พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องโดยไม่สุจริตในคดีล้มละลาย ศาลเพิกถอนการโอนและกำหนดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินผู้คัดค้านจำนวน 5,000,000 บาทและได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 5,000,000 บาท มอบให้ผู้คัดค้านไว้กำหนดชำระเงินเมื่อทวงถาม จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1เป็นผู้ให้เช่าซื้อไปให้ผู้คัดค้านจำนวน 84 รายเป็นเงิน6,761,375 บาท เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งกระทำขึ้นในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้ล้มละลาย โดยผู้คัดค้านรับโอนมาโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ย่อมขอให้เพิกถอนการโอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้คัดค้านย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่กลับคืนมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากผู้เช่าซื้อต่อไปได้ ส่วนผู้คัดค้านต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับไว้แล้วตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดในเงินค่าเช่าซื้อที่ยังมิได้รับชำระ การเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114 เป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ ยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ผู้คัดค้านต้องรับผิดตามกฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน เพิกถอนได้หากผู้รับโอนรู้ถึงฐานะหนี้สินของผู้โอน
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 อ้างว่าให้จำเลยกู้ยืมเงินครั้งละ500,000 บาท รวม 4 ครั้ง และผู้คัดค้านที่ 2 อ้างว่าให้จำเลย กู้ยืมเงินรวม 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,300,000 บาท โดยไม่มีหลักฐาน การจ่ายเงินหรือหลักฐานการกู้ยืมเงิน และไม่มีหลักประกันใด ๆ ทั้งที่เงินที่ให้กู้ยืมก็มีจำนวนมาก และผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็น ผู้ประกอบการค้าน่าจะมีบัญชีเงินฝากในธนาคารซึ่งสามารถนำสืบถึง หลักฐานการจ่ายเงินให้กู้ได้ การที่ผู้คัดค้านที่ 1 นำสืบว่าให้ กู้ไปแล้วได้รับชำระหนี้เป็นหุ้นกู้จึงทำลายหลักฐานการกู้ยืมรวม ทั้งเช็คที่จำเลยจ่ายให้ ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 อ้างเพียงว่าให้ จำเลยกู้ยืมเงิน โดยไม่มีพยานหลักฐานใด มาสืบสนับสนุนข้ออ้าง จึง ไม่น่าเชื่อว่าผู้คัดค้านทั้ง สองได้ให้จำเลยกู้ยืมเงินจริง ทั้ง ในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทั้งสองให้การว่าผู้คัดค้านทั้งสองรู้จักสนิทสนมกับ ช.กรรมการผู้จัดการบริษัทท. มานานแล้ว การรับโอนหุ้นของจำเลย ก็โอนมาจากบริษัทดังกล่าว นี้ ดังนั้น ผู้คัดค้านทั้งสองจึงน่าจะรู้ถึงฐานะและการมีหนี้สิน ของจำเลยดี และรู้ถึงการที่จำเลยถูกโจทก์ฟ้องและถูกบังคับคดี การที่ผู้คัดค้านทั้งสองรับโอนหุ้นของจำเลยไว้จึงเป็นการรับโอนไว้โดย ไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน การเพิกถอนการโอนหุ้นเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยัง ไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือเป็นการโอน โดย ชอบอยู่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แต่งทนายความแก้ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าสร้างและการฉ้อฉล โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนการโอนได้ หากการโอนนั้นกระทำโดยไม่สุจริต
คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์แล้วแต่จำเลยทั้งสาม โดยไม่สุจริต โอนสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3โดยไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียสิทธินั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ให้ศาลเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1ลูกหนี้ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 และการโอนสิทธิดังกล่าวจะสำเร็จบริบูรณ์ได้ก็โดยผู้รับโอนซึ่งได้สิทธินั้นต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าวจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนในสิทธิการเช่าสร้างนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้ จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้วต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 แล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารสร้างเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2ระบุว่าผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้ เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2 มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้นก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการฝากเงินของผู้ชำระบัญชีที่ไม่สุจริตในคดีล้มละลาย
จำเลยเป็นบริษัทเงินทุนถูกกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนอันเป็นเหตุให้บริษัทจำเลยต้องเลิกไปตามกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ชำระบัญชี รวบรวมทรัพย์สินได้เงินสดจำนวนหนึ่ง โจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2527 ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2527ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลย ได้นำเงินสดของบริษัทจำเลยไปฝากไว้กับธนาคารผู้คัดค้านที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ขณะรับฝากเงินผู้คัดค้านที่ 2 ทราบอยู่แล้วว่าบริษัทจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ซึ่งจะต้องถูกเพิกถอน การที่ผู้คัดค้านที่ 2 จะได้รับประโยชน์จากการฝากเงินของจำเลยหรือไม่ มิใช่ข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิในที่ดินพิพาท
จำเลยที่ 1 ให้การไว้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินจาก จ. โดยไม่สุจริตศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 1 ใครมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน ถือว่าเป็นการกำหนดครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ด้วย โจทก์ซื้อที่ดินมีโฉนดจาก จ. โดยจดทะเบียนถูกต้อง ก่อนซื้อจ. บอกว่าได้ให้จำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาท และโจทก์ก็เห็นจำเลยที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่พิพาทมากว่า 10 ปี แต่โจทก์ไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่าอาศัย จ. อยู่ในที่พิพาทจริงหรือไม่ถือว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทมาจาก จ. โดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1ย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่พิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดวันเดือนปีเช็คหลังออกไปนานกว่า 13 ปี โดยไม่สุจริต และการร่วมกันฉ้อฉลทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คผู้ถือมอบให้ ส.ยึดถือไว้เมื่อปี 2516 มีจำเลยที่ 2 สลักหลังโดยไม่ได้ลงวันที่ออกเช็ค ต่อมาปี 2529 ส. นำเช็คมาจดวันเดือนปีที่ออกเช็คแล้วมอบให้แก่โจทก์หลังจากที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คให้แล้วเป็นเวลานานกว่า13 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอมให้ ส. ทำเช่นนั้น จะถือว่าส. ได้จดวันเดือนปีที่ออกเช็คโดยสุจริตหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเก่าลงวันที่ไม่สุจริต โจทก์ทนายความรู้เห็นเป็นใจ ฉ้อฉลจำเลย ศาลไม่รับรอง
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันเป็นเช็คผู้ถือมอบให้ ส. ยึดถือไว้เมื่อปี 2516 มีจำเลยที่ 2 สลักหลังโดยไม่ได้ลงวันที่ออกเช็ค ต่อมาปี 2529 ส. จึงนำเช็คพิพาทมาจดวันเดือนปีที่สั่งจ่าย แล้วมอบให้แก่โจทก์หลังจากที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทให้แล้วเป็นเวลานานกว่า 13 ปี ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1ได้ยินยอมให้ ส.ทำเช่นนั้นจะถือว่าส. ได้จดวันเดือนปีที่ออกเช็คพิพาทโดยสุจริตหาได้ไม่ โจทก์เป็นทนายความ โจทก์อ้างว่าได้รับเช็คพิพาทมาจาก ส.เป็นค่าว่าความและทราบว่าเช็คพิพาทสั่งจ่ายตั้งแต่ปี 2516 เมื่อลายมือชื่อและสีของน้ำหมึกที่จดวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเช็คพิพาทแตกต่างจากลายมือชื่อและสีของน้ำหมึกของผู้สั่งจ่ายเห็นได้ชัดโจทก์จะต้องทราบข้อกฎหมายว่าผู้ที่จะจดวันเดือนปีที่ออกเช็คพิพาทที่ไม่ได้ลงวันเดือนปีที่สั่งจ่ายได้จะต้องกระทำโดยสุจริต และจดลงตามวันที่ถูกต้องแท้จริง การที่โจทก์ไม่สงสัยว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่ใครเป็นผู้สั่งจ่าย และผู้จดวันที่สั่งจ่ายเป็นใครนั้นเป็นการผิดปกติวิสัยของโจทก์ซึ่งมีอาชีพทนายความ โจทก์รับเช็คพิพาทจาก ส. ไว้โดยรู้ว่าเป็นเช็คที่จำเลยออกมานานกว่า 10 ปีแล้วย่อมถือว่าโจทก์ไม่สุจริตคบคิดกับ ส. ฉ้อฉลจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินชำระหนี้โดยไม่สุจริตและเสียเปรียบ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องราคาที่ดินคืนได้
จำเลยที่ 2 กู้เงินผู้คัดค้านสองจำนวน จำนวนละ 500,000 บาทจำนวนแรกไม่ได้มีหลักฐานการกู้ เพียงออกเช็ค 2 ฉบับไม่ลงวันที่มอบให้ผู้คัดค้านยึดถือจำนวนที่สองนำที่ดินพิพาท 8 แปลงมาจำนองยอมให้ถือว่าสัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินโดยมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ให้ผู้คัดค้านโอนที่ดินจำนองชำระหนี้ได้ จำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ผู้คัดค้านโอนที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลงเป็นของผู้คัดค้าน แม้การรับจำนองดังกล่าวได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน และการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้จำนองเป็นการโอนโดยมีค่าตอบแทนแต่ที่ดิน 8 แปลง ที่นำมาจำนองมีราคาถึง 1,000,000บาท เศษ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ผู้คัดค้านอยู่เพียง 500,000 บาทการที่ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาททั้ง 8 แปลงจึงเป็นการกระทำที่รู้อยู่แล้วว่าทำให้จำเลยที่ 2 และเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 2เสียเปรียบ ย่อมถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านรับโอนไว้โดยสุจริตชอบที่จะเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นพิมพ์จำนวนเงินผิด เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข การเพิกถอนการโอนที่ดินเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาถือเป็นการโอนโดยชอบ ยังถือไม่ได้ว่าผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ-รู้เห็นเป็นใจ: ผู้ให้เช่าซื้อไม่สุจริต ขอคืนรถไม่ได้ แม้เกิดความเสียหาย
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า ตั้งแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อเป็นต้นไป หากเกิดความเสียหายใด ๆ แก่ทรัพย์สินที่เช่าซื้อในระหว่างอายุสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชดใช้เงินค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่ทั้งสิ้น ข้อสัญญาดังกล่าวแสดงวัตถุประสงค์อยู่ในตัวว่าผู้ให้เช่าซื้อต้องการราคาค่าเช่าซื้อเป็นสำคัญ เมื่อผู้ให้เช่าซื้อทราบว่ารถจักรยานยนต์ของกลางถูกยึดแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อก็ยังคงรับค่าเช่าซื้อต่อมาอีกไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อหรือติดตามเอารถจักรยานยนต์คืน ทั้งผู้ให้เช่าซื้อไม่เคยไปขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนจากพนักงานสอบสวนการที่ผู้ให้เช่าซื้อขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ถือได้ว่าผู้ให้เช่าซื้อรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้ยืมเงิน/ขายลดเช็ค และการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ที่ไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดโดยอาศัยมูลของสัญญากู้เงินและสัญญาขายลดเช็ค มิใช่ฟ้องเรียกเงินตามเช็คโดยตรง เมื่อกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 แม้หลังจากธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่19 ตุลาคม 2525 แล้ว โจทก์ไม่ได้ติดตามทวงถามเงินตามเช็คเอาจากผู้สั่งจ่าย และเพิ่งแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม2527 ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่เพราะจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้มีหนี้ต้องชำระหนี้ให้ถูกต้องตามประสงค์แห่งมูลหนี้แต่กลับละเลยไม่สนใจชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เรื่อยไปตามกฎหมาย.