พบผลลัพธ์ทั้งหมด 632 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำโดยเจ้าพนักงานประเมิน หลังศาลมีคำพิพากษาแล้ว ถือเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในครั้งแรกเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีการค้าโจทก์สำหรับรายรับในเดือนธันวาคม 2529 โดยอ้างว่าโจทก์มีรายรับต้องเสียภาษีการค้าจำนวน 3,876,591.69 บาทและโจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม รวมเป็นเงิน336,449.37 บาท ตามการประเมินแล้วแต่รายรับตามจำนวนที่ศาลภาษีอากรกลางและตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1768/2536ให้หักออกจากการประเมินมีจำนวน 3,454,107.77 บาทโจทก์จึงมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าอยู่อีกจำนวน422,483.92 บาท ตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางและคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวได้พิพากษาให้นำรายรับ จำนวน 3,454,107.77 บาท มาหักออกจากยอดรายรับตามการประเมิน จำนวน 3,876,591.69 บาท เหลือรายรับเท่าใดแล้ว จึงคำนวณ ภาษีการค้า หากมีภาษีการค้าที่จะต้องคืนแก่โจทก์ให้จำเลย คืนภาษีการค้าพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แม้จะได้ความว่า ต่อมาโจทก์ได้ขอคืนเงินภาษีและจำเลย ได้คืนเงินที่โจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มให้แก่ โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ซึ่งเป็น กรณีที่จำเลยคืนภาษีการค้า เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ให้แก่โจทก์ไปเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนตามคำพิพากษา ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเรียกเงินที่ชำระแก่โจทก์เกินไปคืน การที่จำเลยกลับมาทำการประเมินและปรากฏว่า รายรับพิพาทจำนวน 422,483.92 บาท เป็นรายรับ ที่รวมอยู่ในจำนวนเดียวกันกับรายรับจำนวน 3,876,591.69 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้เคยทำการประเมินแล้ว การที่ เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีการค้าสำหรับรายรับ พิพาทจำนวน 422,483.92 บาท จึงเป็นการประเมินซ้ำกับ การประเมินครั้งแรก ทำให้โจทก์เสียหาย ต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเพียงภาษีการค้าที่จำเลยคืนให้โจทก์เกินไปเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มแต่อย่างใดทำให้หนังสือแจ้งภาษีการค้าดังกล่าว เป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ออกโดยไม่มีอำนาจ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบตามไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซ้ำ และการคืนเงินภาษีเกินสิทธิ ทำให้การประเมินภาษีครั้งหลังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในครั้งแรกเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินภาษีการค้าโจทก์สำหรับรายรับในเดือนธันวาคม 2529 โดยอ้างว่าโจทก์ มีรายรับต้องเสียภาษีการค้าจำนวน 3,876,591.69 บาท และโจทก์ได้ชำระภาษีการค้า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน 336,449.37 บาท ตามการประเมินแล้ว แต่รายรับตาม จำนวนที่ศาลภาษีอากรกลางและตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1768/2536 ให้หักออกจากการประเมินมีจำนวน 3,454,107.77 บาท โจทก์จึงมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าอยู่อีกจำนวน 422,483.92 บาท ตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางและ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวได้พิพากษาให้นำรายรับ จำนวน 3,454,107.77 บาท มาหักออกจากยอดรายรับตาม การประเมินจำนวน 3,876,591.69 บาท เหลือรายรับเท่าใด แล้วจึงคำนวณภาษีการค้า หากมีภาษีการค้าที่จะต้องคืนแก่โจทก์ให้จำเลยคืนภาษีการค้าพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปี แม้จะได้ความว่า ต่อมาโจทก์ได้ขอคืนเงินภาษีและจำเลย ได้คืนเงินที่โจทก์ได้ชำระภาษีการค้าเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ให้แก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยคืนภาษีการค้า เบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ให้แก่โจทก์ไปเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนตามคำพิพากษา ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องเรียกเงินที่ชำระแก่โจทก์ เกินไปคืน การที่จำเลยกลับมาทำการประเมินและปรากฏว่า รายรับพิพาทจำนวน 422,483.92 บาท เป็นรายรับที่รวมอยู่ ในจำนวนเดียวกันกับรายรับจำนวน 3,876,591.69 บาท ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้เคยทำการประเมินแล้ว การที่ เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีการค้าสำหรับรายรับพิพาท จำนวน 422,483.92 บาท จึงเป็นการประเมินซ้ำกับการประเมินครั้งแรก ทำให้โจทก์เสียหายโดยต้องชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเพียงภาษีการค้าที่ จำเลยคืนให้โจทก์เกินไปเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ต้องชำระเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มแต่อย่างใด ทำให้หนังสือแจ้งภาษีการค้าดังกล่าว เป็นหนังสือแจ้งการประเมินที่ออกโดยไม่มีอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบตามไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2160/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่วางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ ทำให้ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ แม้จะยื่นคำร้องขอขยายเวลาภายหลัง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 บัญญัติบังคับไว้ให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยไม่ได้นำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลให้ครบถ้วนพร้อมกับอุทธรณ์ย่อมเป็นการไม่ชอบ จำเลยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายกำหนดระยะเวลาที่จะนำเงินค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 มาวางศาล แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเพราะไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะอนุญาต ดังนี้แม้ต่อมาหลังจากครบกำหนดอายุอุทธรณ์ จำเลยจะได้นำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้อง ใช้แทนโจทก์มาวางศาลก็ตาม แต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้ว กรณีเช่นว่านี้ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ของจำเลยได้ทันที เพราะไม่ใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวาง ค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้อง สั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อน ที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีใหม่เพื่อโต้แย้งการบังคับคดีตามคำพิพากษาเดิมเป็นอสังหาริมทรัพย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า คดีก่อนศาลมิได้มีคำพิพากษา ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของโจทก์ และเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 โฉนดทั้งที่ศาลมิได้พิพากษาให้แบ่งแยกตามรูปแผนที่ท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องที่โต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาว่าไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 302 วรรคหนึ่ง มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องกระทำก่อนสิ้นกำหนด หากเลยกำหนดแม้มีเหตุผลก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จะต้องกระทำ เสียก่อนระยะเวลายื่นอุทธรณ์สิ้นสุดลงเว้นแต่กรณีที่ มีเหตุสุดวิสัย แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ครั้งสุดท้ายเมื่อเลยกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต ในครั้งก่อนที่ให้ยื่นอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ในครั้งสุดท้ายดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายอุทธรณ์ของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับมาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดอายุอุทธรณ์เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 246 ประกอบมาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องกระทำก่อนหมดกำหนดเวลา หากเลยกำหนดแม้มีเหตุผลก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทราบคำสั่งศาลแล้ว แต่โจทก์อ้างว่าโจทก์ ไม่ทราบคำสั่งศาลด้วยตนเองเพราะสำนวนอยู่ในระหว่าง เสนอผู้พิพากษาตรวจและลงลายมือชื่อนั้นมิใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จะต้อง กระทำเสียก่อนระยะเวลายื่นอุทธรณ์สิ้นสุดลงเว้นแต่กรณีที่มี เหตุสุดวิสัย แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ครั้งสุดท้ายเมื่อเลยกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตในครั้งก่อน ที่ให้ยื่นอุทธรณ์ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งศาลชั้นต้น ที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ในครั้งสุดท้าย ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายอุทธรณ์ของโจทก์ที่ศาลชั้นต้น สั่งรับมาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดอายุอุทธรณ์ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 และเป็นข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246 ประกอบ มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพแล้วมาโต้แย้งข้อเท็จจริงในชั้นฎีกา เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายกัญชาดังกล่าวส่วนหนึ่งแก่ผู้ล่อซื้อ จำเลย ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลย จะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่ากัญชาของกลางมิใช่ของจำเลย และไม่เคยมีผู้ล่อซื้อกัญชาจากจำเลยหาได้ไม่ เพราะเป็นการ โต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็น การยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งเป็นปัญหาที่ มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกด้วย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การคำนวณกำไรสุทธิ และการเรียกเก็บเบี้ยปรับซ้ำซ้อน
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลา บัญชีปี 2538 ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบ ของกรมสรรพากรโจทก์ ทำให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่สามารถ คำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่านั้น ย่อมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 ในรอบระยะเวลาบัญชี ปีพิพาท จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ของรอบระยะเวลาหกเดือน (แบบ ภ.ง.ด.51) ระบุว่า ไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระ แต่เจ้าพนักงานได้ประเมิน ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตาม มาตรา 71 แห่งประมวลรัษฎากร คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท ดังนั้น เมื่อนำภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท มาคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่ง ของกำไรสุทธิเท่ากับ 16,662,230.17 บาท เมื่อคูณด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วคิดเป็นภาษีที่จำเลยต้องชำระ สำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,998,669.05 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคำนวณ ภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ ที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควรจำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวน เงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ส่วนเบี้ยปรับที่เจ้าพนักงานประเมิน เนื่องจากการที่จำเลยมิได้ชำระภาษีของรอบระยะเวลาหกเดือนตาม มาตรา 22 นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรีได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มใน อัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมิน ได้ประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน ประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็น กรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22แห่งประมวลรัษฎากรอีก การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการ ประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ แก่โจทก์ แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายโดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการไม่แจ้งนัดพิจารณาคดี ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นสั่งไม่รับฟ้อง
พนักงานอัยการโจทก์มอบคำฟ้องให้เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการมายื่นต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นประกาศเรียกโจทก์และให้เจ้าหน้าที่โทรศัพท์แจ้งให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถามแล้ว แต่โจทก์ไม่มา เมื่อไม่ปรากฏว่าที่ศาลชั้นต้นนัดให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถามเป็นเรื่องอะไร จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 166 และ 181 ไม่ได้
โจทก์มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์มายื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบมอบฉันทะตาม ป.วิ.พ.มาตรา 64 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15การยื่นคำฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นจะสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 และศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นสั่งไม่รับฟ้อง
โจทก์มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์มายื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบมอบฉันทะตาม ป.วิ.พ.มาตรา 64 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15การยื่นคำฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นจะสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 และศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นสั่งไม่รับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการพิจารณาคดีโดยไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นนัดให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถาม ไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องอะไร จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดสืบพยานโจทก์ ศาลจะพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 และ 181 ไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์มายื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบมอบฉันทะตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การยื่นคำฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลชั้นต้นจะสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15