังนี้ ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฏว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213
ตามมาตรา 1336 และรัฐธรรมนูญนั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอนตามความพอใจของตนนอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน มาตรา 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตนแล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2-3 ดังนี้ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม มาตรา 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม มาตรา 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตาม มาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่งผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่นศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนมรดกเนื่องจากผู้รับโอนไม่สุจริต และสิทธิของผู้อื่น
ที่ดินมฤดกปกครองลงทำด้วยกัน ผู้รับมฤดกลอบไปประกาศรับมฤดกแล้วโอนให้แก่บุคคลภายนอกโดยบุคคลภายนอกรับโอนไว้โดยไม่สุจริต ผู้รับมฤดกอีกคน 1 ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ตามประมวลแพ่ง ฯ ม.1300 แต่ทั้งนี้ไม่กะทบกะเทือนถึงการโอนระหว่างจำเลยทั้งสองเท่าที่สิทธิของจำเลยมีอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดโอนทะเบียนที่ดินไม่ทำให้เกิดความเสียหาย หากศาลเพิกถอนการโอนแล้ว ผู้โอนและผู้รับโอนจึงไม่ได้รับความเสียหาย
เจ้าพนักงานที่ดินไม่โอนทะเบียนที่ดินให้โดยเจ้าหนี้ของผู้โอนขออายัดไว้ภายหลังศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนแล้ว ย่อมถือว่าผู้โอนและผู้รับโอนไม่ได้ข้อความเสียหายจากการโอนนั้น
การที่เจ้าพนักงานไม่ย่อมโอนทะเบียนที่ดินให้ย่อมไม่ทำให้เกิดเสียหายแก่การเข้าครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดิน
การที่เจ้าพนักงานไม่ย่อมโอนทะเบียนที่ดินให้ย่อมไม่ทำให้เกิดเสียหายแก่การเข้าครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ที่เกิดจากการฉ้อฉล แม้ศาลมีคำพิพากษาให้โอนทรัพย์แล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องได้
ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้โจทก์โอนทรัพย์ให้แก่บุคคลภายนอกแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตามประมวลแพ่ง ฯ ม.237 ได้สัญญาทางพระราชไมตรีระวางสยามอังกฤษ
ฎีกา ข้อเท็จจริง คดีระหว่างคนบังคับอังกฤษซึ่งได้ยื่นฎีกาภายหลังวันที่สละสิทธิถอนคดีนั้น ย่อมฎีกาได้ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
ฎีกา ข้อเท็จจริง คดีระหว่างคนบังคับอังกฤษซึ่งได้ยื่นฎีกาภายหลังวันที่สละสิทธิถอนคดีนั้น ย่อมฎีกาได้ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย แม้ผู้รับโอนสุจริตแต่มีส่วนร่วมยักย้ายทรัพย์สิน ยึดหลักสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 (จำเลย) ไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 4 ก่อนที่โจทก์จะฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 เป็นคดีล้มละลายประมาณ 5 เดือนเศษ และต่อมาผู้คัดค้านที่ 4 ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 อันเป็นการทำให้เจ้าหนี้ของผู้คัดค้านที่ 1 เสียเปรียบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 237 ถือเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีล้มละลายคดีนี้เอง ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แต่จะนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) มาใช้บังคับในกรณีไม่ได้
ส่วนการเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน การโอนนั้นก็ยังชอบด้วยกฎหมายอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
ส่วนการเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน การโอนนั้นก็ยังชอบด้วยกฎหมายอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การใช้กฎหมายล้มละลายก่อนและหลังฉบับแก้ไข
พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 มาตรา 2 บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา 27 บัญญัติว่า ให้ยกเลิกความในมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน... และมาตรา 34 บัญญัติว่า บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล หรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 เดิม ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 บัญญัติว่า การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นได้เว้นแต่ผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์จะแสดงให้พอใจศาลว่าการโอนหรือการกระทำนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2542 ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2542 เป็นต้นไป เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายคดีนี้ในวันที่ 16 ตุลาคม 2538 ส่วนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านทั้งสองกระทำขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2536 และผู้ร้องยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2544 ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นการกระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย คดีนี้จึงเป็นคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วก่อนที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 จะมีผลใช้บังคับ คดีระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านทั้งสองจึงต้องใช้บทบัญญัติตามมาตรา 114 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 จะมีผลใช้บังคับ