พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากเช็คปลอมและการละเลยดูแลทรัพย์สิน การแบ่งแยกหนี้ความรับผิด
การเบิกความของ ธ. ตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 3 เกี่ยวกับลายมือชื่อของ อ. เป็นการเบิกความไปตามความเห็นหรือความรู้สึกของ ธ. ในลายมือชื่อของ อ. ตามที่เห็นเท่านั้น กรณีไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าลายมือชื่อที่ ธ. เห็นตามเอกสารที่ทนายจำเลยที่ 3 นำมาถามค้านนั้น เป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของ อ. หรือเป็นลายมือชื่อปลอม และความเห็นของ ธ. เป็นความเห็นในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งมิใช่เช็คพิพาทในคดีนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์รับรู้ถึงการใช้ลายมือชื่อปลอมของ อ. ในเช็คพิพาท อันจะถือได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมหรือข้อลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจนั้นขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามฟ้องได้
การที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เป็นผู้เก็บแบบพิมพ์เช็คและตราประทับของโจทก์ไว้ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาแบบพิมพ์เช็คพิพาทที่มีการปลอมลายมือชื่อของ อ. ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ถึง 43 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานาน 3 ปี เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาทและตราประทับของโจทก์ รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีการนำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วใช้ตราประทับของโจทก์ประทับลงในเช็คพิพาทนำไปเบิกเงินจากจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 3 ได้ส่งรายการเดินบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ให้แก่โจทก์ทราบทุกเดือน หากโจทก์มีมาตรการตรวจสอบที่ดี ก็จะทราบถึงความผิดปกติในการใช้เช็คเบิกเงินออกจากบัญชีของโจทก์และสามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่านี้ แต่โจทก์กลับปล่อยปละไม่ตรวจสอบจนเวลาล่วงมาถึง 3 ปี จึงทราบเหตุละเมิดดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442
หนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวเป็นการเฉพาะตัว โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินที่ได้จากการละเมิดต่อโจทก์มาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ก็มิใช่หนี้ร่วมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1490 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ร่วม
การที่โจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เป็นผู้เก็บแบบพิมพ์เช็คและตราประทับของโจทก์ไว้ แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาแบบพิมพ์เช็คพิพาทที่มีการปลอมลายมือชื่อของ อ. ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของโจทก์นำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ถึง 43 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานาน 3 ปี เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาทและตราประทับของโจทก์ รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีการนำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายแล้วใช้ตราประทับของโจทก์ประทับลงในเช็คพิพาทนำไปเบิกเงินจากจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด ทั้งจำเลยที่ 3 ได้ส่งรายการเดินบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ให้แก่โจทก์ทราบทุกเดือน หากโจทก์มีมาตรการตรวจสอบที่ดี ก็จะทราบถึงความผิดปกติในการใช้เช็คเบิกเงินออกจากบัญชีของโจทก์และสามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่านี้ แต่โจทก์กลับปล่อยปละไม่ตรวจสอบจนเวลาล่วงมาถึง 3 ปี จึงทราบเหตุละเมิดดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง, 438 และ 442
หนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นมูลหนี้ละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวเป็นการเฉพาะตัว โดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่ 2 ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และมูลหนี้ละเมิดไม่อาจให้สัตยาบันได้ ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะนำเงินที่ได้จากการละเมิดต่อโจทก์มาซื้อทรัพย์สินหรือฝากไว้ในธนาคารระบุชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ก็มิใช่หนี้ร่วมตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1490 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8454/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งและคดีอาญาต่างกัน แม้มีส่วนเชื่อมโยงจากเช็ค แต่เป็นหนี้คนละส่วน
บริษัท ท. สั่งซื้อสินค้ากระดาษจากโจทก์ โดยบริษัท ท. ออกเช็คสั่งจ่ายชำระหนี้ 1 ฉบับ และจำเลยในฐานะกรรมการของบริษัท ท. ออกเช็คสั่งจ่ายชำระหนี้อีก 4 ฉบับ เมื่อเช็คทั้ง 5 ฉบับ ถึงกำหนดเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องบริษัท ท. เป็นจำเลยที่ 1 และจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 เป็นคดีก่อนให้รับผิดชำระหนี้ค่ากระดาษตามเช็ค 4 ฉบับ โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันได้ ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างเหตุว่าจำเลยในฐานะกรรมการบริษัท ท. ออกเช็คฉบับลงวันที่ 29 มีนาคม 2553 สั่งจ่ายชำระหนี้ค่ากระดาษแก่โจทก์ เมื่อเช็คฉบับดังกล่าวถึงกำหนดเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลย พนักงานอัยการฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงดุสิต จำเลยให้การรับสารภาพ และทำบันทึกยอมรับว่าออกเช็คฉบับดังกล่าวชำระหนี้ค่ากระดาษแก่โจทก์จริง ขอผ่อนชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงในคดีอาญาภายหลังจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามบันทึกดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ดังนี้ ยอดหนี้ในคดีก่อนกับยอดหนี้ในคดีนี้จึงเป็นคนละจำนวนกัน การที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงในคดีอาญา เป็นคดีนี้จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นข้อพิพาทที่อาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6067/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการค้ำประกันหลังล้มละลาย: โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามขั้นตอน หากไม่ทำ สิทธิขาดอายุ และจำเลยหลุดพ้นจากหนี้
จำเลยที่ 2 ถูกศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2535 อำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ห้ามมิให้จำเลยที่ 2 กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ดังที่บัญญัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ มาตรา 24 แต่เมื่อศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 จำเลยที่ 2 ย่อมกลับมามีอำนาจในการประกอบกิจการและทรัพย์สินของตนเองได้อีกต่อไปจวบจนกระทั่งศาลจังหวัดแพร่ได้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้ และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ได้ความตามสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3657/2542 ของศาลจังหวัดเชียงราย ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2540 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน และตามสำเนาคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3741/2542 ส. และ ว. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีดังกล่าวกู้ยืมเงินโจทก์เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2540 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน อันเป็นช่วงเวลาที่จำเลยที่ 2 กลับมามีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนเองเนื่องจากศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจทำสัญญาค้ำประกันหนี้แก่โจทก์ได้โดยชอบ มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยที่ 2 ทั้งสองคดีดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24
ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้ และวันที่ได้มีคำพิพากษาทั้งให้แจ้งกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสนอคำขอรับชำระหนี้ที่ลูกหนี้ได้กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งทั้งสองคดีเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 2 ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 60 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 81/1 วรรคท้าย และมาตรา 77 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีมีมูลแห่งหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย อันเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.3/2535 ของศาลจังหวัดแพร่ ตามมาตรา 60 วรรคสอง ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายได้อีก
ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 60 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณาคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าหนึ่งฉบับ ในคำโฆษณาให้ระบุชื่อ ตำบลที่อยู่ อาชีพของลูกหนี้ และวันที่ได้มีคำพิพากษาทั้งให้แจ้งกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสนอคำขอรับชำระหนี้ที่ลูกหนี้ได้กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย มูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งทั้งสองคดีเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ของจำเลยที่ 2 ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ซึ่งโจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 60 วรรคสอง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 81/1 วรรคท้าย และมาตรา 77 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีมีมูลแห่งหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 กระทำขึ้นในระหว่างวันที่ศาลจังหวัดแพร่มีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ถึงวันที่ศาลจังหวัดแพร่พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย อันเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.3/2535 ของศาลจังหวัดแพร่ ตามมาตรา 60 วรรคสอง ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) จำเลยที่ 2 ย่อมหลุดพ้นจากหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาขัดกัน, เช็คต่างฉบับ, การล้มละลายไม่กระทบความผิดอาญา, การไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
ปัญหาว่าคำพิพากษาขัดกันหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสองยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ แม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ตามสำเนาคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ช.475/2552 ของศาลชั้นต้น เอกสารท้ายอุทธรณ์และฎีกา เช็คที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายให้แก่โจทก์เป็นเช็คของธนาคาร ก. สาขาพหลโยธิน 20 ฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 และลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 แต่เช็คที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายในคดีนี้เป็นเช็คของธนาคาร ก. สาขาพหลโยธิน 20 ฉบับลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 และวันที่ 20 มีนาคม 2550 เช็คพิพาททั้งสองคดีจึงเป็นเช็คต่างฉบับกัน แม้มูลหนี้ในการสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองคดีจะเป็นมูลหนี้อย่างเดียวกันและศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยต่างกันก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีนี้กับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ช.475/2552 ก็มิใช่คำพิพากษาที่ขัดกัน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 ที่บัญญัติว่า "คำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ เว้นแต่ (1) หนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือจังกอบของรัฐบาลหรือเทศบาล (2) หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วนเกี่ยวข้องสมรู้" เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้บุคคลล้มละลายที่ถูกปลดจากการล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไป โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จำเลยที่ 2 ถูกปลดจากการล้มละลายไม่ทำให้หนี้สินที่จำเลยทั้งสองมีต่อโจทก์สิ้นผลผูกพันไปแต่อย่างใด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 อันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
ตามสำเนาคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ช.475/2552 ของศาลชั้นต้น เอกสารท้ายอุทธรณ์และฎีกา เช็คที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายให้แก่โจทก์เป็นเช็คของธนาคาร ก. สาขาพหลโยธิน 20 ฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 และลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 แต่เช็คที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายในคดีนี้เป็นเช็คของธนาคาร ก. สาขาพหลโยธิน 20 ฉบับลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 และวันที่ 20 มีนาคม 2550 เช็คพิพาททั้งสองคดีจึงเป็นเช็คต่างฉบับกัน แม้มูลหนี้ในการสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองคดีจะเป็นมูลหนี้อย่างเดียวกันและศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยต่างกันก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีนี้กับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ช.475/2552 ก็มิใช่คำพิพากษาที่ขัดกัน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 ที่บัญญัติว่า "คำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ เว้นแต่ (1) หนี้เกี่ยวกับภาษีอากรหรือจังกอบของรัฐบาลหรือเทศบาล (2) หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วนเกี่ยวข้องสมรู้" เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้บุคคลล้มละลายที่ถูกปลดจากการล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้หนี้ดังกล่าวสิ้นผลผูกพันไป โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จำเลยที่ 2 ถูกปลดจากการล้มละลายไม่ทำให้หนี้สินที่จำเลยทั้งสองมีต่อโจทก์สิ้นผลผูกพันไปแต่อย่างใด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 อันทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระและการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ อาคารชุด
แม้หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางค้างชำระถือเป็นเงินค้างจ่ายซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) แต่หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและเงินเพิ่มที่เกินเวลา 5 ปี ก็ไม่ระงับ เพราะสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความนั้นมีผลให้ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้เท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/10 โจทก์จะร้องขอให้จำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้รับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางครบถ้วนแล้ว ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 29 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อโจทก์หรือเจ้าของร่วมคนเดิมยังไม่ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและเงินเพิ่มให้แก่จำเลยจนครบถ้วน จำเลยก็มีสิทธิ ที่จะปฏิเสธการออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ตามที่โจทก์ร้องขอโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้
ตามใบแจ้งค่าใช้จ่ายส่วนกลางของห้องชุดพิพาท ระบุว่ามียอดเบี้ยปรับตามข้อบังคับคิดที่ร้อยละ 10 ต่อเดือน จำนวน 156 เดือน เป็นเงิน 752,541.19 บาท แต่ตามมติคณะกรรมการคิดเพียง 125,423 บาท ส่วนยอดเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 เป็นเงิน 2,057.05 บาท สอดคล้องกับข้อบังคับของจำเลย ข้อ 17 ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตั้งแต่ปี 2537 และข้อบังคับ ข้อ 18 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 18/1 ที่บัญญัติถึงกรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางภายในเวลาที่กำหนดว่าต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ โดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับ หากค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี การคิดเงินเพิ่มจากค่าใช้จ่ายส่วนกลาง จึงเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยและไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ถือว่าจำเลยใช้สิทธิโดยสุจริต อีกทั้งโจทก์ก็มีโอกาสที่จะตรวจสอบได้ว่าเจ้าของร่วมคนเดิมค้างชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและเงินเพิ่มเพียงใด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสู้ราคาในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี การที่จำเลยเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินเพิ่มเต็มจำนวนจึงไม่ถือว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
ตามใบแจ้งค่าใช้จ่ายส่วนกลางของห้องชุดพิพาท ระบุว่ามียอดเบี้ยปรับตามข้อบังคับคิดที่ร้อยละ 10 ต่อเดือน จำนวน 156 เดือน เป็นเงิน 752,541.19 บาท แต่ตามมติคณะกรรมการคิดเพียง 125,423 บาท ส่วนยอดเงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 เป็นเงิน 2,057.05 บาท สอดคล้องกับข้อบังคับของจำเลย ข้อ 17 ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตั้งแต่ปี 2537 และข้อบังคับ ข้อ 18 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 18/1 ที่บัญญัติถึงกรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางภายในเวลาที่กำหนดว่าต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ค้างชำระ โดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับ หากค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี การคิดเงินเพิ่มจากค่าใช้จ่ายส่วนกลาง จึงเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยและไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ถือว่าจำเลยใช้สิทธิโดยสุจริต อีกทั้งโจทก์ก็มีโอกาสที่จะตรวจสอบได้ว่าเจ้าของร่วมคนเดิมค้างชำระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและเงินเพิ่มเพียงใด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสู้ราคาในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี การที่จำเลยเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินเพิ่มเต็มจำนวนจึงไม่ถือว่าไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนและการฟ้องล้มละลาย: แม้มีการอุทธรณ์คำพิพากษา ก็ไม่ทำให้หนี้เปลี่ยนแปลง
จำเลยทั้งสิบเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 8 ซึ่งเป็นคู่ความย่อมต้องผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนกว่าคำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้พิพากษาแก้ไขหรือกลับ จำเลยที่ 1 และที่ 8 ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าว ประกอบกับหนี้ดังกล่าวสามารถที่จะคิดคำนวณได้ถึงวันฟ้องว่ามีจำนวนเท่าใด ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 8 อุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว หาทำให้หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้วกลับกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไปไม่ และเมื่อหนี้ดังกล่าวมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาทสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและไม่น้อยกว่าสองล้านบาทสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์ย่อมมีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 8 ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยผิดนัด, อายุความ, และการบังคับคดีในหนี้เบิกเกินบัญชีและเงินกู้ รวมถึงบทบาทของบริษัทบริหารสินทรัพย์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ส. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์นั้นเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี และมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และ 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยทั้งห้ามิได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จำเลยทั้งห้าไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ส่วนที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าสวมสิทธิแทนบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. โดยไม่ให้โอกาสจำเลยทั้งห้าคัดค้านนั้น แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องแก่จำเลยทั้งห้าอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ต้องพิจารณาว่าเรื่องที่ผิดระเบียบนั้นทำให้คู่ความฝ่ายใดเสียหายหรือเสียความเป็นธรรมหรือการเพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นไม่เป็นประโยชน์แต่อย่างใด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าโต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยทั้งห้าเสียหายจึงยังไม่มีเหตุอื่นใดอันสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าว
การที่จำเลยทั้งห้าไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธมาในศาลชั้นต้นว่าสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 เป็นสัญญาปลอม และจำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจทำสัญญาจำนองแทน ส. จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ ป. และ บ. ลงลายมือชื่อในช่องพยานในสัญญาค้ำประกันเพื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. แม้จะไม่ระบุว่า เป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือก็ถือว่าเป็นการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือแล้ว การลงลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. จึงถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 9 วรรคสอง และการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยของหนี้เงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ 19 ต่อปี นั้น ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินควรศาลย่อมลดเบี้ยปรับได้ แต่เนื่องจากมีการโอนหนี้ของโจทก์คดีนี้ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 แล้ว สิทธิในการคิดดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยทั้งห้าไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธมาในศาลชั้นต้นว่าสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 เป็นสัญญาปลอม และจำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจทำสัญญาจำนองแทน ส. จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ ป. และ บ. ลงลายมือชื่อในช่องพยานในสัญญาค้ำประกันเพื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. แม้จะไม่ระบุว่า เป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือก็ถือว่าเป็นการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือแล้ว การลงลายพิมพ์นิ้วมือของ ส. จึงถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 9 วรรคสอง และการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยของหนี้เงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ 19 ต่อปี นั้น ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินควรศาลย่อมลดเบี้ยปรับได้ แต่เนื่องจากมีการโอนหนี้ของโจทก์คดีนี้ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 แล้ว สิทธิในการคิดดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15638/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการรับสภาพหนี้หลังขาดอายุความ กรณีฟ้องขอพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องนำสืบเพียงการรับโอนสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องและการเป็นหนี้ค้างชำระของลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 5 และ ส. ลูกหนี้ที่ตายหลังจากผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้มาเท่านั้น มิได้นำสืบถึงมูลหนี้เดิมเพื่อให้รับฟังได้ว่าฝ่ายลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้เดิมในหนี้ประเภทใด และผิดนัดผิดสัญญาต่อเจ้าหนี้เดิมเมื่อใดหรือชำระหนี้ครั้งสุดท้ายก่อนผู้ร้องรับโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อใด ซึ่งแม้หากนับอายุความตั้งแต่ขณะนั้นตามแต่กรณีจนถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ แต่ฝ่ายลูกหนี้ยื่นคำคัดค้านโต้แย้งว่า มูลหนี้เดิมเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกันและจำนอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ อายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฝ่ายลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้แก่ธนาคารเจ้าหนี้เดิมตั้งแต่ปี 2537 และโต้แย้งด้วยว่า การที่ฝ่ายลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งก็คือทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้และบันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เมื่อปี 2548 และปี 2549 เป็นการรับสภาพความรับผิดหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว อายุความมีกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตาม มาตรา 193/35 หนี้ตามคำร้องของผู้ร้องขาดอายุความแล้ว ดังนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่ฝ่ายลูกหนี้คัดค้านดังกล่าว คดีของผู้ร้องย่อมขาดอายุความตามที่ฝ่ายลูกหนี้คัดค้าน เมื่อผู้ร้องมิได้นำสืบว่า เจ้าหนี้เดิมและผู้ร้องอาจบังคับสิทธิเรียกร้องจากฝ่ายลูกหนี้ตั้งแต่เมื่อใดหรือมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพื่อแสดงให้เห็นว่าคดีของผู้ร้องไม่ขาดอายุความจึงต้องฟังว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความ ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 เด็ดขาด กับพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของ ส. ลูกหนี้ที่ตายตาม พ.ร.ก. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 และมาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15341/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันหลังการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และการพิพากษาให้ล้มละลาย
แม้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ จำเลยรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท ท. และบริษัท ท. ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนแล้วก็ตาม แต่ในส่วนความรับผิดของผู้ค้ำประกัน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง บัญญัติว่า "คำสั่งของศาลซึ่งเห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกันหรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และไม่มีผลให้บุคคลเช่นว่านั้นต้องรับผิดในหนี้ที่ก่อขึ้นตามแผนตั้งแต่วันดังกล่าว..." เช่นนี้ หนี้ส่วนที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดย่อมระงับไปเฉพาะส่วนที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามแผน แต่ในหนี้ส่วนที่ขาดผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อได้ความว่าตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ได้รับชำระหนี้จากส่วนที่เป็นต้นเงิน 12,299,632.50 บาท หาใช่เต็มจำนวน 44,820,878.50 บาท ตามที่โจทก์ขอรับชำระหนี้ไม่ ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ชั้นต้น โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องส่วนที่ขาดจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันได้ เมื่อส่วนที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์มีจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง แม้โจทก์จะได้รับชำระหนี้จากบริษัท ท. ลูกหนี้ชั้นต้นตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว แต่ยังไม่ครบถ้วน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยชำระหนี้ให้โจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง แม้โจทก์จะได้รับชำระหนี้จากบริษัท ท. ลูกหนี้ชั้นต้นตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว แต่ยังไม่ครบถ้วน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยชำระหนี้ให้โจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15145/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ข้อจำกัดหนี้ที่เกิดขึ้นหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้คงมีสิทธิริบบรรดาเงินค่าเช่าซื้อที่ลูกหนี้ได้ชำระไปแล้ว และกลับเข้าครอบครองรถที่เช่าซื้อ โดยลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนแก่เจ้าหนี้ในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้ดี หากไม่คืนเจ้าหนี้ย่อมได้รับความเสียหายเพราะขาดประโยชน์เนื่องจากไม่ได้รับรถที่เช่าซื้อคืน เจ้าหนี้ไม่อาจเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระค่าปรับเพราะเหตุที่ลูกหนี้ชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าก่อนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันได้อีก แต่เนื่องจากหนี้ที่เจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้นั้น ต้องเป็นหนี้เงินซึ่งมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดโดยอ้างว่าเป็นค่าขาดราคารถ (ที่ถูก ค่าขาดประโยชน์) จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ค่าเสียหายเพราะลูกหนี้ไม่ส่งมอบรถคืนแก่เจ้าหนี้อันถือได้ว่ามูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว สำหรับสิทธิของเจ้าหนี้ในการติดตามเอารถคืนจากลูกหนี้มิใช่หนี้เงินอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 ส่วนคำขอรับชำระหนี้กรณีหากคืนรถไม่ได้เจ้าหนี้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชดใช้ราคาแทนเท่าจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามสัญญาเช่าซื้อนั้น ก็เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มิใช่หนี้อันพึงขอรับชำระในคดีล้มละลายได้เช่นกัน