พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาซื้อขายข้าวและการคืนทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
การเลิกสัญญา คู่สัญญาจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมกันอย่างไรนั้นต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป สำหรับข้าวที่โจทก์ได้รับมาจากจำเลย และค่าข้าวที่จำเลยได้รับชำระไปจากโจทก์เป็นทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาที่คู่สัญญาได้รับไว้จากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์และจำเลยจะต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินค่าข้าวที่จะต้องคืนให้แก่โจทก์ตามมาตรา 391 วรรคสอง ด้วย
เงินค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวนั้นมิใช่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาที่โจทก์และจำเลยรับไว้ตามสัญญา และหากได้มีการปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยได้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลย ทั้งค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวก็มิใช่การงานที่คู่สัญญาได้ทำให้แก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวจึงตกเป็นพับแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวระหว่างที่ข้าวยังเป็นของโจทก์เช่นนี้ก่อนโจทก์ส่งมอบข้าวให้แก่จำเลย โจทก์จึงต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวด้วย
โจทก์เป็นฝ่ายผู้ซื้อ ตามปกติโจทก์จะชำระค่าข้าวด้วยเงินของโจทก์เอง หากโจทก์ไม่มีเงินและต้องไปกู้เงินบุคคลภายนอกซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยมาชำระก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์โดยเฉพาะ หาเกี่ยวข้องกับจำเลยไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าข้าวทั้งหมดให้จำเลย โจทก์จึงตกลงออกหนังสือรับรองให้จำเลยนำข้าวไปจำนำไว้แก่ธนาคารโดยโจทก์ยินยอมเป็นผู้ชำระดอกเบี้ย ซึ่งถ้าหากมีการปฏิบัติตามสัญญาไปครบถ้วน โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกเงินดอกเบี้ยนี้กลับคืนจากจำเลยไม่ และคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินดอกเบี้ยได้ เมื่อจำเลยไม่ต้องคืนเงินดอกเบี้ยดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในเงินดอกเบี้ยเช่นว่านั้นให้แก่โจทก์ด้วย
เงินค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวนั้นมิใช่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาที่โจทก์และจำเลยรับไว้ตามสัญญา และหากได้มีการปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยได้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลย ทั้งค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวก็มิใช่การงานที่คู่สัญญาได้ทำให้แก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวจึงตกเป็นพับแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวระหว่างที่ข้าวยังเป็นของโจทก์เช่นนี้ก่อนโจทก์ส่งมอบข้าวให้แก่จำเลย โจทก์จึงต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวด้วย
โจทก์เป็นฝ่ายผู้ซื้อ ตามปกติโจทก์จะชำระค่าข้าวด้วยเงินของโจทก์เอง หากโจทก์ไม่มีเงินและต้องไปกู้เงินบุคคลภายนอกซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยมาชำระก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์โดยเฉพาะ หาเกี่ยวข้องกับจำเลยไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าข้าวทั้งหมดให้จำเลย โจทก์จึงตกลงออกหนังสือรับรองให้จำเลยนำข้าวไปจำนำไว้แก่ธนาคารโดยโจทก์ยินยอมเป็นผู้ชำระดอกเบี้ย ซึ่งถ้าหากมีการปฏิบัติตามสัญญาไปครบถ้วน โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกเงินดอกเบี้ยนี้กลับคืนจากจำเลยไม่ และคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินดอกเบี้ยได้ เมื่อจำเลยไม่ต้องคืนเงินดอกเบี้ยดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในเงินดอกเบี้ยเช่นว่านั้นให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อ แม้สัญญาเลิกกันแล้วหนี้ตามเช็ดยังคงมีอยู่ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์ได้กรอกข้อความในสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทตรงตามข้อตกลงระหว่างจำเลยกับโจทก์ และเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายซึ่งจำเลยทราบดีว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์ในวันใด เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดชำระเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ซึ่งตามวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันสิ้นสุดทันที สัญญาเช่าซื้อที่ทำกันไว้จึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่ไม่กระทบถึงสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม ปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อในขณะมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทซึ่งจ่ายชำระเงินค่าเช่าซื้องวดแรกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกัน แต่มูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ หาได้ระงับหรือสิ้นผลผูกพันไปไม่ หาใช่เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจะทำให้มูลหนี้ในคดีสิ้นความผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ คดีจึงยังไม่เลิกกัน
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันสิ้นสุดทันที สัญญาเช่าซื้อที่ทำกันไว้จึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่ไม่กระทบถึงสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม ปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อในขณะมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทซึ่งจ่ายชำระเงินค่าเช่าซื้องวดแรกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกัน แต่มูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ หาได้ระงับหรือสิ้นผลผูกพันไปไม่ หาใช่เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจะทำให้มูลหนี้ในคดีสิ้นความผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ คดีจึงยังไม่เลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อ แม้สัญญาเลิกแล้วหนี้ยังไม่ระงับ จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์ได้กรอกข้อความในสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทตรงตามข้อตกลงระหว่างจำเลยกับโจทก์ และเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 1ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายซึ่งจำเลยทราบดีว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงินตามเช็ค พิพาทให้โจทก์ในวันใด เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดชำระเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธ การจ่ายเงิน ซึ่งตามวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันสิ้นสุดทันที สัญญาเช่าซื้อที่ทำกันไว้จึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่ไม่กระทบถึงสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม ปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อในขณะมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทซึ่งจ่ายชำระเงินค่าเช่าซื้องวดแรกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกันแต่มูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่หาได้ระงับหรือสิ้นผลผูกพันไปไม่ หาใช่เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจะทำให้มูลหนี้ในคดีสิ้นความผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ คดีจึงยังไม่เลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4772/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย การชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงงวด และค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันหรือปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดให้สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกัน หรือโจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ แต่โจทก์ยอมรับชำระค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ตรงตามงวดโดยที่โจทก์มิได้โต้แย้ง แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอางวดหรือระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสิ่งสำคัญในการชำระค่าเช่าอันเป็นการทำให้ผิดสัญญาเช่าซื้อ ถือว่าจำเลยที่ 1 ยังมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์ยึดรถยนต์สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่เลิกกัน ต่อมาโจทก์ยึดรถยนต์คืนโดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยที่ 1 รับผิดเพียงชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายสิทธิเช่า: โจทก์มีสิทธิเลิกสัญญาและริบเบี้ยปรับได้
จำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจาก บ.แล้วทำสัญญาจะขายสิทธิการเช่าตึกนั้นให้แก่โจทก์ ในวันโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทนั้น โจทก์เตรียมแคชเชียร์เช็คจำนวนเงิน 530,000 บาท พร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลยตามสัญญา ณ เวลาที่กำหนดกล่าวคือ แคชเชียร์เช็คได้ระบุวันสั่งจ่ายก่อนถึงกำหนดการโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาท2 วัน แสดงให้เห็นว่าโจทก์พร้อมที่จะปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาต่อจำเลยครบถ้วนแล้ว แต่เหตุที่ไม่ได้โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทต่อกันเนื่องจากจำเลยขอให้เพิ่มเติมข้อความลงในสัญญาเช่าเดิมระหว่างจำเลยกับ บ.ว่า เมื่อโจทก์รับโอนสิทธิการเช่าแล้ว หากสัญญาเช่าสิ้นสุดผู้เช่าต้องออกจากสถานที่เช่าทันที ถ้าไม่ออกจะต้องถูกปรับเป็นรายวัน ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มภาระและความรับผิดแก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่ตกลงกำหนดกันไว้ในสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ชำระหนี้ด้วยการโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ตามเวลาที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 388
ในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความว่า เพราะการที่จำเลยต้องย้ำให้โจทก์ทราบว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเดิมแล้วโจทก์ต้องออกจากตึกพิพาทนั้นเนื่องจากจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกดังกล่าวนี้จาก บ.แล้ว โจทก์จะได้ทราบว่าโจทก์จะต้องต่อสัญญาหรือชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยมิใช่ บ.แล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยในการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำมาวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยรับฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์เนื่องจากจำเลยจะขอปรับเป็นรายวันเกินกว่ากำหนดในสัญญาเช่าเดิมเป็นการเพิ่มข้อตกลง อันเป็นการที่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาแล้วจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนโดยชอบแล้ว
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการเช่าตึกพิพาทระบุว่าถ้าผู้รับซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อหนึ่งผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำ แต่ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดในข้อหนึ่ง ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้ และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีก 600,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดเรื่องค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยชอบโดยบอกกล่าวแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบเบี้ยปรับนั้นได้โดยจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 และมาตรา 380และเมื่อเป็นเบี้ยปรับแล้วศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่แท้จริงโดยพยานหลักฐานอันใดอีก เพราะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นไปตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์จะพิสูจน์ไม่ได้ถึงเรื่องการสั่งทำเฟอร์นิเจอร์ของโจทก์อันเป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยย่อมต้องรับผิดในเรื่องเบี้ยปรับต่อโจทก์อยู่ดี เพียงแต่ว่าถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความว่า เพราะการที่จำเลยต้องย้ำให้โจทก์ทราบว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเดิมแล้วโจทก์ต้องออกจากตึกพิพาทนั้นเนื่องจากจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายตึกดังกล่าวนี้จาก บ.แล้ว โจทก์จะได้ทราบว่าโจทก์จะต้องต่อสัญญาหรือชำระค่าเช่าให้แก่จำเลยมิใช่ บ.แล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยในการคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วนำมาวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน โดยรับฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์เนื่องจากจำเลยจะขอปรับเป็นรายวันเกินกว่ากำหนดในสัญญาเช่าเดิมเป็นการเพิ่มข้อตกลง อันเป็นการที่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้ง ๆ ที่โจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญาแล้วจึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานในสำนวนโดยชอบแล้ว
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายสิทธิการเช่าตึกพิพาทระบุว่าถ้าผู้รับซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อหนึ่งผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบมัดจำ แต่ถ้าผู้จะขายผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนขายตามกำหนดในข้อหนึ่ง ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญานี้ และยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีก 600,000 บาท อีกส่วนหนึ่งด้วย ดังนี้ ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดเรื่องค่าเสียหายที่คู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา และโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาโดยชอบโดยบอกกล่าวแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบเบี้ยปรับนั้นได้โดยจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 และมาตรา 380และเมื่อเป็นเบี้ยปรับแล้วศาลฎีกาเห็นว่าโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายที่แท้จริงโดยพยานหลักฐานอันใดอีก เพราะได้กำหนดกันไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นไปตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 380 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์จะพิสูจน์ไม่ได้ถึงเรื่องการสั่งทำเฟอร์นิเจอร์ของโจทก์อันเป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่จำเลยย่อมต้องรับผิดในเรื่องเบี้ยปรับต่อโจทก์อยู่ดี เพียงแต่ว่าถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขอนุมัติสินเชื่อ การเลิกสัญญาและคืนมัดจำ
สัญญาจะซื้อขายมีข้อความว่า ส่วนเงินที่เหลืออีก 1,850,000บาท จะจ่ายในเมื่อทางธนาคารอนุมัติให้ ไม่ได้กำหนดให้เห็นต่อไปว่าหากธนาคารไม่อนุมัติให้จะมีผลเป็นอย่างไร การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่า หากธนาคารอนุมัติเงินกู้แก่โจทก์ไม่ครบ 1,850,000 บาท ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายเลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสารไม่ใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงว่า หากธนาคารอนุมัติเงินกู้แก่โจทก์ไม่ครบ 1,850,000 บาท ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายเลิกกัน เมื่อต่อมาธนาคารอนุมัติให้โจทก์กู้เงินได้เพียง 1,000,000 บาท ไม่ถึงจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาโดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของฝ่ายใด สัญญาจะซื้อขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยก็ต้องคืนมัดจำที่รับไว้ให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จะริบเสียมิได้
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงว่า หากธนาคารอนุมัติเงินกู้แก่โจทก์ไม่ครบ 1,850,000 บาท ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายเลิกกัน เมื่อต่อมาธนาคารอนุมัติให้โจทก์กู้เงินได้เพียง 1,000,000 บาท ไม่ถึงจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาโดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของฝ่ายใด สัญญาจะซื้อขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยก็ต้องคืนมัดจำที่รับไว้ให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จะริบเสียมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยปริยาย เนื่องจากการต่างฝ่ายต่างไม่พร้อมชำระหนี้
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีโฉนด เนื้อที่ประมาณ3,400 ตารางวา ในราคา 18,360,000 บาท มีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องถมที่ดินทั้งแปลง ทำถนนลาดยางเข้าสู่ที่ดินจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้า 3 สายจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย แบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อขายออกเป็น6 โฉนด และจดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกมีทางออกสู่ทางสาธารณะและมีข้อตกลงอื่นอีก ส่วนโจทก์จะชำระราคาส่วนที่เหลือในวันนัดไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากโจทก์ผิดนัดยอมให้จำเลยทั้งสองริบเงินมัดจำแต่ถ้าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัด จำเลยยอมคืนเงินมัดจำและยอมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน3,672,000 บาท ในวันครบกำหนดที่โจทก์และจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา จำเลยมิได้ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าเข้าไปยังที่ดินที่จะซื้อขายกันไว้ตามสัญญา และจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกออกไปมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ และในวันนัดไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา ทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างก็ไม่พร้อมที่จะปฏิบัติชำระหนี้ตามสัญญาสัญญาจะซื้อขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทั้งสองต่างมีหนี้ที่จะชำระเป็นการตอบแทนกัน เมื่อโจทก์ไม่พร้อมที่จะชำระหนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ และเมื่อต่างฝ่ายต่างมิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ อีกฝ่ายหนึ่งจึงหาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยคืนมัดจำและชำระค่าปรับตามสัญญา โดยมิได้เรียกร้องให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา และจำเลยให้การต่อสู้ว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยมิได้ฟ้องแย้งให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือถือว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันจำเลยต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การไม่พร้อมชำระหนี้ของทั้งสองฝ่ายทำให้สัญญาเลิกกันโดยปริยาย
โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ประมาณ 3,400 ตารางวา ในราคา 18,360,000 บาท มีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องถมที่ดินทั้งแปลง ทำถนนลาดยางเข้าสู่ที่ดินจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้า 3 สายจนถึงหน้าที่ดินที่จะซื้อขาย แบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อขายออกเป็น 6 โฉนด และจดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกมีทางออกสู่ทางสาธารณะและมีข้อตกลงอื่นอีก ส่วนโจทก์จะชำระราคาส่วนที่เหลือในวันนัดไปจด ทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากโจทก์ผิดนัดยอมให้จำเลยทั้งสองริบเงินมัดจำแต่ถ้าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัด จำเลยยอมคืนเงินมัดจำและยอมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน 3,672,000 บาท ในวันครบกำหนดที่โจทก์และจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจำเลยมิได้ปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าเข้าไปยังที่ดิน ที่จะซื้อขายกันไว้ตามสัญญา และจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมทางเดินเพื่อให้ที่ดินที่แบ่งแยกออกไปมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ และ ในวันนัดไปจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา ทั้งฝ่ายโจทก์ และฝ่ายจำเลย ต่างก็ไม่พร้อมที่จะปฏิบัติชำระหนี้ตามสัญญา จะซื้อขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทั้งสองต่างมีหนี้ที่จะชำระเป็นการตอบแทนกัน เมื่อโจทก์ไม่พร้อมที่จะชำระหนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ และเมื่อต่างฝ่ายต่างมิได้อยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้ อีกฝ่ายหนึ่งจึงหาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยคืนมัดจำและชำระค่าปรับตามสัญญา โดยมิได้เรียกร้องให้บังคับจำเลย ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญา และจำเลยให้การ ต่อสู้ว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โดยมิได้ฟ้องแย้งให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือถือว่าโจทก์และจำเลยสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันจำเลยต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา: ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าเสียหายเมื่อผู้เช่าซื้อไม่ได้ผิดสัญญา
ราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อที่ยังขาดจำนวนเป็นค่าเสื่อมราคาอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อจะรับผิดชอบก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามาถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามาถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 573 ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันเนื่องจากโจทก์ไม่ต่อทะเบียนรถยนต์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าเสียหาย
ราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อที่ยังขาดจำนวนเป็นค่าเสื่อมราคาอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อจะรับผิดชอบก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามรถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1