พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนก่อสร้าง: สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยและไม่ได้ผูกพันตามเงื่อนไขเดิม
สัญญาพิพาทที่โจทก์และฝ่ายจำเลยทำกันไว้เป็นสัญญาที่โจทก์มอบหมายให้ฝ่ายจำเลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของก. เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำเร็จและฝ่ายจำเลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วฝ่ายจำเลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรมธนารักษ์ไม่ได้มีผลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ดังนั้นฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจะบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้เสียเมื่อใดก็ได้เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ฝ่ายจำเลยจึงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827 เมื่อปรากฎว่าหลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จากก.แต่ก.ได้กำหนดให้ปฎิบัติตามเงื่อนไขหลายประการและก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฎิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตและผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูลต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฎิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ดังนี้ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดๆได้ก็ตามและการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญาฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาดแต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลยเช่นนี้สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้นเมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลยและเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของก.ได้และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อยฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2785/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัย การพิมพ์วันที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่โจทก์เองไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ให้โจทก์ฟังเมื่อวันที่7กันยายน2538โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันที่10ตุลาคม2538ศาลชั้นต้นยกคำร้องโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาอีกเมื่อวันที่11ตุลาคม2538โดยอ้างว่ามีพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์พิมพ์วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค2เพื่อแจ้งอัยการสูงสุดผิดพลาดเป็นวันที่11กันยายน2538ทำให้อัยการสูงสุดเข้าใจว่าครบกำหนดยื่นฎีกาในวันที่10ตุลาคม2538จึงยื่นคำร้องครั้งแรกในวันนั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทราบวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ดีอยู่แล้วโจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนสิ้นระยะเวลาดังกล่าวและเหตุที่โจทก์อ้างเป็นข้อผิดพลาดภายในหน่วยงานของโจทก์เองถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยการที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตตามคำขอของโจทก์จึงไม่ชอบโจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ฟืนเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัย โจทก์มีสิทธิเรียกคืนมัดจำ
จำเลยทำสัญญาขายไม้ฟืนที่ตัดจากพื้นที่ที่จำเลยได้รับสัมปทานทำไม้ส่งมอบให้โจทก์โดยโจทก์ได้วางเงินมัดจำไว้แก่จำเลยต่อมามีคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ที่จำเลยจะทำไม้ฟืนส่งมอบให้โจทก์สิ้นสุดลง ทำให้การส่งไม้ฟืนเป็นไปไม่ได้ การชำระหนี้จึงตกเป็น พ้นวิสัยเพราะเหตุอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้และสัญญาซื้อขายไม้ฟืนเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อจำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตาม มาตรา 372 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องมัดจำคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ฟืน: การส่งมอบไม่ได้เนื่องจากเหตุสุดวิสัย และสิทธิในการขอเงินมัดจำคืน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ส่งมอบไม้ฟืนที่ซื้อขายกันตามสัญญาขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปพร้อมดอกเบี้ยจำเลยมิได้ให้การว่าจำเลยได้ส่งมอบไม้ฟืนให้แก่โจทก์แล้วทั้งหมดหรือบางส่วนเพียงแต่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาซื้อขายไม้ฟืนกับโจทก์จึงรับฟังได้ว่าจำเลยไม่เคยส่งมอบไม้ฟืนให้แก่โจทก์เลยแต่เมื่อเป็นเพราะมีคำสั่งกระทรวงเกษตรฯให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ที่จำเลยจะทำไม้ฟืนส่งมอบให้โจทก์สิ้นสุดลงการชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ซึ่งเป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนจำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตอบแทนโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องมัดจำคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: เหตุสุดวิสัย vs. พฤติการณ์พิเศษ การไม่ดำเนินการขอขยายเวลาก่อนกำหนด
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยอ้างว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วก็ได้ติดตามเพื่อทราบคำสั่งตลอดมาแต่ไม่สามารถทราบคำสั่งได้เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลแจ้งว่าคำสั่งยังไม่ลงมาและยังหาสำนวนไม่พบโจทก์จึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ภายในกำหนดได้กรณีมีเหตุสุดวิสัยเห็นว่าพฤติการณ์ตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวหาใช่เป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ไม่แต่เป็นเพียงกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้นเมื่อโจทก์มิได้ขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ศาลจึงไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8482/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาเนื่องจากโฉนดอยู่กับบุคคลอื่น แม้จะมีความพยายาม แต่เมื่อฝ่ายโจทก์ไม่ยอมรับโอนตามเงื่อนไขเดิม จำเลยไม่ผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยประมาณ 10 ไร่ ซึ่งรวมอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่โดยโจทก์วางเงินมัดจำไว้แล้ว ราคาส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ ครั้นถึงวันนัด โจทก์จำเลยไปที่สำนักงานที่ดิน แต่จำเลยไม่ได้นำโฉนดที่ดินไป จึงไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามสัญญาดังนี้ การที่จำเลยไม่ได้โฉนดที่ดินมาในวันนัดทั้งที่มีเวลาที่จะขวนขวายถึง 26 วัน แม้โฉนดที่ดินจะอยู่กับ ป.ซึ่งเดินทางไปต่างประเทศ จำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาก็อ้างเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่าในวันดังกล่าวโจทก์ยอมผ่อนผันการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจนกว่าจำเลยสามารถนำโฉนดที่ดินมาได้แต่เมื่อจำเลยยืมโฉนดที่ดินมาได้แล้วและนัดโจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์กลับเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 3,000,000 บาท ตามสัญญาจึงจะยอมรับโอนเมื่อต่างฝ่ายต่างไม่ยอม โจทก์แจ้งอายัดที่ดินพิพาทแล้วไม่ฟ้องคดีภายใน 60 วัน เมื่อการอายัดสิ้นสุด จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแก่ ป. แล้ว โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้จำเลยจึงไม่ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย: คำสั่งไม่อนุญาตก่อสร้างยังไม่ถึงเหตุสุดวิสัย
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทจากจำเลยหลังจากทำสัญญาเจ้าพนักงานสำนักงานเขตยานนาวามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยก่อสร้างอาคารตามสัญญาดังกล่าว จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านและอุทธรณ์ ต่อมาแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อนุญาต แต่จำเลยก็ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อีก เมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างใด กรณีจึงยังไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้ จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยต้องเป็นเหตุที่ไม่มีใครอาจฟ้องได้ การไม่อนุญาตสร้างอาคารยังไม่ถึงเหตุสุดวิสัย จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญา
โจทก์ทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทจากจำเลยหลังจากทำสัญญาเจ้าพนักงานสำนักงานเขต ยานนาวามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยก่อสร้างอาคารตามสัญญาดังกล่าวจำเลยได้ยื่นคำคัดค้านและอุทธรณ์ต่อมาแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อนุญาตแต่จำเลยก็ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์อีกเมื่อ คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยและมีคำสั่งอย่างใดกรณีจึงยังไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้จำเลยยังไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนนัดโอนที่ดินหลายครั้งไม่ถือเป็นผิดสัญญา หากมีเหตุสุดวิสัยและคู่สัญญามีเจตนาผ่อนปรนซึ่งกันและกัน
โจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงเลื่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญากันหลายครั้งสาเหตุของการเลื่อนวันนัดมีทั้งจากฝ่ายโจทก์บ้างและฝ่ายจำเลยทั้งสองบ้างแสดงว่าคู่สัญญาต่างฝ่ายต่างผ่อนปรนให้แก่กันโดยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดตามสัญญาเรื่องกำหนดเวลาโอนที่ดินพิพาทถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ถือเอาการชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญดังนั้นการที่นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ไปพบกับจำเลยทั้งสองที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครนายกตามกำหนดวันนัดในสัญญาและได้จัดเตรียมแคชเชียร์เช็คและเงินสดสำหรับชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วแต่เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้เนื่องจากแคชเชียร์เช็คที่นาย ว. นำไปเกิดหายไปและขณะนั้นก็เป็นเวลาประมาณ16นาฬิกาใกล้เวลาเลิกทำงานของทางราชการย่อมไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ทันทั้งวันนัดโอนดังกล่าวก็เป็นวันศุกร์การที่โจทก์ขอเลื่อนการจดทะเบียนการโอนไปเป็นวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดทำการใหม่ของทางราชการพออนุโลมได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดชำระหนี้จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดและไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร จำเลยต้องพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
กระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพเมื่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นที่บ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองจึงเป็นผู้มีไว้ในครอบครองของตนซึ่งกระแสไฟฟ้าดังกล่าวและต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา437วรรคสองจำเลยทั้งสองนำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสองดูแลรักษาสายไฟฟ้าภายในบ้านให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอและเพิ่งเปลี่ยนสายไฟฟ้าภายในบ้านใหม่ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในบ้านของจำเลยทั้งสองไม่ได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อและไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นได้อย่างไรไม่ทราบดังนี้ข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองแสดงไม่ได้เลยว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด