พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,327 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6866/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างก่อสร้าง, ค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่อง, การหักกลบลบหนี้, การเพิ่มเติมงานต้องมีหลักฐาน
หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารนั้น เป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ฉะนั้น โจทก์จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมผิดไปจากแบบแปลนที่ตกลงกันไว้เดิมได้ ไม่ต้องห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการก่อสร้างชำรุดบกพร่องจำนวน 446,430 บาท ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่จำเลยจำนวน 102,080 บาท จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่าค่าเสียหายส่วนนี้ควรเป็นจำนวน 151,040 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ก็ตามแต่โจทก์ก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยว่าศาลชั้นต้นคิดคำนวณรวมค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่ถูกเป็นเงินเพียง 77,240 บาท เท่านั้น จึงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งในจำนวนค่าเสียหายนี้แล้ว ฉะนั้น ค่าเสียหายส่วนชำรุดบกพร่องนี้จึงหายุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ ทั้งถือเป็นเรื่องแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงมีอำนาจแก้ไขคิดคำนวณใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการก่อสร้างชำรุดบกพร่องจำนวน 446,430 บาท ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่จำเลยจำนวน 102,080 บาท จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่าค่าเสียหายส่วนนี้ควรเป็นจำนวน 151,040 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ก็ตามแต่โจทก์ก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยว่าศาลชั้นต้นคิดคำนวณรวมค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่ถูกเป็นเงินเพียง 77,240 บาท เท่านั้น จึงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งในจำนวนค่าเสียหายนี้แล้ว ฉะนั้น ค่าเสียหายส่วนชำรุดบกพร่องนี้จึงหายุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ ทั้งถือเป็นเรื่องแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงมีอำนาจแก้ไขคิดคำนวณใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเป็นหลักฐานการกู้ยืม ศาลบังคับตามจำนวนเงินกู้จริง
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย สัญญาขายฝากที่ดินจึงเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชำระเงินตามราคาขายฝากที่ดินเป็นต้นเงินกู้ไม่ได้ ต้องบังคับตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยมีเจตนาจะผูกพันในนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยถือเพียงว่าสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองได้กู้ยืมเงินจากจำเลยและโจทก์ทั้งสองได้มอบโฉนดที่ดินของตนให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653: หลักฐานการกู้ยืมและข้อจำกัดการนำสืบการใช้เงิน
หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้นอาจเกิดมีขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ และมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นหลักฐานที่ได้มอบไว้แก่กัน แม้คำให้การพยานที่จำเลยเบิกความไว้ในคดีอาญาของศาลชั้นต้นว่าจำเลยกู้ยืมเงินไปจากโจทก์จะเกิดมีขึ้นภายหลังการกู้ยืมเงินและไม่มีการส่งมอบให้ไว้แก่กันก็ตาม ก็ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินระหว่างจำเลยและโจทก์เป็นกรณีที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้ยืมมาแสดง จำเลยจึงนำสืบการใช้เงินไม่ได้ เพราะเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6412/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งทำให้จำเลยไม่มีสิทธิสืบพยาน และศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์
จำเลยให้การตอนแรกว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาใดๆ ตามฟ้อง ลายมือชื่อในสัญญาเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ตอนหลังจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาตัวแทนและสัญญาอื่นๆ โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ฝ่าฝืน พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากไม่รีบบังคับขายหุ้นเมื่ออัตราส่วนของหลักประกันต่ำลง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ คำให้การของจำเลยขัดแย้งกันถือว่าเป็นคำให้การที่มิได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ว่าไม่ได้ทำสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์ เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามคำให้การและไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ส่งตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานวิทยาการตำรวจจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่สามารถนำผลการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6226/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: สัญญาเช่าและการซื้อขายที่ดินต้องมีหลักฐานชัดเจน การครอบครองแทนเจ้าของ
ที่ดินพิพาทมีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิครอบครองที่ดินซึ่งระบุชื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หากมีการตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจริง จำเลยก็น่าที่จะทำหลักฐานเป็นหนังสือว่าตนได้ตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทไว้แล้วเพื่อรักษาสิทธิของตนเองไว้ คงไม่ทำเพียงสัญญาเช่าอันเป็นการผูกมัดตนเองให้เสียหายผิดไปจากความเป็นจริง อีกทั้งเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมตำบล ม. ว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าที่ดินพิพาท จำเลยก็ไม่ได้ยกความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยอ้างว่าได้ซื้อมาจากโจทก์ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำอุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการทำให้ไม่น่าเชื่อว่าได้มีการตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย และฟังได้ว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ การที่โจทก์ได้บอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยไม่ยอมออกไปไม่อาจถือว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการครอบครองที่ดินพิพาทเป็นยึดถือเพื่อตนไปยังโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 แล้วได้ และจำเลยก็ไม่อาจยกเอาเรื่องการครอบครองของตนหลังจากนั้นขึ้นอ้างว่าเป็นการแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ได้ด้วย ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิดน้ำหนักน้อย ต้องมีหลักฐานอื่นประกอบ หากไม่มีเพียงพอ ศาลยกฟ้องได้
คำซัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การนี้เสียทีเดียว รับฟังได้แต่ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง เพียงแต่คำซัดทอดระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักนัอย ต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบการพิจารณาความผิดด้วย เมื่อพยานโจทก์มีเพียงคำซัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดเพียงปากเดียวไม่มีพยานอื่นมาสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับจำนอง - สัญญาตัวแทน - หลักฐานการมอบอำนาจ - พยานบุคคล - ความสัมพันธ์ตัวการตัวแทน
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดิน ต่อมาโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ เป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้การตั้งตัวแทนจะไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เห็นถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้รับจำนองแทนโจทก์ก็หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินไม่ ไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เห็นถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้รับจำนองแทนโจทก์ก็หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินไม่ ไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน ต้องมีลายมือชื่อผู้กู้ แม้ไม่มีรายละเอียดอื่น ก็ฟ้องร้องได้
ป.พ.พ. มาตา 653 วรรคหนึ่ง บังคับให้ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ยืมจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้โดยไม่จำเป็นว่าหลักฐานเป็นหนังสือนั้นต้องระบุวันเดือนปีที่ทำสัญญา วันเดือนปีที่ครบกำหนดชำระและอัตราดอกเบี้ยไว้
ในวันทำสัญญากู้เงิน ย. ผู้เขียนสัญญาได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ตรงตามจำนวนที่โจทก์จำเลยตกลงกัน และจำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ โจทก์จึงนำสัญญากู้เงินมาฟ้องร้องบังคับคดีได้ ส่วนการกรอกข้อความอื่นๆ แม้จะกระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยหรือจะไม่ระบุไว้เลย ก็ไม่มีผลทำให้หลักฐานการฟ้องร้องที่สมบูรณ์อยู่แล้วและบังคับคับแก่จำเลยได้นั้นเสียไป สัญญากู้เงินจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
ในวันทำสัญญากู้เงิน ย. ผู้เขียนสัญญาได้กรอกจำนวนเงินที่กู้ตรงตามจำนวนที่โจทก์จำเลยตกลงกัน และจำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ โจทก์จึงนำสัญญากู้เงินมาฟ้องร้องบังคับคดีได้ ส่วนการกรอกข้อความอื่นๆ แม้จะกระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยหรือจะไม่ระบุไว้เลย ก็ไม่มีผลทำให้หลักฐานการฟ้องร้องที่สมบูรณ์อยู่แล้วและบังคับคับแก่จำเลยได้นั้นเสียไป สัญญากู้เงินจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาจำเลยร่วม & หลักฐานการกู้ยืมเงิน-การตั้งตัวแทน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วมแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยร่วมนั้นเป็นการไม่ชอบและถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
นิติกรรมที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การนำสืบถึงการตั้งตัวแทนก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยลงลายมือชื่อที่ช่องผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินแทนจำเลยร่วม ปัญหาเรื่องข้อห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
นิติกรรมที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การนำสืบถึงการตั้งตัวแทนก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยลงลายมือชื่อที่ช่องผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินแทนจำเลยร่วม ปัญหาเรื่องข้อห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ ต้องระบุตัวบุคคลชัดเจนหรือเป็นที่เข้าใจได้โดยทั่วไป หากไม่ชัดเจนถือว่าไม่เป็นความผิด
การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 นั้น จะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะและความผิดฐานหมิ่นประมาทที่ได้กระทำโดยการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์นั้นต้องพิเคราะห์จากข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามคำฟ้องเท่านั้นว่า ผู้อ่านสามารถทราบได้หรือไม่ว่าบุคคลที่ถูกกล่าวอ้างตามที่ลงพิมพ์นั้นเป็นผู้ใด ข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามที่โจทก์อ้างมานั้น ไม่มีข้อความในที่ใดที่ระบุชื่อและนามสกุลของโจทก์หรือพอจะให้ทราบได้ว่าเป็นโจทก์ และข้อความว่า "ผู้บังคับการ พ. กองบังคับการหมายเลข 5 ที่กำลังจะเกษียณในปี 2546 ได้ไป 3 ล้านบาท ทำทุนหลังเกษียณ" นั้นก็ไม่ได้ระบุชื่อโดยชัดแจ้งว่าเป็นผู้ใด ชื่อที่ระบุก็เป็นเพียงอักษรย่อเท่านั้น และมิได้ระบุนามสกุล ทั้งสถานที่ทำงานก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นที่ใด บุคคลทั่วไปที่อ่านข้อความย่อมไม่อาจทราบหรือเข้าใจได้ว่าอักษรย่อ พ. หมายความถึงผู้ใดและเป็นเรื่องจริงตามที่ลงพิมพ์หรือไม่ หากต้องการรู้ความหมายว่าเป็นผู้ใดก็ต้องไปสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมทั้งไม่แน่ว่าหลังจากการสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมแล้วจะเป็นตัวโจทก์จริงหรือไม่ และหากหลังจากสืบเสาะค้นหาแล้วจึงทราบว่าหมายความถึงโจทก์ก็มิใช่ทราบจากข้อความที่ลงพิมพ์ แต่ทราบความหมายจากการที่บุคคลผู้นั้นได้สืบเสาะค้นหาข้อเท็จจริงมาเองในภายหลัง หาได้ทราบว่าหมายความถึงโจทก์โดยอาศัยข้อความจากหนังสือพิมพ์ท้ายฟ้องไม่ ลำพังเพียงข้อความตามที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวยังไม่เป็นข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์