พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,459 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280-7281/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน, ฟ้องซ้ำ, คำขอคืนเงิน, ศาลต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 38 และร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 39 ถึงที่ 46 การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกคำขอของโจทก์ในส่วนที่ขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 38 โดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ถึงที่ 10 ที่ 14 ที่ 15 และที่ 21 คืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายทั้ง 46 คนนั้น เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 44 บัญญัติให้คำพิพากษาคดีอาญาต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในเรื่องของกลางหรือในเรื่องฟ้องทางแพ่ง อันเป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนดังกล่าวและมาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้ให้เหตุผลและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ถึงที่ 10 ที่ 14 ที่ 15 และที่ 21 คืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายทั้ง 46 คน อันเป็นการเกินคำขอ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 เป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิด จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 จึงต้องร่วมกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้ง 46 ด้วย และกรณีนี้ไม่ใช่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษแก่จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยในคดีก่อนแล้ว แม้มีการเปลี่ยนคำฟ้องก็ถือเป็นการรื้อร้องคดีเดิม
คำฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 277/2551 ของศาลชั้นต้น จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินซึ่งเป็นสัญญาฉบับเดียวกับที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องจำเลยคดีนี้ โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ชำระราคาค่างวดตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดิน 3 งวด แต่ละงวดชำระไม่ครบตามสัญญาและค้างชำระ 2,250,000 บาท โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้โจทก์กับบริวารออกไปจากที่ดินแล้ว โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีดังกล่าวจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระค่างวดให้ถูกต้องตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินหรือไม่ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบที่ดินที่เหลืออีก 20 ไร่ ตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงไม่ชำระค่างวดที่เหลือ 780,000 บาท แก่จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาดังนี้ สิทธิเรียกร้องตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์คดีนี้ จึงมิใช่หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ หากแต่เป็นเรื่องที่ต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาทั้งในคดีดังกล่าวนอกจากโจทก์จะให้การว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว โจทก์ยังให้การเรื่องที่ดินที่เหลือตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินอีก 20 ไร่ ว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิและจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 832,000 บาท แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถหยิบยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องของจำเลยได้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 277/2551 เมื่อคดีแพ่งดังกล่าวโจทก์กับจำเลยประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว โดยโจทก์และจำเลยไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีกอันมีผลให้คดีดังกล่าวได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีนี้ การที่โจทก์นำข้ออ้างที่สามารถหยิบยกเป็นข้อต่อสู้แก้คำฟ้องของจำเลยได้ในคดีหมายเลขแดงที่ 277/2551 มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงถือว่าคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทเคยถูกวินิจฉัยเด็ดขาดแล้วในคดีก่อนจากการประนีประนอมยอมความ
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยว่า โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินซึ่งเป็นสัญญาฉบับเดียวกับที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องจำเลยคดีนี้โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ชำระราคาค่างวดตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดิน 3 งวด แต่ละงวดชำระไม่ครบตามสัญญาและค้างชำระ 2,250,000 บาท โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ให้การต่อสู้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบที่ดินที่เหลืออีก 20 ไร่ ตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินแก่โจทก์ โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงไม่ชำระค่างวดที่เหลือ 780,000 บาท แก่จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา สิทธิเรียกร้องตามข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่หนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่หากเป็นเรื่องที่ต่างอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ทั้งในคดีก่อนนอกจากโจทก์จะให้การว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว โจทก์ยังให้การเรื่องที่ดินที่เหลือตามสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าที่ดินอีก 20 ไร่ ว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิและจำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวน 732,000 บาท แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถหยิบยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้องของจำเลยในคดีก่อนได้ เมื่อคดีก่อนโจทก์กับจำเลยประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีโดยต่างไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีก และได้มีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีนี้ การที่โจทก์นำข้ออ้างที่สามารถหยิบยกเป็นข้อต่อสู้แก้คำฟ้องของจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก จึงถือว่าคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดละเมิดลิขสิทธิ์ แม้ผู้เสียหายต่างรายกัน หากมีเจตนาเดียวกัน คดีระงับตามกฎหมาย
จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อหากำไรซึ่งงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาก่อนแล้ว เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) แต่โจทก์ไม่มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว ทั้งคดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเดียวกัน มีวันเวลากระทำความผิดและสถานที่เกิดเหตุเช่นเดียวกับคดีนี้ เพียงแต่ผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้น การที่จำเลยเปิดเพลงคาราโอเกะที่ทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บันทึกงานอันละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายหลายเพลงต่อเนื่องในวันเดียวกัน จึงเป็นเจตนาเดียวกัน แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีก่อนแล้ว คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว สิทธิในการนำคดีมาฟ้องในคดีนี้ซึ่งเป็นกรรมเดียวกับคดีดังกล่าวจึงระงับไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ! คำร้องถอนผู้จัดการมรดกถูกตัดสิทธิ์แล้ว ยื่นซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา ผู้คัดค้านมิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ถูกตัดไม่ให้รับมรดก ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่มีสิทธิขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องได้ ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยกเอาเหตุข้อขัดข้องในการแบ่งทรัพย์มรดกมาเป็นมูลกล่าวอ้างว่าผู้ร้องไม่ทำตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกหรือกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว เมื่อผู้คัดค้านมิได้ฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงถึงที่สุด มีผลผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายอีกหาได้ไม่ การที่ผู้คัดค้านมายื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้อง โดยอ้างเหตุเป็นอย่างเดียวกันว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยไม่แบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้านและกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตายอีก ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คำร้องขอของผู้คัดค้านจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินต่างกัน แม้คู่ความเกี่ยวเนื่องกัน ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อน จำเลยฟ้อง ว. เป็นจำเลย อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ว. ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ว. โดยครอบครองต่อจาก ตา ยาย และบิดาของ ว. คือโจทก์ในคดีนี้ ประเด็นข้อพิพาทในคดีดังกล่าวจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยอ้างว่าที่ดินเป็นของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกัน ทั้งคู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคนละคนกัน ว. เป็นผู้สืบสิทธิจากโจทก์ คำพิพากษาในคดีก่อนย่อมไม่ผูกพันโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำร้องครอบครองปรปักษ์ที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ผู้คัดค้านทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ได้ยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นว่า ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 12730 และ 12732 เป็นของผู้คัดค้านทั้งสามที่ได้รับมรดกมาจาก ก. ขอให้ผู้ร้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้คัดค้านทั้งสาม ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสามและผู้ร้องตกลงกันได้โดยมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลจังหวัดขอนแก่นพิพากษาตามยอมเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1627/2549 ระบุให้มีการรังวัดเนื้อที่ดินในโฉนดเลขที่ 12730 และ 12732 ให้ได้เนื้อที่ครบตามหน้าโฉนด หากปรากฏว่ามีที่ดินเหลือจากการรังวัดให้ถือว่าส่วนที่เหลือเป็นที่ดินของผู้ร้อง คดีถึงที่สุด ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำการรังวัดที่ดินกับมีการปักหลักเขตเรียบร้อยแล้ว การที่ผู้ร้องมาร้องขอครอบครองปรปักษ์ เป็นคดีนี้ซึ่งเป็นที่ดินที่เดียวกับที่พิพาทและมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1627/2549 ของศาลจังหวัดขอนแก่น โดยที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามในคดีนี้กับโจทก์และจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นที่ต้องพิจารณาในคดีนี้กับคดีดังกล่าวก็เป็นประเด็นเนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ซึ่งผู้ร้องในคดีนี้มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้และศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มิได้วินิจฉัยประเด็นนี้ให้แก่ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องกลับหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาฎีกาว่า ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำพิพากษาตามยอม หาได้เป็นการกระทบกระเทือนการครอบครองปรปักษ์ของผู้ร้องไม่ คำร้องขอของผู้ร้องไม่เป็นฟ้องซ้ำนั้น จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15455/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ หากเหตุและช่วงเวลาการกระทำละเมิดแตกต่างจากคดีก่อน
แม้ประเด็นในคดีนี้กับคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ต่อโจทก์ในผลงานสร้างสรรค์อุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน แต่มูลเหตุแห่งการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ในคดีนี้กับในคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวอันเป็นการโต้แย้งสิทธิที่ก่อให้โจทก์มีอำนาจฟ้องนั้นแตกต่างกัน มิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมูลเหตุแห่งการละเมิดลิขสิทธิ์ในคดีนี้กับในคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางยังเป็นการกระทำคนละช่วงวันเวลากัน จึงเป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์คนละครั้งกัน ชอบที่โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเป็นคนละคดีได้ และแม้โจทก์จะฟ้องกล่าวอ้างเรียกให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และบริษัท บ. ใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์อุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ต่าง ๆ โดยอาศัยมูลเหตุแห่งการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการแต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นตัวแทนจัดหาผู้รับอนุญาตผลิตสินค้าต่าง ๆ ออกจำหน่าย และทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นจัดทำวิดีโอเทปออกจำหน่าย ในคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย ก็เป็นการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ผลงานสร้างสรรค์อุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ต่าง ๆ กับบริษัท ร. บริษัท ซ. บริษัท ท. และบริษัท น. อันเป็นคู่สัญญาคนละรายกันกับบุคคลที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ผลงานอุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ต่าง ๆ รวมจำนวนเกือบ 30 ราย ในคดีนี้ ส่วนที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างมูลเหตุแห่งการทำละเมิดลิขสิทธิ์ในคดีนี้จากการอนุญาตให้บริษัท อ. ผลิตสมุดระบายสีโดยทำซ้ำหรือดัดแปลงคาแรกเตอร์อุลตร้าแมนต่าง ๆ นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าบริษัทดังกล่าวเป็นนิติบุคคลเดียวกันกับบริษัท บ. ซึ่งเป็นจำเลยที่ 4 ในคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ทั้งยังปรากฏตามสัญญาการให้ใบอนุญาตในคดีนี้ว่าโจทก์กล่าวอ้างมูลเหตุแห่งการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ในคดีนี้เป็น "สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิที่ทำขึ้นวันที่ 13 กันยายน 2543 อนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์งานศิลปประยุกต์ "ผลงานหนุมาน VS เจ็ดยอดมนุษย์" ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2543 ถึงวันที่ 12 กันยายน 2549 และบันทึกต่อท้ายสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ดังกล่าวว่าเป็นการชำระเงินค่าตอบแทนการขยายระยะเวลาตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกไปอีก 5 ปี กับสัญญาการให้ใบอนุญาตอันเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์เรื่องยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ และเรื่องยอดมนุษย์จัมโบ้เอ อันเป็นมูลเหตุแห่งการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์คนละครั้งกันกับที่โจทก์กล่าวอ้างดำเนินคดีในคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงยังถือไม่ได้ว่าศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยการกระทำอันเป็นมูลเหตุแห่งการละเมิดลิขสิทธิ์ที่โจทก์กล่าวอ้างในคดีนี้แล้ว นอกจากนี้แม้ในคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องคดีก่อนเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสี่ในคดีก่อนซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีนี้ จะหยุดการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์นั้น แต่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในคดีดังกล่าวว่า ศาลวินิจฉัยและกำหนดค่าเสียหายจากการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการกระทำเป็นครั้งคราวก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีดังกล่าวเท่านั้น หากภายหลังวันฟ้องคดีก่อนจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวหรือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กระทำการใดอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อีก ชอบที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวหรือจำเลยที่ 1 ในคดีนี้สำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์ภายหลังวันฟ้องนั้น กรณีไม่อาจกำหนดค่าเสียหายเป็นรายเดือนนับแต่วันฟ้องในคดีก่อนให้แก่โจทก์ได้ และการที่โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสี่ในคดีดังกล่าวซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีนี้หยุดกระทำการอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่ในคดีดังกล่าวซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีนี้อ้างตนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ทั้งปวง และห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่ในคดีดังกล่าวซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีนี้ทำสัญญามอบสิทธิหรือลิขสิทธิ์ในอุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ทั้งปวงเหล่านี้ให้แก่บุคคลอื่น ซึ่งหมายถึงการละเว้นการกระทำดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเป็นต้นไปนั้น แต่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในคดีดังกล่าวว่า คำขอบังคับของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งหมายถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2540 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสี่ในคดีดังกล่าวได้ จึงถือไม่ได้ว่าศาลในคดีก่อนได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ในคดีนี้แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 ในคดีนี้มิได้เป็นคู่ความในคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกรายว่ากระทำการอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในผลงานสร้างสรรค์อุลตร้าแมนหรือยอดมนุษย์ต่าง ๆ ของโจทก์เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคำฟ้องส่วนแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ อ.36/2540 หมายเลขแดงที่ อ.459/2543 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14823/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีอาญา – โกงเจ้าหนี้ – ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 – ห้ามฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาครั้งหนึ่งแล้วอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ที่โจทก์และทายาทของ ย. เป็นเจ้าของรวมอยู่โดยขอให้ลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องในคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือฐานความผิดที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์มิฉะนั้นแล้วจำเลยกระทำผิดเพียงครั้งเดียว โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยได้หลายครั้งโดยไม่รู้จักจบสิ้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14823/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดเดิม แม้คำฟ้องต่างกัน เป็นการละเมิดอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36
โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาแล้วอันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันจดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ย. ที่โจทก์และทายาทของ ย. เป็นเจ้าของรวมอยู่ โดยขอให้ลงโทษฐานโกงเจ้าหนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในการกระทำเดียวกันอีก แม้คำฟ้องทั้งสองคดีจะบรรยายไม่ตรงกันทุกตอน และบทมาตราที่ขอให้ลงโทษแตกต่างกันบางมาตรา แต่ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแรก มิใช่ถือเอาคำบรรยายฟ้องหรือฐานความผิดที่โจทก์ตั้งเอาแก่จำเลยเป็นเกณฑ์ มิฉะนั้นแล้วจำเลยกระทำผิดครั้งเดียว โจทก์มีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยได้หลายครั้งโดยไม่จบสิ้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36 ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย