พบผลลัพธ์ทั้งหมด 214 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และสิทธิในมรดก: ทายาทผู้ครอบครองและผู้ถือโฉนดมีสิทธิร่วมกัน
ทายาทซึ่งควรได้รับมรดกด้วยกัน คนหนึ่งครอบครองที่นามรดกอีกคนหนึ่งยึดโฉนดนามรดกจนได้โอนใส่ชื่อมาแล้วเช่นนี้แม้จะเกิน 1 ปีผู้ครอบครองก็จะเอานาเป็นของตนผู้เดียวไม่ได้ต้องแบ่งไปคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิที่แท้จริง: แม้ชื่อในโฉนดไม่ใช่ผู้ถือกรรมสิทธิที่แท้จริง หากมีหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ ก็สามารถใช้สิทธิได้
ผู้มีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่ดินนั้นไม่ได้หมายความว่า ผู้นั้นจะต้องมีสิทธิดีกว่าผู้อื่นเสมอไป อาจมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิแต่ไม่มีกรรมสิทธิ อันแท้จริงก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิที่ดิน: ชื่อในโฉนดไม่ใช่ข้อพิสูจน์เด็ดขาด เจ้าของที่แท้จริงมีสิทธิฟ้องแย้ง
ผู้มีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่ดินนั้นไม่ได้หมายความว่า ผู้นั้นจะต้องมีสิทธิดีกว่าผู้อื่นเสมอไป อาจมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิแต่ไม่มีกรรมสิทธิ อันแท้จริงก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวมและการแบ่งที่ดินตามส่วนเดิม แม้มีชื่อในโฉนด แต่ต้องพิจารณาการครอบครองจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 เป็นเรื่องของความสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น คู่กรณีย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างความสันนิษฐานทั้งนี้เสียได้ว่าความจริงเป็นอย่างไร
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยตามส่วนที่มีชื่อในโฉนดเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินมีส่วนไม่เท่ากันมาแต่เดิมและต่างครอบครอง เป็นส่วนสัดแต่แรกก่อนออกโฉนดสืบตลอดมาดังนี้ ก็ต้องแบ่งที่ดินตามส่วนที่ผู้ใดเป็นเจ้าของอันแท้จริง เพราะเป็นเรื่องกรรมสิทธิรวม หาใช่เรื่องครอบครองโดยปรปักษ์ไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยตามส่วนที่มีชื่อในโฉนดเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินมีส่วนไม่เท่ากันมาแต่เดิมและต่างครอบครอง เป็นส่วนสัดแต่แรกก่อนออกโฉนดสืบตลอดมาดังนี้ ก็ต้องแบ่งที่ดินตามส่วนที่ผู้ใดเป็นเจ้าของอันแท้จริง เพราะเป็นเรื่องกรรมสิทธิรวม หาใช่เรื่องครอบครองโดยปรปักษ์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: ผู้ครอบครองแต่เพียงผู้เดียวมีสิทธิจดทะเบียนได้ ผู้ขอโฉนดทับที่ไม่มีสิทธิ
ที่ดินมือเปล่าที่มีเจ้าของครอบครองมาฝ่ายเดียวนั้น เจ้าของย่อมอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ ครอบครองแม้จะได้ขอออกโฉนดทับที่เขา ก็ไม่ได้อยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ ฉะนั้นแม้จะได้โฉนดมาแล้ว โอนขายได้ ทั้งผู้โอนและผู้รับโอนโดย +ทุจริต ต่างก็ไม่มีใครจะเอาที่ดินนั้นเป็นสิทธิได้./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: ผู้ครอบครองเดิมมีสิทธิจดทะเบียน แม้ผู้ขอออกโฉนดทับไม่มีสิทธิ
ที่ดินมือเปล่าที่มีเจ้าของครอบครองมาฝ่ายเดียวนั้น เจ้าของย่อมอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ ส่วนผู้ที่ไม่ได้ครอบครองแม้จะได้ขอออกโฉนดทับที่เขา ก็ไม่ได้อยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ ฉะนั้นแม้จะได้โฉนดมาแล้วโอนขายไป ทั้งผู้โอนและผู้รับโอนโดยไม่สุจริตต่างก็ไม่มีใครจะเอาที่ดินนั้นเป็นสิทธิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้โฉนดยังมิได้เปลี่ยนชื่อ
ซื้อขายที่ดินมีโฉนดแก่กันได้มอบที่ดินและโฉนดให้ผู้ซื้อยึดถือครอบครองแล้ว ฝ่ายผู้ซื้อก็ชำระราคาแล้ว สัญญาว่าจะไปโอนทะเบียนกันภายใน 1 เดือน แต่แล้วก็ไม่ได้ไปโอนกัน ฝ่ายผู้ซื้ก็คงครอบครอง
ที่ดินโดยเจตนาเป็นเจ้าของด้วยความสงบแลเปิดเผยมาถึง 24 ปี ดังนี้ ฝ่ายผู้ซื้อขายกันนี้ แล้ว ฉะนั้นแม้ภายหลังผู้ซื้อและผู้ขายได้ถึงแก่กรรมทั้งสองฝ่าย ทายาทของผู้ซื้อก็มีสิทธิฟ้องให้ถอนชื่อในโฉนดโอนทะเบียนใส่ชื่อทายาทผู้ซื้อได้ ไม่ใช่เรื่องขาดอายุความและสิทธิเรียกร้องตามป.ม.แพ่งฯมาตรา 163, 164, 169
ที่ดินโดยเจตนาเป็นเจ้าของด้วยความสงบแลเปิดเผยมาถึง 24 ปี ดังนี้ ฝ่ายผู้ซื้อขายกันนี้ แล้ว ฉะนั้นแม้ภายหลังผู้ซื้อและผู้ขายได้ถึงแก่กรรมทั้งสองฝ่าย ทายาทของผู้ซื้อก็มีสิทธิฟ้องให้ถอนชื่อในโฉนดโอนทะเบียนใส่ชื่อทายาทผู้ซื้อได้ ไม่ใช่เรื่องขาดอายุความและสิทธิเรียกร้องตามป.ม.แพ่งฯมาตรา 163, 164, 169
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาซื้อที่ดินแทนบุตรต่างชาติ และการแก้ไขชื่อในโฉนด
คนต่างด้าวฟ้องขอให้ศาลแสดงว่า ตนเป็นผู้ออกเงินซื้อที่ดินเพื่อให้เป็นกรรมสิทธิ์ของบุตรผู้มีสัญชาติเป็นไทย แต่ลงชื่อผู้อื่นในโฉนดเพื่อความสะดวก จึงขอให้เพิกถอนชื่อออกจากโฉนดแล้วลงชื่อบุตรแทนนั้น ศาลก็พิพากษาแสดงว่าคนต่างด้าวผู้ฟ้องเป็นผู้ออกเงินซื้อที่ดินได้ ส่วนคำขอตอนหลังนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าบุตรมีสัญชาติอะไรแน่นอน และผู้ซื้อที่ดินบางคนก็ยังไม่มีบุตรในเวลาที่ซื้อที่ดิน ดังนี้ จะพิพากษาให้ตามคำขอตอนนี้ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: อาณาเขตจริงสำคัญกว่าโฉนด
วัด 2 วัดเป็นวัดมานมนานด้วยกัน มีอาณาเขตติดต่อกันต่างวัดต่างมีเจ้าอาวาสปกครองมีนิกายต่างกัน การทำสังฆกรรมก็ไม่ได้ทำร่วมกัน และมีเขตพรรษาต่างหากจากกัน ต่อมาเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองรังวัดออกโฉนดที่ดินของ 2 วัดนี้ รวมเป็นโฉนดเดียวกันแล้วลงชื่อวัดหนึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ดังนี้ ก็หาทำให้วัดที่มีชื่อในโฉนดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินรวมทั้ง 2 วัดแต่ฝ่ายเดียวไม่ ต่างวัดต้องถือกรรมสิทธิ์ตามเขตที่เป็นจริง ของแต่ละวัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินสมรส: การขอลงชื่อร่วมในโฉนด แม้เป็นกรณีที่เกิดขึ้นก่อนบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ 5)
แม้เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว ก็ดีฝ่ายที่ไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินอันเป็นสินสมรส ก็ย่อมมีสิทธิขอให้ลงชื่อร่วมกันในโฉนดที่ดินได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1467