พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ ผู้ร้องไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ พ. เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่กระทำไปโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 และเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้ศาลจังหวัดมีนบุรีมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว คำพิพากษาก็ไม่มีผลผูกพัน เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับ พ. เป็นโมฆะ ถือเสมือนไม่มีการทำนิติกรรม อันเป็นการเสียเปล่าไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ย่อมถือว่าคู่กรณียังคงอยู่ในฐานะเดิมเหมือนมิได้กระทำนิติกรรมต่อกัน และไม่มีผลให้ พ. มีสิทธิในที่ดินทั้ง 9 แปลงของจำเลย โดยไม่จำต้องให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะอีก ส่วนการที่ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมของสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องก็ได้ใช้สิทธิดังกล่าวแล้ว เมื่อครั้งที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ผู้ร้องงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย และผู้ร้องมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุให้งดการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทของจำเลยเนื่องจากสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยกับ พ. เป็นโมฆะ เมื่อผู้ร้องได้ยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้าง ทั้งไม่มีการเพิกถอนรายการจดทะเบียน ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลและไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาแผ่นดินมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม จึงตกเป็นโมฆะ
ป.พ.พ. มาตรา 850 บัญญัติว่า "อันว่าประนีประนอมยอมความนั้น คือ สัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน" เมื่อพิจารณาคำร้องขอถอนฟ้องซึ่งเป็นข้อตกลงในการถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 ปรากฏข้อความว่าให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ 200,000 บาท แล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 นอกจากนั้นยังให้จำเลยชำระเงิน 200,000 บาท ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1967/2561 และชำระเงิน 400,000 บาท ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.6137/2560 และยังมีข้อตกลงในส่วนคดีของศาลแรงงานกลางที่ทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้เลิกแล้วต่อกัน รวมถึงจำเลยจะไม่ไปดำเนินการร้องเรียนใด ๆ เกี่ยวกับการประมูลงานของโจทก์ ส่วนที่ร้องเรียนไปแล้วก็จะไปถอนคำร้อง ซึ่งเห็นได้ว่า ข้อความตามคำร้องขอถอนฟ้องเป็นข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทด้วยการให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาหมายดำที่ 6070/2560 โดยมีข้อตกลงอื่นด้วยว่าจำเลยต้องชำระเงินให้โจทก์อีก 600,000 บาท ข้อตกลงตามคำร้องขอถอนฟ้องจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายตกลงผ่อนผันให้แก่กันเพื่อระงับข้อพิพาท เมื่อปรากฏว่าข้อตกลงประนีประนอมยอมตามคำร้องขอถอนฟ้อง โจทก์ตกลงถอนฟ้องคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6070/2560 ซึ่งเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264, 268 อันเป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดิน ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเรียกค่าเสียหายส่วนที่เหลือตามสัญญาที่เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาติดตามทรัพย์มรดกมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม จึงเป็นโมฆะ
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์มรดก และบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าบริการมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์มรดกอันมีลักษณะเป็นการที่โจทก์เข้ามามีส่วนได้เสียทางทรัพย์สินในกองมรดกผ่านทางส่วนแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยจะได้รับ โดยโจทก์มิได้เป็นทนายความ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้ามรดกหรือจำเลย เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ในทรัพย์มรดกของผู้อื่นโดยที่โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แม้ไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแต่วัตถุประสงค์แห่งสัญญาว่าจ้างดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
สัญญาว่าจ้างติดตามทรัพย์มรดกอันมีลักษณะเป็นการที่โจทก์เข้ามามีส่วนได้เสียทางทรัพย์สินในกองมรดกผ่านทางส่วนแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยจะได้รับ โดยโจทก์มิได้เป็นทนายความ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้ามรดกหรือจำเลย เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ในทรัพย์มรดกของผู้อื่นโดยที่โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แม้ไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแต่วัตถุประสงค์แห่งสัญญาว่าจ้างดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินจัดสรรที่เป็นที่ดินสาธารณูปโภคเป็นโมฆะ ผู้ซื้อไม่สุจริตต้องคืนที่ดิน
จำเลยร่วมที่ 1 ได้โฆษณาหรือให้คำรับรองแก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในโครงการว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะบนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในแผ่นพับโฆษณาและแผนผังโครงการ แม้จะมิได้มีการจดแจ้งให้ปรากฏในโฉนดที่ดินพิพาททั้งสองแปลงก็ไม่ทำให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไม่เป็นที่ดินสำหรับสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยเปลี่ยนเป็นที่ดินสำหรับจัดสรรเพื่อขายไปได้ โดยถือว่าข้อความในแผ่นพับโฆษณาและแผนผังโครงการเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 และถือว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงรวมทั้งสระว่ายน้ำและสวนหย่อมที่ได้จัดทำขึ้นแล้วบนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65722 เป็นสาธารณูปโภคและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง
การที่ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยพลการก็โดยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยมีเงื่อนไข ข้อจำกัดทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ สำหรับการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไปยังบุคคลอื่นก็อาจทำให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายลักษณะเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้นแล้ว ผู้จัดสรรที่ดินก็ต้องดำเนินการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) หรือหากไม่มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้จัดสรรที่ดินต้องเป็นผู้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน หรือผู้จัดสรรที่ดินต้องจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (2) หรือ (3) (เดิม) ประการหนึ่งประการใด ดังนี้ การที่ผู้จัดสรรที่ดินโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณะไปยังบุคคลอื่นจึงเป็นนิติกรรมที่ไม่อาจกระทำได้ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33
การซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65722 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 การขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าวระหว่างจำเลยร่วมที่ 2 กับโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65657 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดเพชรบุรี จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
จำเลยได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยชอบด้วย พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แล้วจำเลยร่วมที่ 1 ในฐานะผู้จัดสรรที่ดินจึงต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่จำเลยไปจัดการและดูแลบำรุงรักษาตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) โดยโจทก์ไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
การที่ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมกับบุคคลใดอันก่อให้เกิดภาระผูกพันแก่ที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะโดยพลการก็โดยวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยมีเงื่อนไข ข้อจำกัดทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการใช้ สำหรับการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไปยังบุคคลอื่นก็อาจทำให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรได้รับความเดือดร้อนเสียหายลักษณะเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรขึ้นแล้ว ผู้จัดสรรที่ดินก็ต้องดำเนินการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) หรือหากไม่มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผู้จัดสรรที่ดินต้องเป็นผู้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน หรือผู้จัดสรรที่ดินต้องจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นสาธารณประโยชน์ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (2) หรือ (3) (เดิม) ประการหนึ่งประการใด ดังนี้ การที่ผู้จัดสรรที่ดินโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อสาธารณะไปยังบุคคลอื่นจึงเป็นนิติกรรมที่ไม่อาจกระทำได้ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 33
การซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65722 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 การขายฝากที่ดินแปลงดังกล่าวระหว่างจำเลยร่วมที่ 2 กับโจทก์ และการซื้อขายที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 65657 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับโจทก์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดเพชรบุรี จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
จำเลยได้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดยชอบด้วย พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แล้วจำเลยร่วมที่ 1 ในฐานะผู้จัดสรรที่ดินจึงต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอันเป็นสาธารณูปโภคให้แก่จำเลยไปจัดการและดูแลบำรุงรักษาตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาตรา 44 (1) (เดิม) โดยโจทก์ไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง