พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของ พฤติการณ์ต้องแสดงออกถึงการยึดถือเพื่อตนเองอย่างชัดเจน
การครอบครองโดยปรปักษ์นั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือเพื่อตนเองอย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น ยังจะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วยเจตนาจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย ส่วนจะมีเจตนาเป็นเจ้าของหรือไม่ซึ่งเป็นเรื่องอยู่ภายในจิตใจ ต้องอาศัยพฤติการณ์ต่างๆ แห่งการยึดถือครอบครองมาประกอบว่าพอจะเป็นการยึดถือครอบครองอย่างเป็นเจ้าของได้หรือไม่ สำหรับการครอบครองที่ดินพิพาทของ ม.ย. และจำเลย ก่อนวันที่ 8 สิงหาคม 2509 ไม่ได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่มีเอกสารสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ กรณีจึงรับฟังได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ ส่วนการครอบครองนับแต่วันที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดินแล้ว ก็ไม่ปรากฏถึงพฤติการณ์แห่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของแต่อย่างใด เนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ครอบครองเคยแสดงออก เช่น หวงกันมิให้บุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือดูแลรักษาที่ดินพิพาทไว้เพื่อประโยชน์แห่งตนและปฏิเสธต่อการอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของต่อบุคคลอื่นเป็นต้น ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินร่วมกัน การครอบครองปรปักษ์ครอบคลุมทั้งแปลง
ผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. และของ ก. ทั้งแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อที่ดินพิพาททั้งของ จ. และ ก. ด้วยตนเองโดยตรง เมื่อผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ ก. ด้วย หาใช่ว่าเมื่อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วน ของ จ. แล้วจะครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของ ก. แทน ก. ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเช่นเดียวกับ จ. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันในโฉนดที่ดินด้วยไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ ก. โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
จ. และ ก. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกันจึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททุกตารางนิ้วร่วมกัน เมื่อผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. รวมทั้งที่ดินส่วนของ ก. ทั้งแปลงโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อที่ดินพิพาททั้งของ จ. และ ก. ด้วยตนเองโดยตรง เมื่อผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ ก. ด้วย มิใช่ว่าเมื่อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนของ จ. แล้วจะเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของ ก. แทน ก. ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมเช่นเดียวกับ จ. ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมกันในโฉนดที่ดินด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7171-7182/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางจำเป็น, การรุกล้ำที่ดิน, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, การครอบครองปรปักษ์
การที่จะถือว่าผู้ซื้อได้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1330 นั้น จะต้องได้ความว่าผู้ซื้อรู้หรือควรจะรู้ว่าทรัพย์ที่ตนซื้อมามิใช่ของจำเลยหรือของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลล้มละลาย คดีนี้ได้ความจากคำแถลงของทนายโจทก์ทั้งสองแถลงรับว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 9 ถึงที่ 11 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่จำเลยแต่ละคนได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวมาจากเจ้าของเดิม และขณะที่โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาด โจทก์เห็นว่าที่ดินพิพาทมีการรุกล้ำและครอบครองโดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 9 ถึงที่ 11 ซึ่งตามข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่มีส่วนใดที่แสดงให้เห็นว่า ก่อนหรือขณะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองทราบเรื่องที่จำเลยแต่ละคนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นแต่เพียงรับว่ามีข้อเท็จจริงนั้นอยู่จริงเท่านั้น ดังนั้น จะฟังว่าโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และที่ 9 ถึงที่ 11 จึงไม่อาจอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทใช้ยันโจทก์ทั้งสองได้
ปัญหาว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 อันจะทำให้โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสิบห้าหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ที่ดินพิพาทและที่ดินที่ปลูกสร้างตึกแถวของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ต่างเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในโครงการหมู่บ้าน บ. โฉนดที่ดินพิพาทและโฉนดที่ดินที่ปลูกสร้างตึกแถวของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 รวม 12 ฉบับ ก็ระบุไว้เหมือนกันว่าเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมากจากที่ดินแปลงใหญ่แปลงเดียวกันได้ความว่าเจ้าของโครงการผู้จัดสรรที่ดินเจตนากันที่ดินพิพาทไว้เป็นทางเข้าออกตึกแถวน่าเชื่อว่าเจ้าของโครงการผู้จัดสรรที่ดินได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทเพื่อกันไว้เป็นสาธารณูปโภคเพื่อประโยชน์ในการขายตึกแถวในโครงการนั้นเอง ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรในโครงการรวมถึงที่ดินที่เป็นที่ตั้งตึกแถวของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ด้วย ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โดยไม่จำต้องคำนึงว่าเจ้าของโครงการผู้จัดสรรที่ดินได้สละการครอบครองหรือมีเจตนาที่จะให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมหรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมโดยผลของกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาโจทก์ทั้งสองจะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดในคดีที่บริษัท ป. เจ้าของโครงการผู้จัดสรรที่ดินถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ตาม ก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมในที่ดินพิพาทนั้นสิ้นไป โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่หรือห้ามมิให้จำเลยทั้งสิบห้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 เช่นกัน ยกเว้นกันสาดปูนซีเมนต์ด้านหน้าตึกแถวที่มีมาแต่แรกแล้ว สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ต่อเติมขึ้นภายหลังและรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 จะต้องรื้อถอนออกไป เพราะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์
ทางนำสืบของโจทก์ทั้งสองเพียงแต่กล่าวอ้างลอยๆ ว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายโดยไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์ทั้งสองเสียหายอย่างไร อีกทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1390 โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกได้ ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจะเรียกค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทไม่ได้ จำเลยทั้งสิบห้าจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง
ปัญหาว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 อันจะทำให้โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสิบห้าหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ที่ดินพิพาทและที่ดินที่ปลูกสร้างตึกแถวของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ต่างเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในโครงการหมู่บ้าน บ. โฉนดที่ดินพิพาทและโฉนดที่ดินที่ปลูกสร้างตึกแถวของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 รวม 12 ฉบับ ก็ระบุไว้เหมือนกันว่าเป็นที่ดินที่แบ่งแยกมากจากที่ดินแปลงใหญ่แปลงเดียวกันได้ความว่าเจ้าของโครงการผู้จัดสรรที่ดินเจตนากันที่ดินพิพาทไว้เป็นทางเข้าออกตึกแถวน่าเชื่อว่าเจ้าของโครงการผู้จัดสรรที่ดินได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทเพื่อกันไว้เป็นสาธารณูปโภคเพื่อประโยชน์ในการขายตึกแถวในโครงการนั้นเอง ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรในโครงการรวมถึงที่ดินที่เป็นที่ตั้งตึกแถวของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ด้วย ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น โดยไม่จำต้องคำนึงว่าเจ้าของโครงการผู้จัดสรรที่ดินได้สละการครอบครองหรือมีเจตนาที่จะให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมหรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมโดยผลของกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาโจทก์ทั้งสองจะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการซื้อจากการขายทอดตลาดในคดีที่บริษัท ป. เจ้าของโครงการผู้จัดสรรที่ดินถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ตาม ก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมในที่ดินพิพาทนั้นสิ้นไป โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่หรือห้ามมิให้จำเลยทั้งสิบห้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1388 เช่นกัน ยกเว้นกันสาดปูนซีเมนต์ด้านหน้าตึกแถวที่มีมาแต่แรกแล้ว สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นที่ต่อเติมขึ้นภายหลังและรุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 จะต้องรื้อถอนออกไป เพราะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์
ทางนำสืบของโจทก์ทั้งสองเพียงแต่กล่าวอ้างลอยๆ ว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายโดยไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์ทั้งสองเสียหายอย่างไร อีกทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1390 โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำที่ดินพิพาทซึ่งตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกได้ ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจะเรียกค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทไม่ได้ จำเลยทั้งสิบห้าจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5929/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียน การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบ เปิดเผย และมีเจตนาเป็นเจ้าของ
การซื้อขายที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่หากผู้ซื้อได้ครอบครองที่ดินที่ซื้อขายกันโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทและครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านซึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: แม้เข้าใจผิดว่าเป็นของตนเอง หากเข้าครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของ เกิน 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์
การที่ผู้ร้องทั้งห้าได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นแม้จะเข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของตนเองก็ตาม หากแต่ผู้ร้องทั้งห้าได้ยึดถือครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องรู้มาก่อนว่าที่ดินนั้นเป็นของผู้อื่นแล้วแย่งการครอบครองมาเป็นเวลา 10 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ แม้ผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านทั้งสามโดยเข้าใจผิดว่าเป็นของผู้ร้องทั้งห้าเองก็ถือได้ว่าเป็นการเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้ว หากผู้ร้องทั้งห้าเข้าครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกิน 10 ปี ผู้ร้องทั้งห้าย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: สิทธิในที่ดินเกิดจากการครอบครองต่อเนื่องโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ไม่ได้จดทะเบียน
เดิม ย. และ อ. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ ก. ในที่ดินโฉนดพิพาทต่อมาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 สืบสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนของ ย. เนื้อที่ 8 ไร่ 73 ตารางวา จำเลยที่ 12 และที่ 13 สืบสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนของ อ. เนื้อที่ 8 ไร่ 73 ตารางวา การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งจึงต้องถือตามราคาที่ดินในส่วนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 กับจำเลยที่ 12 และที่ 13 สืบสิทธิมา มิใช่แยกคำนวณตามส่วนที่จำเลยแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด เมื่อที่ดินพิพาทราคาไร่ละ 50,000 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งในส่วนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 กับจำเลยที่ 12 และที่ 13 จึงเกิน 200,000 บาท ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ก. ย. และ อ. ร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีข้อความที่เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกไว้ว่า ให้รังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม 1 แปลง ทางด้านทิศตะวันออกเนื้อที่ 12 ไร่ เป็นของ ก. ส่วนแปลงคงเหลือเป็นของ ย. และ อ. ผู้ยื่นคำขอต่างลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกดังกล่าวต่อหน้าพยานและเจ้าพนักงานที่ดินดังนี้ แม้จะยังไม่มีการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเพราะเจ้าพนักงานที่ดินยกเลิกคำขอไปเมื่อปี 2516 เนื่องจากผู้ขอไม่มาติดต่ออาจเป็นเพราะแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้วก็เป็นได้ จึงต้องถือว่าบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตามป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง
ก. ย. และ อ. แบ่งการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดมาตั้งแต่ยื่นคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเมื่อปี 2510 แล้ว เมื่อ ย. และ อ. กับจำเลยทั้งสิบสามผู้สืบสิทธิจาก ย. และ อ. ครอบครองที่ดินที่ซื้อจาก ก. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองตามป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม และแม้จำเลยทั้งสิบสามจะยังไม่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ แต่ ธ. และโจทก์ทั้งสองรับโอนที่ดินไว้โดยไม่สุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยไม่สุจริตตามมาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยทั้งสิบสามย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองได้
ก. ย. และ อ. ร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีข้อความที่เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกไว้ว่า ให้รังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม 1 แปลง ทางด้านทิศตะวันออกเนื้อที่ 12 ไร่ เป็นของ ก. ส่วนแปลงคงเหลือเป็นของ ย. และ อ. ผู้ยื่นคำขอต่างลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกดังกล่าวต่อหน้าพยานและเจ้าพนักงานที่ดินดังนี้ แม้จะยังไม่มีการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเพราะเจ้าพนักงานที่ดินยกเลิกคำขอไปเมื่อปี 2516 เนื่องจากผู้ขอไม่มาติดต่ออาจเป็นเพราะแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้วก็เป็นได้ จึงต้องถือว่าบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตามป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง
ก. ย. และ อ. แบ่งการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดมาตั้งแต่ยื่นคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเมื่อปี 2510 แล้ว เมื่อ ย. และ อ. กับจำเลยทั้งสิบสามผู้สืบสิทธิจาก ย. และ อ. ครอบครองที่ดินที่ซื้อจาก ก. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองตามป.พ.พ. มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม และแม้จำเลยทั้งสิบสามจะยังไม่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ แต่ ธ. และโจทก์ทั้งสองรับโอนที่ดินไว้โดยไม่สุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยไม่สุจริตตามมาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยทั้งสิบสามย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ครอบครองปรปักษ์ - การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม - เจตนาครอบครอง - สิทธิเดิม - การซื้อที่ดินโดยรู้มีผู้ครอบครอง
จำเลยทั้งสิบสามคนมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งต้องถือตามราคาที่ดินในส่วนที่จำเลยสืบสิทธิมา มิใช่แยกคำนวณตามส่วนที่จำเลยแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์ระบุในคำแก้ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทตามฟ้องโจทก์และตามฟ้องแย้งราคาตารางวาละ 125 บาท เท่ากับไร่ละ 50,000 บาท จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งในส่วนของจำเลยทุกคน จึงเกิน 200,000 บาท จำเลยทั้งสิบสามไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
การที่ ก. ย. และ อ. ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท และร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว แม้จะยังไม่มีการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่ปรากฏว่า ก. ย. และ อ. แสดงเจตนาจะยกเลิก จึงต้องถือว่าข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง ย่อมผูกพัน ก. ย. และ อ.
ก. ย. และ อ. ได้แบ่งการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว จึงถือไม่ได้ว่า ก. ย. อ. และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดพิพาทตลอดมา เมื่อ ย. อ. และจำเลยทั้งสิบสามครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อจาก ก. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ธ. และโจทก์ซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีผู้ครอบครอง กรณีถือไม่ได้ว่า ธ. และโจทก์รับโอนที่ดินไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
การที่ ก. ย. และ อ. ตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท และร่วมกันยื่นคำร้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว แม้จะยังไม่มีการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่ไม่ปรากฏว่า ก. ย. และ อ. แสดงเจตนาจะยกเลิก จึงต้องถือว่าข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมระหว่างเจ้าของรวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคหนึ่ง ย่อมผูกพัน ก. ย. และ อ.
ก. ย. และ อ. ได้แบ่งการครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว จึงถือไม่ได้ว่า ก. ย. อ. และจำเลยต่างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดพิพาทตลอดมา เมื่อ ย. อ. และจำเลยทั้งสิบสามครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อจาก ก. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ธ. และโจทก์ซื้อที่ดินโดยรู้ว่ามีผู้ครอบครอง กรณีถือไม่ได้ว่า ธ. และโจทก์รับโอนที่ดินไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครองปรปักษ์เมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่าสองแสนบาท และประเด็นการเป็นทายาท
ที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท แต่ปรากฏตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทซึ่งผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ให้แก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่นๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดยธรรม อันเป็นการฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสองแสนบาท คดีของผู้คัดค้านย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครองปรปักษ์: มูลค่าทรัพย์สินและข้อพิพาทเรื่องมรดก
คู่ความตกลงกัน ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2547 ว่าที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่น ๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดยธรรม อันเป็นฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสองแสนบาท คดีของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง