คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 146 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8760/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดียาเสพติด - การไม่รอการลงโทษ - โทษปรับต่ำกว่ากฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และฐานเสพเมทแอมเฟตามีน เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน โดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น โดยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1 ว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นอย่างไร หรือศาลชั้นต้นรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ชอบอย่างไร ทั้งความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 91 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ด้วย เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์ไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะถือว่าการที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนไปโดยปริยายหาได้ไม่ กรณีดังกล่าวเท่ากับโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนด้วย แม้การลงโทษจำคุกในความผิดฐานสนับสนุนการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและการรอการลงโทษจำคุกในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จะเป็นการลงโทษที่ลักลั่นกันก็ตาม แต่การลงโทษที่ลักลั่นกันดังกล่าวมิได้เกิดจากการใช้ดุลพินิจของศาล แต่เกิดจากการที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ในความผิดฐานที่ศาลรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน แม้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานสนับสนุนการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็ไม่อาจลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนโดยไม่รอการลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5348/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษปรับในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และภาพยนตร์ โดยใช้กฎหมายที่ให้คุณแก่จำเลยมากที่สุด
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 2) ใช้บังคับ โดยมาตรา 12 พ.ร.บ.ดังกล่าวได้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จากเดิมที่บัญญัติให้บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 69 หรือมาตรา 70 ให้ตกเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เป็นว่า บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ริบเสียทั้งสิ้น กรณีจึงเป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เมื่อบทบัญญัติมาตรา 75 เดิม บัญญัติให้สิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องใช้มาตรา 75 เดิม บังคับแก่คดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9854/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดประมงไฟฟ้า ศาลแก้โทษจำคุกเป็นปรับตามกฎหมายใหม่ที่บัญญัติโทษเบากว่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นเครื่องมือที่ห้ามทำการประมงในน่านน้ำจืดโดยเด็ดขาด ทำการประมงโดยจุ่มลงไปทำอันตรายและจับปลากับสัตว์น้ำอื่น ๆ ในที่จับสัตว์น้ำบริเวณลำคลองปากหมาก หมู่ที่ 5 ตำบลปากหมาก อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 20, 62 ทวิ ถือได้ว่าโจทก์บรรยายชัดแจ้งว่าการกระทำความผิดของจำเลยอยู่ในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การประมงฯ มาตรา 4 (5) "ที่จับสัตว์น้ำ" หมายความว่า ที่ซึ่งมีน้ำขังหรือไหลเช่น ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บ่อ เป็นต้น และหาดทั้งปวง บรรดาซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน... อันเป็นกรณีที่รวมถึงลำคลองด้วย ฟ้องโจทก์จึงชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่จำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดดังที่จำเลยฎีกา ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว มิได้เคลือบคลุมแต่อย่างใด
อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 หลังจากนั้นได้มี พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 แต่ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 60 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ โดยโทษตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 87 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าแสนบาท ส่วนโทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 141 ระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โทษตาม พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีเพียงโทษปรับ ไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดและ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 ที่มีโทษจำคุกด้วย กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ คงลงโทษจำเลยได้เพียงโทษปรับอันเป็นโทษสถานเบากว่าโทษจำคุกเท่านั้น แต่ในส่วนของโทษปรับที่ศาลจะนำมาพิจารณาลงโทษจำเลยนั้น พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 87 มีระวางโทษขั้นต่ำให้ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14921/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปรับบทลงโทษอาญา: เลือกใช้กฎหมายที่มีโทษปรับสูงกว่า แม้ศาลไม่ได้ลงโทษปรับ
ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท ส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท แม้ความผิดทั้งสองฐานจะมีระวางโทษจำคุกเท่ากัน แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ดังนี้ ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงมีระวางโทษปรับหนักกว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก แม้ศาลไม่ได้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองก็ตาม เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง เป็นกฎหมายบทที่มีโทษปรับหนักกว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก ศาลจึงต้องใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดปรับบทลงโทษแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14617/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายสินค้าควบคุมฉลากผิดกฎหมายเป็นความผิดต่างกรรมกันจากละเมิดเครื่องหมายการค้า ศาลแก้คำพิพากษาเพิ่มโทษปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยขาย เสนอขาย สินค้าเครื่องสำอางชิเซโดจำนวน 2 กล่อง เครื่องสำอางปัดคิ้วยี่ห้อแม็กจำนวน 1 กล่อง อันเป็นสินค้าควบคุมฉลากตามกฏหมาย โดยเสนอขายต่อผู้มาติดต่อซื้อ ซึ่งฉลากของสินค้าดังกล่าวไม่มีข้อความแสดงวิธีใช้และข้อแนะนำการใช้หรือข้อห้าม ไม่ถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง อันเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายที่แท้จริงของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ในราชอาณาจักรโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10825/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับโทษปรับในคดีเยาวชน: ห้ามยึดทรัพย์สิน ให้ส่งฝึกอบรมแทน
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับโทษปรับในกรณีเด็กและเยาวชนต้องโทษปรับแต่ไม่มีการชำระค่าปรับไว้ในมาตรา 145 เป็น 2 กรณี คือ กรณีเด็กหรือเยาวชนไม่ชำระค่าปรับ ให้ศาลเปลี่ยนโทษปรับเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมภายใต้เงื่อนไขตามกฎหมาย กับกรณีเด็กหรือเยาวชนไม่มีเงินชำระค่าปรับ แต่ประสงค์จะขอทำงานบริการสังคมหรืองานสาธารณะประโยชน์แทนค่าปรับ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องดำเนินการในทางใดได้บ้าง ไม่มีกรณีที่ให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของเด็กและเยาวชนได้ ในทำนองเดียวกับกรณีที่ผู้กระทำความผิดมิใช่เด็กและเยาวชนตาม ป.อ. มาตรา 29 เมื่อพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ เป็นกฎหมายเฉพาะ ที่บัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่อาจนำบทบัญญัติที่เป็นกฎหมายทั่วไปมาบังคับในกรณีนี้ได้ สำหรับคดีนี้เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระค่าปรับ ก็ต้องส่งจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมแทนการชำระค่าปรับเพียงประการเดียวตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย แม้ในระหว่างฝึกอบรม จำเลยอาจจะขอชำระค่าปรับที่ยังคงเหลือให้เสร็จสิ้นไปได้ ก็เป็นวิธีการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สิทธิแก่จำเลย ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยชำระแทนค่าปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10825/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับโทษปรับในคดีเยาวชน: ห้ามยึดทรัพย์สิน ให้ส่งตัวฝึกอบรมแทน
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับโทษปรับในกรณีเด็กและเยาวชนต้องโทษปรับแต่ไม่มีการชำระค่าปรับไว้ในมาตรา 145 เป็น 2 กรณี คือ กรณีเด็กหรือเยาวชนไม่ชำระค่าปรับ ให้ศาลเปลี่ยนโทษปรับเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมภายใต้เงื่อนไขตามกฎหมาย กับกรณีเด็กหรือเยาวชนไม่มีเงินชำระค่าปรับ แต่ประสงค์จะขอทำงานบริการสังคมหรืองานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องดำเนินการในทางใดได้บ้าง ไม่มีกรณีที่ให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินของเด็กและเยาวชนได้ ในทำนองเดียวกับกรณีที่ผู้กระทำความผิดมิใช่เด็กและเยาวชน ตาม ป.อ. มาตรา 29 เมื่อพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ เป็นกฎหมายเฉพาะที่บัญญัติไว้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่อาจนำบทบัญญัติที่เป็นกฎหมายทั่วไปมาบังคับในกรณีนี้ได้ สำหรับคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่ชำระค่าปรับ ก็ต้องส่งจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมแทนการชำระค่าปรับเพียงประการเดียวตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย แม้ในระหว่างฝึกอบรม จำเลยอาจจะขอชำระค่าปรับที่ยังคงเหลือให้เสร็จสิ้นไปได้ ก็เป็นวิธีการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้สิทธิแก่จำเลย ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยชำระแทนค่าปรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18280/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ไม่ครอบคลุมการยกเว้นโทษปรับ ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้
จำเลยเป็นนักโทษเด็ดขาดและยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับก่อนที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2553 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว บัญญัติว่า "ผู้ต้องโทษ ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (1) ผู้ต้องกักขัง..." และมาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "กรณีผู้ต้องกักขังตามวรรคหนึ่ง (1) ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดและยังไม่ได้รับโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปในส่วนของโทษกักขังแทนโทษจำคุกหรือในส่วนของการกักขังแทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี" ดังนั้น จำเลยจึงได้รับประโยชน์ตามมาตรา 5 วรรคสอง แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่ไม่ต้องถูกกักขังแทนค่าปรับหากจำเลยยังไม่ชำระค่าปรับ แต่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวไม่ได้ให้จำเลยพ้นจากโทษปรับด้วย โทษปรับตามคำพิพากษาของจำเลยยังคงมีอยู่ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าปรับ โจทก์จึงขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องเงินของจำเลยจำนวน 100,000 บาท ได้ กรณีไม่มีเหตุที่จะยกเลิกหมายบังคับคดีและคืนเงินดังกล่าวให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แม้ไม่มีการอุทธรณ์
การคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20377/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิดและทำลายพยานหลักฐาน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกและปรับ
การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันเก็บกวาดเศษกระจก และเศษชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับเฉี่ยวชนกับรถไถนาที่จำเลยที่ 1 ขับ ซึ่งตกอยู่ในที่เกิดเหตุ และจำเลยที่ 2 นำรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับซึ่งล้มอยู่ในที่เกิดเหตุไปทิ้งลงในคลองชลประทาน เป็นการกระทำด้วยเจตนาอันเดียวกัน คือ เพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 มิให้ต้องรับโทษ และเป็นการกระทำในคราวเดียวกัน ต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันเพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษ ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 184 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเรื่องดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
of 15