พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5663/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถจากการขายทอดตลาด: ข้อจำกัดในการจดทะเบียนกรณีทะเบียนซ้ำ และความเกี่ยวข้องกับคดีล้มละลาย
ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า ป.เป็นผู้ซื้อรถยนต์กึ่งพ่วงได้จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ แล้ว ป.ขายต่อให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนขนส่งจังหวัดเพื่อจดทะเบียนการโอนย้ายและเปลี่ยนทะเบียนใหม่ แต่นายทะเบียนขนส่งจังหวัดไม่สามารถจดทะเบียนการโอนได้เพราะรถพ่วงเลขทะเบียนซ้ำกับทะเบียนรถคันอื่นขอให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนขนส่งจังหวัดจดทะเบียนรถพ่วงให้แก่ผู้ร้อง ตามคำร้องของผู้ร้อง มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146ในอันที่จะยื่นคำร้องเข้ามาในคดีในชั้นรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินได้ หากผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวกับผู้เกี่ยวข้องต่างหากจากคดีในชั้นนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย-สิทธิยึดหน่วง-การบังคับทายาทให้โอนกรรมสิทธิ์-อายุความไม่ขาด
การที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จะต้องพิจารณาคำฟ้องตลอดทั้งเรื่องมิใช่ถือเอาข้อความในคำฟ้องตอนใดตอนหนึ่งมาวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์ตอนแรกบรรยายใจความว่าผ. เสนอขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์ตกลงซื้อในราคา3,000บาทได้ชำระราคาให้ผ. รับไปแล้วและผ.ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาและโจทก์ได้บรรยายข้อความต่อไปว่าผ. รับปากว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ทั้งสองในภายหลังแต่แล้วก็หายหน้าไปเลยโดยมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้คำฟ้องดังกล่าวเห็นได้ว่าแม้ผ.จะรับเงินค่าที่ดินไปจากโจทก์ทั้งสองแล้วผ. ก็ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้เพียงแต่ให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและตกลงจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ในภายหลังคำฟ้องดังกล่าวจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสอง ผ.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จริงโดยได้รับเงินค่าที่ดินพิพาทแล้วและได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาแม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้ทำเป็นหนังสือแต่เมื่อมีการชำระหนี้กันแล้วก็มีผลใช้บังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองเมื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิยึดหน่วงไว้จนกว่าจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์แม้ผ.จะถึงแก่ความตายแล้วกว่า30ปีโจทก์ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของผ. ให้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241และมาตรา193/27คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดที่ดินตัดสิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองผู้ขออายัด แม้มีข้อตกลงระหว่างคู่กรณี
ตามเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้ว การอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นและคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 228/2530 ข้อ 12 (2) ที่เปิดช่องให้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ในระหว่างที่การอายัดยังมีผลบังคับในกรณีที่ศาลสั่งหรือการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ไม่เสียหายแก่ผู้ขออายัด แต่ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า โจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้ทำสัญญาตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ยินยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส.ชนะคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 425/2531 นั้น ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้ยันกันเองระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.เท่านั้น ดังนั้นหาก ส.ชนะคดีผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามป.วิ.พ.มาตรา 145 ทั้งข้อตกลงนี้ไม่ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีอันอาจจะเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ ดังนั้นหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้นายสมชายชนะคดี และปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่ ส. ส.ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องฟ้องบังคับให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ ซึ่งจะทำให้ ส.ได้รับความเสียหายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดินกระทบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์ เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจปฏิเสธการจดทะเบียนได้
ตามเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตามประมวลที่ดินมาตรา83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วการอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นและคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่228/2530ข้อ12(2)ที่เปิดช่องให้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ในระหว่างที่การอายัดยังมีผลบังคับในกรณีที่ศาลสั่งหรือจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ไม่เสียหายแก่ผู้ขออายัดแต่ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้ทำสัญญาตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ยินยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส. ชนะคดีแพ่งหมายเลขดำที่425/2531นั้นข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้ยันกันเองระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัดก.เท่านั้นดังนั้นหากส. ชนะคดีผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัดก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145ทั้งข้อตกลงนี้ไม่ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีอันอาจจะเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ดังนั้นหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้นายสมชายชนะคดีและปรากฎว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่ส. ส. ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องฟ้องบังคับให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ซึ่งจะทำให้ส. ได้รับความเสียหายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำเลยที่2ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดก. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การชำระราคาครบถ้วนภายในกำหนด และหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ของจำเลย
ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า คู่สัญญาตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาตารางวาละ 1,200 บาท และค่าบริการอีก ตารางวาละ 1,300 บาท รวมเป็นเงิน160,000 บาท ในการจะซื้อขายนี้ โจทก์ผู้จะซื้อวางมัดจำให้จำเลยผู้จะขายไว้แล้วจำนวน5,000 บาท จำเลยได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว โจทก์ตกลงชำระค่าที่ดินและค่าบริการที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นรายเดือน ๆ ละ 2,676 บาท ภายในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป โจทก์ตกลงจะนำค่าที่ดินและค่าบริการชำระให้แก่จำเลยให้ครบถ้วนภายใน 7 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้ โจทก์จำเลยได้กำหนดวันจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการครบถ้วนแล้ว และตอนล่างของสัญญาดังกล่าวมีบันทึกรับผ่อนเงินดาวน์ (เงินมัดจำ) อีกจำนวน 15,000 บาท โดยจำเลยลงชื่อรับไว้ ดังนี้ สำหรับเงื่อนเวลา 7 ปีที่สัญญาระบุให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้ครบถ้วนนั้นเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ คือโจทก์ในภาระหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าที่ดินและค่าบริการแก่จำเลย ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเวลา 7 ปี ตามสัญญาเท่านั้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462-463/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์และฎีกา การบังคับชำระหนี้และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่ปรากฏในฟ้องอุทธรณ์
จำเลยมิได้มีคำขอท้ายอุทธรณ์ให้โจทก์รับเงินค่าที่ดินพร้อมตึกแถวและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยและมิได้เสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอุทธรณ์ในประเด็นนี้ศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดิน กรณีเช่านาและโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่แบ่งให้ผู้เช่าร่วม
ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองร่วมกันเช่านาของนายบ. ต่อมาผู้ให้เช่าบอกเลิกการเช่านาในการนี้ผู้ให้เช่าจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้เช่าทุกคนไร่ละ1,000บาทรวมเป็นเงิน69,000บาทและผู้ให้เช่ายกที่นาที่ให้เช่าบางส่วนเนื้อที่200ตารางวาให้แก่ผู้เช่าคนละ50ตารางวาจำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไปทั้งหมดและรับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเนื้อที่200ตารางวาเป็นชื่อจำเลยที่2คนเดียวโดยโจทก์ทั้งสองไม่รู้เห็นเมื่อโจทก์ทั้งสองทราบเรื่องจึงขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่จำเลยทั้งสองปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเห็นได้ชัดแล้วว่าโจทก์ทั้งสองขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดินที่ให้เช่ามอบให้แก่โจทก์ทั้งสองตามส่วนแต่จำเลยทั้งสองรับไว้แล้วไม่ยอมแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ทั้งสองเองไม่ใช่เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมการที่โจทก์ทั้งสองเสนอข้อพิพาทให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาวินิจฉัยและศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายก็หามีผลให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้แบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองได้อยู่แล้วโดยไม่ต้องอาศัยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวเสียไปไม่และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ให้เช่านาได้จ่ายเงินค่าทดแทนและมอบที่ดินให้แก่ผู้เช่านาคือโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองโดยจำเลยทั้งสองรับเงินค่าทดแทนไว้แล้วและได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้ในชื่อของจำเลยที่2ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งเงินค่าทดแทนและจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาโอนกรรมสิทธิ์และค่าตอบแทน: จำเลยผิดสัญญาเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงหลังรับค่าตอบแทนแล้ว
จำเลยได้ตกลงให้โจทก์ขยายระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทหลังจากครบกำหนดระยะเวลาโอนตามสัญญาจะซื้อจะขายออกไปได้โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาโดยโจทก์จะต้องชำระเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์พร้อมจึงได้บอกกล่าวชำระเงินส่วนที่เหลือและเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยพร้อมกำหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ แต่ครบกำหนดแล้วจำเลยเพิกเฉย จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำฟ้องระบุว่าโจทก์ตกลงจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าตอบแทนในการที่จำเลยตกลงขยายระยะเวลาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่โจทก์เสนอชดใช้ให้ตามฟ้องนั้นไม่เหมาะสมหรือน้อยไปแต่ประการใด จึงถือได้ว่าจำเลยไม่ติดใจโต้เถียงในจำนวนเงินที่โจทก์เสนอชดเชยให้แก่จำเลยตามฟ้อง และจำเลยยอมรับในประเด็นดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อนี้ขึ้นมานั้นจึงเป็นฎีกานอกประเด็นเกินไปกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่ปรากฏในคำให้การ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำฟ้องระบุว่าโจทก์ตกลงจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นค่าตอบแทนในการที่จำเลยตกลงขยายระยะเวลาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์เป็นเงิน 100,000 บาท เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่โจทก์เสนอชดใช้ให้ตามฟ้องนั้นไม่เหมาะสมหรือน้อยไปแต่ประการใด จึงถือได้ว่าจำเลยไม่ติดใจโต้เถียงในจำนวนเงินที่โจทก์เสนอชดเชยให้แก่จำเลยตามฟ้อง และจำเลยยอมรับในประเด็นดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อนี้ขึ้นมานั้นจึงเป็นฎีกานอกประเด็นเกินไปกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่ปรากฏในคำให้การ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ค่าที่ดินควบคู่กับการโอนกรรมสิทธิ์
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์โดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินพิพาทที่ค้างชำระไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา369แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ฟ้องแย้งและอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาซื้อขาย โจทก์มีหลักฐานยืนยันการผิดสัญญาของจำเลย และคำเบิกความของพยานจำเลยไม่มีน้ำหนัก
จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบพยานภายหลังมิได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้ในเวลาที่พยานเบิกความเพื่อให้พยานอธิบายถึงข้ออ้างของจำเลยคำเบิกความของพยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อ