พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5367/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงชำระหนี้หลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์ทราบว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โอนที่ดินให้ ท. โจทก์ย่อมมีสิทธิเลือกที่จะฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยกับ ท. หรือฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาก็ได้ การที่โจทก์เลือกใช้สิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ เมื่อจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้ ท. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลได้รับชำระหนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4137/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ฐานโกงเจ้าหนี้: ปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง
อุทธรณ์โจทก์ที่ว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ผู้ตายโอนที่ดินของผู้ตายเป็นชื่อของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 แต่เพิ่งโอนที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยในฐานะส่วนตัวเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2544 เนื่องจากจำเลยทราบว่า ศาลจังหวัดนครปฐมมีคำพิพากษาแล้ว และจำเลยสามารถนำที่ดินของผู้ตายไปวางเป็นหลักประกันต่อศาลในการขอทุเลาการบังคับคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดได้ แต่จำเลยกลับขอขยายระยะเวลาในการวางหลักประกันออกไป เมื่อศาลไม่อนุญาต จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งและนำที่ดินของบุคคลอื่นไปวางเป็นหลักประกันต่อศาลแทน แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนโดยรู้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้แล้วนั้น เป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วนั้นว่าเข้าองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงชำระหนี้หลังถูกฟ้องร้อง
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนของโจทก์ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ แต่เมื่อร้องทุกข์แล้ว พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินจำนวน 135,008,163.92 บาท มาด้วย ทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวและศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนี้ จึงมีความหมายโดยนิตินัยว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวและมีคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินจำนวน 135,008,163.92 บาท ด้วย เท่ากับว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แล้ว
ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองได้หย่ากันแล้ว ทั้งจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันว่าให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังนำที่ดินไปจำนองด้วย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาโอนที่ดินไปเพื่อมิให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ประกอบกับคำว่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 350 หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์จึงเป็นการโอนทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นแล้ว ส่วนต่อมาโจทก์สามารถสืบหาติดตามทรัพย์สินนำมาบังคับคดีได้หรือไม่ เพียงใด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรา 350
ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองได้หย่ากันแล้ว ทั้งจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันว่าให้จำเลยที่ 2 ไปดำเนินการโอนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังนำที่ดินไปจำนองด้วย แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาโอนที่ดินไปเพื่อมิให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ประกอบกับคำว่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 350 หมายถึงบุคคลอื่นนอกจากตัวลูกหนี้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์จึงเป็นการโอนทรัพย์สินไปให้แก่ผู้อื่นแล้ว ส่วนต่อมาโจทก์สามารถสืบหาติดตามทรัพย์สินนำมาบังคับคดีได้หรือไม่ เพียงใด เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8774/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: สภาพหนี้เกิดขึ้นจากการเป็นชู้ การโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ถือเป็นความผิด
ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติว่า "ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เจ้าหนี้ที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ มิได้หมายถึงเฉพาะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมายรวมถึงเจ้าหนี้อื่นซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิฟ้องให้ชำระหนี้ด้วย นอกจากนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้..." แสดงว่าสภาพความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยเป็นชู้กับภริยาโจทก์ ส่วนคำพิพากษาของศาลที่บังคับให้มีการชดใช้ค่าทดแทนกันมิได้ก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย แต่เป็นการบังคับความรับผิดแห่งหนี้ที่โจทก์กับจำเลยมีต่อกัน กรณีถือได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนำและเช่าที่พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีเจตนาตามกฎหมาย ทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้และบุกรุก
โจทก์ร่วมกับจำเลยทำสัญญาจำนำข้าวระหว่างกันโดยโจทก์ร่วมยอมให้ข้าวอยู่ในความครอบครองของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมอบข้าวไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจำนำ เมื่อไม่มีการจำนำจึงขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดข้อหาโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 349
โจทก์ร่วมเช่าโกดังเก็บข้าวซึ่งเป็นโกดังที่จำเลยใช้ประกอบกิจการโรงสีของจำเลย เมื่อทำสัญญาเช่าแล้วจำเลยเป็นผู้ถือกุญแจโกดังเพียงฝ่ายเดียว จำเลยเป็นผู้ครอบครองโกดังอยู่เช่นเดิม สัญญาเช่าที่ทำไว้มีค่าเช่าเพียงปีละ 100 บาท นับว่าน้อยมาก จึงเป็นการทำสัญญาเช่าเป็นแบบพิธีเท่านั้น คู่สัญญาไม่ได้มีเจตนาให้เป็นการเช่าตามกฎหมายอย่างแท้จริง กรณีถือว่าจำเลยยังเป็นผู้ครอบครองโกดังที่เช่าอยู่ตลอดเวลา จำเลยจึงไม่อาจรบกวนการครอบครองของตนเองได้ ไม่มีความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ร่วมเช่าโกดังเก็บข้าวซึ่งเป็นโกดังที่จำเลยใช้ประกอบกิจการโรงสีของจำเลย เมื่อทำสัญญาเช่าแล้วจำเลยเป็นผู้ถือกุญแจโกดังเพียงฝ่ายเดียว จำเลยเป็นผู้ครอบครองโกดังอยู่เช่นเดิม สัญญาเช่าที่ทำไว้มีค่าเช่าเพียงปีละ 100 บาท นับว่าน้อยมาก จึงเป็นการทำสัญญาเช่าเป็นแบบพิธีเท่านั้น คู่สัญญาไม่ได้มีเจตนาให้เป็นการเช่าตามกฎหมายอย่างแท้จริง กรณีถือว่าจำเลยยังเป็นผู้ครอบครองโกดังที่เช่าอยู่ตลอดเวลา จำเลยจึงไม่อาจรบกวนการครอบครองของตนเองได้ ไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10314/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้ต้องรอคำพิพากษาถึงความเป็นเจ้าหนี้ก่อน หากยังพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ ฟ้องจึงไม่มีมูล
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีแพ่งอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ แต่ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินทับเอาที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้เพิกถอนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมบริวารรื้อถอนขนย้ายทรัพย์ออกไป และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนกว่าจะส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในสภาพเดิม จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินในที่ดินของตน มิได้ออกทับที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้องขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 ไป ในคดีแพ่งดังกล่าวยังโต้เถียงกันถึงความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ย่อมไม่เป็นที่แน่นอนว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์หรือไม่ โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามความหมายของมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่จะฟ้องจำเลยทั้งสาม ฟ้องโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ฐานโกงเจ้าหนี้: ข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 350 ประกอบมาตรา 83 ศาลชั้นต้นยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายนั้นมีคำพิพากษายกฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองต้องโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้โจทก์ ขณะจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินตามฟ้องให้แก่บุคคลภายนอก จำเลยทั้งสองจึงมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงไม่มีมูล ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันนับแต่ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง และเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงมีหนี้อันสมบูรณ์ที่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อยู่แล้วในขณะที่จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิด การกระทำของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้นั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่าเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโกงเจ้าหนี้หลังล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามขั้นตอน หากไม่ยื่น สิทธิเรียกร้องสิ้นสุด
หนี้ของโจทก์เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จึงต้องยื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ไม่ยื่นขอรับชำระหนี้ โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ต่อไป ซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 350 ที่บัญญัติว่า เจ้าหนี้ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้นั้น หมายถึงเจ้าหนี้ที่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ย่อมหมดสิทธิบังคับชำระหนี้จากจำเลยได้อีกต่อไป เพราะผลของการประนอมหนี้หลังล้มละลายย่อมผูกพันโจทก์ และเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายไปแล้ว จำเลยย่อมหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย ทั้งคำว่า "เจ้าหนี้ของตน" ย่อมหมายถึงเฉพาะโจทก์ที่เป็นผู้เสียหายในคดีนี้เท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่มิได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยขายที่ดินตามฟ้องจึงมิใช่การกระทำเพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในคดีแพ่งได้รับชำระหนี้ จำเลยไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซ่อนเร้นทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้เจ้าหนี้ เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แม้ไม่มีหลักฐานการโอนทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่ 1 จากเดิมเลขที่ 286 ไปอยู่ที่ใหม่ แล้วจำเลยที่ 4 จดทะเบียนจัดตั้งจำเลยที่ 3 ขึ้นมาโดยใช้สำนักงานแห่งใหญ่เดิมของจำเลยที่ 1 เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่ 3 ทั้งจำเลยที่ 3 มีวัตถุที่ประสงค์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 คือประกอบกิจการรับจ้างผลิตเหล็ก รีด หล่อและหลอมเหล็ก และจำเลยที่ 4 ก็เบิกความรับว่า จำเลยที่ 3 ได้ใช้เครื่องจักรที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 286 ด้วย เมื่อขณะนำยึดป้ายทะเบียนเครื่องจักรมีร่องรอยถูกขูดลบออก โดยจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ครอบครองดูแลสถานที่เก็บรักษาเครื่องจักรตามที่ได้จดทะเบียนไว้ และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ใช้เครื่องจักรในการประกอบกิจการ รวมทั้งนำป้ายชื่อจำเลยที่ 3 มาติดอยู่หน้าเลขที่ 286 การกระทำของจำเลยทั้งสี่นอกจากจะเป็นทางทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจผิดแล้ว ยังถือได้ว่าเป็นการร่วมกันซ่อนเร้นเครื่องจักรของจำเลยที่ 1 ไว้เพื่อมิให้โจทก์ติดตามยึดเครื่องจักรนั้นมาชำระหนี้ได้ แม้โจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนขายกิจการและเครื่องจักรไปให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จริงหรือไม่ ตั้งแต่เมื่อไร แต่พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสี่ก็รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยแล้วว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาเพื่อไม่ให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเป็นความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4173/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล, การรับฟังพยานหลักฐานชั้นไต่สวนมูลฟ้อง, ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ท้องที่ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนหุ้นโครงการคูล เรสซิเด้นท์ ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้บุคคลภายนอก และท้องที่ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น รวมทั้งท้องที่ที่จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งโจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องระบุว่า จำเลยที่ 2 นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1 (ปิ่นเกล้า) ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เมื่อเขตบางพลัดอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดตลิ่งชัน โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ต่อศาลจังหวัดตลิ่งชันซึ่งเป็นศาลที่ความผิดเกิดขึ้น อ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้น ศาลจังหวัดตลิ่งชันจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.อ. มาตรา 237 วรรคสอง เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลย บัญญัติว่า "ในกรณีที่คู่ความตกลงกัน ศาลอาจอนุญาตให้ถือเอาบันทึกคำเบิกความพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำเบิกความพยานในชั้นพิจารณา โดยพยานไม่ต้องเบิกความใหม่หรือให้พยานเบิกความตอบคำถามค้านของจำเลยไปทันทีได้ เว้นแต่ในข้อหาความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น" ซึ่งความผิดที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี ไม่เข้าข้อยกเว้นตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าว คดีนี้โจทก์ทั้งสองสืบพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีมีมูล ในชั้นพิจารณา ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ว่า คู่ความร่วมกันแถลงว่าสำหรับพยานโจทก์ปาก ธ. บ. และโจทก์ที่ 2 ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ขออนุญาตศาลให้ถือเอาบันทึกคำเบิกความพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำเบิกความพยานในชั้นพิจารณา ศาลอนุญาต ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจนำบันทึกคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้
ป.วิ.อ. มาตรา 237 วรรคสอง เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลย บัญญัติว่า "ในกรณีที่คู่ความตกลงกัน ศาลอาจอนุญาตให้ถือเอาบันทึกคำเบิกความพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำเบิกความพยานในชั้นพิจารณา โดยพยานไม่ต้องเบิกความใหม่หรือให้พยานเบิกความตอบคำถามค้านของจำเลยไปทันทีได้ เว้นแต่ในข้อหาความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น" ซึ่งความผิดที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี ไม่เข้าข้อยกเว้นตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าว คดีนี้โจทก์ทั้งสองสืบพยานชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีมีมูล ในชั้นพิจารณา ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 ว่า คู่ความร่วมกันแถลงว่าสำหรับพยานโจทก์ปาก ธ. บ. และโจทก์ที่ 2 ได้เบิกความไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ขออนุญาตศาลให้ถือเอาบันทึกคำเบิกความพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำเบิกความพยานในชั้นพิจารณา ศาลอนุญาต ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจนำบันทึกคำเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้