คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในที่ดิน แม้มีการโอนต่อและจำนอง
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่า จำเลยที่ 1รับโอนที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันคู่ความจนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสีย ดังนั้น ในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์เกี่ยวกับที่พิพาท การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 นำไปจำนองกับจำเลยที่ 3 ย่อมมิอาจนำ ป.พ.พ. มาตรา237 มาใช้บังคับ โจทก์ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่พิพาทของจำเลยที่ 1 และการจำนองที่พิพาทของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินของบุคคลล้มละลาย: สิทธิอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผลของการมอบอำนาจ
ศ. เป็นบุคคลล้มละลายได้มอบอำนาจให้โจทก์โอนที่ดินที่มีโฉนดและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) รวมจำนวน45 แปลงให้โจทก์ โดยอ้างว่า ศ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์ การที่ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1773 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองดังนั้น ที่ดินทั้ง 45 แปลงดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 109(1)เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 22(1)ศ.บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินเป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยเสน่หา vs. ซื้อขาย: ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานและเจตนาที่แท้จริง
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่พิพาทแก่จำเลยเพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเบื้องต้นว่า โจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หาเพราะโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากจำเลย การที่จำเลยอ้างเหตุต่อมาว่าความจริงเป็นการซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์และจำเลย ก็เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธของจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หานั่นเอง ไม่ทำให้เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันจนไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จำเลยจะนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยเสน่หา vs. ซื้อขาย: ศาลวินิจฉัยจากพยานหลักฐานและเหตุผลสมเหตุสมผล
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้ที่พิพาทแก่จำเลยเพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณ จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หาเพราะโจทก์ได้รับค่าตอบแทนจากจำเลย การที่จำเลยอ้างเหตุต่อมาว่าความจริงเป็นการซื้อขายซึ่งเป็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์และจำเลย ก็เป็นเหตุแห่งการปฏิเสธของจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้จำเลยโดยเสน่หานั่นเอง ไม่ทำให้เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันจนไม่ก่อให้เกิดประเด็นที่จำเลยจะนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการโอนที่ดินตาม ป.ที่ดิน ม.31: การโอนที่ดินภายใต้เงื่อนไขห้ามโอน และข้อยกเว้น
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ขายให้แก่จำเลยและจำเลยได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขการห้ามมิให้โอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 แม้จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย และโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วก็ตาม แต่เมื่อ ป.ที่ดิน มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะการโอนโดยทางนิติกรรม แต่ในทางตรงกันข้ามกลับมีบัญญัติไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ว่าความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ที่ดินนั้นตกทอดทางมรดก ซึ่งการตกทอดทางมรดกก็มิใช่นิติกรรม จึงเป็นการเน้นให้เห็นเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวว่า แม้การที่ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนนี้ต้องเปลี่ยนมือไปเพราะการตกทอดทางมรดกซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมายมรดกก็ยังต้องบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ ดังนั้นการใดที่เป็นเหตุให้ที่ดินซึ่งอยู่ในเงื่อนไขห้ามโอนโอนจะต้องโอนไปและการนั้นมิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ในมาตรา 31 วรรคสอง ย่อมไม่อาจโอนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยการนั้นได้ในทุกกรณี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของโจทก์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยเอกสารปลอมและการคุ้มครองกรรมสิทธิ์เจ้าของเดิม แม้มีการจดทะเบียนโดยสุจริต
มีคนร้ายลักโฉนดที่ดินพิพาทไปจาก ส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ แล้วปลอมลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. ในหนังสือมอบอำนาจ และใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมนั้นไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินต่อกันมาเป็นทอด ๆ น.เป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทคนหลังสุด เมื่อ ส.ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททุกทอดจนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของส.เจ้าของเดิมมาโดยตลอด
แม้จำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทจาก น.ซึ่งมิใช่เจ้าของโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ใช่เหตุที่จะพึงยกขึ้นกล่าวอ้างยันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงได้ เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากผู้ที่มิใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริงการจำนองก็ไม่ผูกพันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะเป็นฝ่าฝืนป.พ.พ. มาตรา 705

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินจากการโอนที่ดินโดยไม่ชอบ ผู้รับจำนองยันเจ้าของที่แท้จริงไม่ได้
มีคนร้ายลักโฉนดที่ดินพิพาทไปจาก ส. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แล้วปลอมลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. ในหนังสือมอบอำนาจ และใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมนั้นไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินต่อกันมาเป็นทอด ๆน. เป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทคนหลังสุด เมื่อ ส. ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททุกทอดจนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. เจ้าของเดิมมาโดยตลอด แม้จำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทจาก น. ซึ่งมิใช่เจ้าของโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทั้งได้จดทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ใช่เหตุที่จะพึงยกขึ้นกล่าวอ้างยันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงได้ เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินพิพาทไว้จากผู้ที่มิใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริงการจำนองก็ไม่ผูกพันผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะเป็นฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 705

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินต้องทำตามฟอร์มและจดทะเบียน การครอบครองจึงไม่สมบูรณ์หากยังมิได้จดทะเบียน
การยกให้ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก)โดยผู้ให้ประสงค์จะยกให้โดยการทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิใช่เจตนาสละการครอบครอง การให้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา 4 ทวิ เมื่อ ป. เจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก ยกที่ดินพิพาทให้แก่จ. แต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมให้จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่ จ. เข้าครอบครองที่ดินจึงเป็นการครอบครองแทนเจ้าของ มิใช่ยึดถือครอบครองในฐานะเจ้าของ จึงไม่มีสิทธิครอบครอง ต่อมา ป. ยกเลิกการให้ที่ดินพิพาทแก่ จ. และได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่ ล. แทน เมื่อ ป. ถึงแก่กรรมล. ได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของ ป.แล้วจ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องที่ดินพิพาทจาก ล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินก่อนล้มละลาย: การจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ มิใช่การโอนทรัพย์สินเพื่อเลี่ยงการบังคับชำระหนี้
ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และ ส. มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนการโอนที่ดินดังกล่าว เป็นเพียงจดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านที่ 1 และ ส.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเท่านั้นหาใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิขอให้เพิกถอนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินช่วงล้มละลาย: สัญญาเช่าซื้อ vs. ซื้อขายผ่อนส่ง และการหลีกเลี่ยงภาษี
ผู้คัดค้านทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรขาย มีผู้จองซื้อที่ดินจากผู้คัดค้านจำนวน 96 ราย รวมทั้งลูกหนี้ด้วยผู้คัดค้านให้ผู้จองซื้อที่ดินทำสัญญาเช่าซื้อไว้ และก่อนทำการแบ่งแยกเป็นโฉนดแปลงย่อย ผู้คัดค้านใส่ชื่อผู้จองซื้อที่ดินทั้งหมดลงในโฉนดที่ดินเป็นการซื้อร่วมกับผู้คัดค้าน และเมื่อเจ้าพนักงานออกโฉนดที่ดินแปลงย่อยแล้วมีชื่อผู้จองซื้อที่ดินเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแต่ละแปลงซึ่งเป็นการให้ผู้จองซื้อที่ดินถือกรรมสิทธิ์แทนผู้คัดค้านเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีอีกชั้นหนึ่ง ทั้งเป็นการอำพรางว่าผู้คัดค้านมิได้จัดสรรที่ดิน ผู้คัดค้านให้ผู้จองซื้อที่ดินลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจไว้ใช้ดำเนินการโอนที่ดินเป็นของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้จองซื้อที่ดินผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ และผู้คัดค้านเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินไว้แสดงว่าผู้คัดค้านและผู้จองซื้อที่ดินมีเจตนาให้ผูกพันต่อกันอย่างสัญญาเช่าซื้อไม่ใช่สัญญาซื้อขายโดยวิธีผ่อนส่งราคา เมื่อลูกหนี้ค้างชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกันผู้คัดค้านทวงถามแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ ผู้คัดค้านกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจที่ลูกหนี้ลงชื่อไว้ล่วงหน้าไปดำเนินการโอนที่ดินใส่ชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิที่ดิน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการที่ลูกหนี้โอนชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้าน หากแต่เป็นการโอนให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงจึงไม่ใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ให้ผู้คัดค้านโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องขอเพิกถอนการโอนตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
of 33