คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยเกินกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
คดีนี้ โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษข้อหาบุกรุก เฉพาะจำเลยที่ 1, ที่ 3 และที่ 4 และโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์แต่อย่างใด ดังนั้น คดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ในข้อหาบุกรุกตามที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นอันยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362 ประกอบมาตรา 365 (2) อีกนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยที่ไม่ได้รับการอุทธรณ์ในข้อหาบุกรุก ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
คดีนี้ โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษข้อหาบุกรุก เฉพาะจำเลยที่ 1, ที่ 3 และที่ 4 และโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์แต่อย่างใด ดังนั้น คดีเฉพาะจำเลยที่ 2ในข้อหาบุกรุกตามที่โจทก์ฟ้องจึงเป็นอันยุติแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2ฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ประกอบมาตรา 365(2) อีกนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยที่ 2 จึงมิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาที่อ้างกฎกระทรวงผิดฉบับ ไม่ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
การที่โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาถูกต้อง แต่อ้างกฎกระทรวงฉบับที่ถูกยกเลิกมาในคำขอท้ายฟ้องนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างกฎกระทรวงผิดฉบับไปเท่านั้นกฎกระทรวงฉบับต่าง ๆ มิใช่มาตราในกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ และการแก้ไขการยื่นภาษีจากความสำคัญผิด
ประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) กำหนดให้ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเลือกเสียภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทนี้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48(1)และ (2) ก็ได้นั้น เป็นการให้สิทธิผู้เสียภาษีและมีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้มีเงินได้ในประเภทดังกล่าว และสิทธิตามมาตรานี้มิได้มีข้อจำกัดไว้ว่าจะหมดไปเมื่อใด ดังนั้น จึงต้องถือว่าสิทธิของผู้เสียภาษีคงมีอยู่ตลอดเวลาที่ภาระในการเสียภาษียังมีอยู่ โจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรจึงมีสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48(4) การที่โจทก์ยื่นเสียภาษีโดยวิธีรวมคำนวณด้วยความเข้าใจผิดเพราะคิดหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายทำให้จำนวนภาษีซึ่งคำนวณตามวิธีที่โจทก์ยื่นเสียภาษีขาดไปเป็นจำนวนถึงสองล้านบาทเศษซึ่งถ้าโจทก์แยกยื่นเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแล้ว โจทก์จะมีจำนวนภาษีที่ต้องชำระเพิ่มอีกเพียงเก้าหมื่นบาทเศษเท่านั้นเห็นได้ว่าการที่โจทก์ยื่นเสียภาษีโดยวิธีรวมยื่นนั้นเกิดขึ้นด้วยความสำคัญผิด เมื่อภาระหน้าที่ในการชำระภาษีของโจทก์ยังมีอยู่โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการยื่นเสียใหม่โดยใช้วิธีการยื่นแยกเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้เพราะไม่ทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์จะต้องเสียขาดจำนวนไป การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอาการยื่นรวมที่โจทก์ยื่นด้วยความสำคัญผิดมาเป็นหลักในการประเมินโดยไม่ให้โอกาสโจทก์แก้ไขตามสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายย่อมเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากทนายความที่ถูกถอนออกไปลงชื่อ ศาลมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
ส. เคยเป็นทนายความของจำเลย แต่ถูกถอนออกไปแล้ว เมื่อส. ลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่ได้รับแต่งตั้ง ถือว่าเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ ส. เคยทำหน้าที่ทนายความแทนจำเลย การที่ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องอุทธรณ์จึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.ราคาสินค้าฯ การออกประกาศแก้ไขหลักเกณฑ์ความผิดไม่ยกเลิกความผิดที่กระทำสำเร็จแล้ว
การกระทำที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 มาตรา 43 คือการฝ่าฝืนประกาศที่คณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดใช้อำนาจประกาศตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ประกาศดังกล่าวเป็นการกำหนดรายละเอียดของการกระทำที่ถือว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นการฝ่าฝืน อันเป็นการกำหนดรายละเอียดในส่วนที่เป็นหลักเกณฑ์ของความผิด มิใช่กำหนดหลักเกณฑ์แห่งความผิดตามมาตรา 43 เมื่อคณะกรรมการฯ ออกประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528แล้ว จำเลยที่ 2 กระทำการฝ่าฝืนความในข้อ 5 ของประกาศนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามมาตรา 43 แม้ต่อมามีประกาศฉบับที่ 101พ.ศ. 2529 ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศฉบับที่ 88 พ.ศ. 2528ก็เป็นเพียงการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดมิใช่เป็นการยกเลิกหลักเกณฑ์ที่เป็นความผิดที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำสำเร็จไปแล้ว ถือไม่ได้ว่าประกาศฉบับที่ 101พ.ศ. 2529 เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเลิกการกระทำที่เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง จำเลยที่ 2จึงมิใช่ผู้ที่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขแบบพิมพ์อุทธรณ์: ศาลต้องตรวจก่อนรับ หากไม่แก้ไขแต่รับพิจารณา ก็ไม่ทำให้การอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ป.วิ.พ. มาตรา 67 นำมาใช้กับคดีอาญาได้โดยอนุโลม ตามป.วิ.อ. มาตรา 15 จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยใช้กระดาษแบบพิมพ์คำฟ้องอุทธรณ์ แต่ตอนลงชื่อในแผ่นสุดท้ายกลับใช้กระดาษแบบพิมพ์ท้ายคำแก้อุทธรณ์ แทนที่จะเป็นแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ ซึ่งไม่ถูกต้อง และเป็นหน้าที่ ของศาลชั้นต้นที่จะตรวจอุทธรณ์แล้วสั่งแก้ไขก่อนที่จะรับอุทธรณ์ แต่เมื่อมิได้สั่งให้แก้ไขและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยและมีคำพิพากษา ไปโดยมิได้สั่งให้แก้ไขให้บริบูรณ์เสียก่อนชี้ขาดตัดสินคดี ก็ไม่ทำให้อุทธรณ์ของจำเลยไม่เป็นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ถึงขนาดที่จะรับไว้พิจารณาต่อไปไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องเมื่อศาลวินิจฉัยถูกต้องแต่ไม่พิพากษาตามคำวินิจฉัย เป็นปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่ศาลวินิจฉัยว่าที่พิพาท เป็นของโจทก์ แต่ศาลไม่อาจพิพากษาเพิ่มชื่อของโจทก์ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ร่วมกับจำเลยได้นั้น ทำให้คำวินิจฉัยของศาลไร้ผล และขัดกับคำพิพากษาถือเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และใส่ชื่อโจทก์แทน เมื่อฟังว่าที่พิพาท เป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันศาลก็มีอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(2) พิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเจ้าของร่วมได้ โดยไม่ต้องเพิกถอนชื่อจำเลยออก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร การจำกัดสิทธิฟ้อง และอำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบแก้ไข
ประมวลรัษฎากรที่บัญญัติให้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน แล้วจึงจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล จึงต้องแปลความโดยเคร่งครัด และตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้บัญญัติว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะต้องอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฉะนั้น โจทก์จึงอ้างเหตุอื่นเพิ่มเติมจากที่เคยอุทธรณ์ไว้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์ยื่นแบบรายการชำระภาษีรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ปี 2517ถึง 2521 ไว้ต่อจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรหัก ณ ที่จ่าย จำเลยที่ 2 จึงได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ไปให้คำชี้แจงประกอบการไต่สวนตรวจสอบ พร้อมทั้งให้นำสมุดบัญชีและเอกสารหลักฐานประกอบการลงบัญชีไปตรวจสอบด้วย ดังนี้ การที่โจทก์ขอคืนเงินภาษีอากรหัก ณ ที่จ่ายเป็นจำนวนสูงถึง 2,700,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นเจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ออกหมายเรียกโจทก์ไปตรวจสอบไต่สวนดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเพียงการเรียกไปตรวจสอบเพื่อประกอบคำร้องขอคืนภาษีอากรหัก ณ ที่จ่ายตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 133(พ.ศ. 2516) ลงวันที่ 22 มีนาคม 2516แต่ประการเดียว แต่ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ใช้อำนาจตามมาตรา 19หมายเรียกโจทก์ไปตรวจสอบไต่สวนและได้ทราบข้อความแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่โจทก์ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5667/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่แก้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าทนายความ
จำเลยที่ 2 และทนายมิได้แก้อุทธรณ์หรือยื่นคำร้องหรือได้กระทำการใด ๆ ต่อศาลอันจะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติในการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์รับผิดชดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.
of 39