พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,327 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7827/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตพืชกระท่อมในเด็ก: ข้อกำหนดการสอบสวน และการใช้คำรับสารภาพเป็นหลักฐาน
การสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ซึ่งหากผู้ต้องหาร้องขอ ให้พนักงานสอบสวนแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็กและให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการสอบสวนนั้น และในกรณีที่นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เห็นว่าการถามเด็กหรือคำถามใด อาจจะมีผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง ให้พนักงานสอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เป็นการเฉพาะตามประเด็นคำถามของพนักงานสอบสวน โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวนและห้ามมิให้ถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นกรณีเฉพาะบางฐานความผิดเท่านั้น ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย อันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ ความผิดฐานกรรโชก ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ หรือความผิดอื่นที่มีอัตราโทษจำคุกซึ่งผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีร้องขอตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ นั้น มิได้หมายความรวมถึงความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกรณีความผิดอื่น ทั้งผู้ต้องหาเป็นเด็กไม่ได้ร้องขอให้บุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการสอบสวน พนักงานสอบสวนจึงไม่จำต้องจัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนผู้ต้องหาด้วย ข้อเท็จจริงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 134/2 ประกอบมาตรา 133 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 และเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แล้ว
พฤติการณ์ที่จำเลยเบิกความว่าไปที่ขนำและพบน้ำต้มพืชกระท่อมที่ยังเหลืออยู่ในหม้อซึ่ง ธ. กับพวกนั่งดื่มอยู่ จึงไปขอดื่มแล้วผสมกับโค้กและยาแก้ไอดื่มกิน โดยมีการกรองน้ำที่ได้จากการต้ม แต่จำเลยให้การชั้นสอบสวนว่า ขณะถูกจับกุมตนกำลังต้มน้ำพืชกระท่อมเพื่อดื่มกิน ดังนั้นไม่ว่าจำเลยต้มเองหรือน้ำต้มใบพืชกระท่อมที่ ธ. ต้มไว้อยู่แล้ว จำเลยมากรองเพื่อดื่มกินอย่างเดียว การกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันในการต้มใบพืชกระท่อม เมื่อปรากฏปริมาณที่ต้มถึง 2.6 ลิตร ทั้งยังมีอุปกรณ์เป็นหม้อ และใบพืชกระท่อมที่ยังไม่ต้มจำนวนมาก ประกอบกับมีคนจำนวนหลายคนมามั่วสุมรวมตัวกันและวิ่งหลบหนีไปได้ และมีการผสมยาแก้ไอและน้ำอัดลมลงไปในน้ำต้มใบพืชกระท่อมทำให้มีความรุนแรงขึ้น กระทบต่อคนในสังคมจำนวนมากหากได้ดื่มกิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการ "ผลิต" ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พืชกระท่อม) ตามนัยแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
พฤติการณ์ที่จำเลยเบิกความว่าไปที่ขนำและพบน้ำต้มพืชกระท่อมที่ยังเหลืออยู่ในหม้อซึ่ง ธ. กับพวกนั่งดื่มอยู่ จึงไปขอดื่มแล้วผสมกับโค้กและยาแก้ไอดื่มกิน โดยมีการกรองน้ำที่ได้จากการต้ม แต่จำเลยให้การชั้นสอบสวนว่า ขณะถูกจับกุมตนกำลังต้มน้ำพืชกระท่อมเพื่อดื่มกิน ดังนั้นไม่ว่าจำเลยต้มเองหรือน้ำต้มใบพืชกระท่อมที่ ธ. ต้มไว้อยู่แล้ว จำเลยมากรองเพื่อดื่มกินอย่างเดียว การกระทำของจำเลยมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันในการต้มใบพืชกระท่อม เมื่อปรากฏปริมาณที่ต้มถึง 2.6 ลิตร ทั้งยังมีอุปกรณ์เป็นหม้อ และใบพืชกระท่อมที่ยังไม่ต้มจำนวนมาก ประกอบกับมีคนจำนวนหลายคนมามั่วสุมรวมตัวกันและวิ่งหลบหนีไปได้ และมีการผสมยาแก้ไอและน้ำอัดลมลงไปในน้ำต้มใบพืชกระท่อมทำให้มีความรุนแรงขึ้น กระทบต่อคนในสังคมจำนวนมากหากได้ดื่มกิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการ "ผลิต" ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (พืชกระท่อม) ตามนัยแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงิน: คำให้การของผู้ร่วมกระทำผิดและหลักฐานการโอนเงินเป็นเหตุรับฟังได้
การที่จำเลยที่ 2 เบิกความยอมรับข้อเท็จจริงที่จะเป็นเหตุบรรเทาโทษนั้น จะต้องให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา การที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจสอบหลักฐานการโอนเงินจากธนาคารเจ้าของบัญชีของจำเลยทั้งสองจนพบการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 กับพวก แม้จำเลยที่ 2 จะไม่เบิกความยอมรับถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ก็ย่อมพิสูจน์ความผิดได้โดยง่าย การเบิกความยอมรับข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 2 เช่นนั้น ไม่เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จึงไม่มีเหตุลดโทษให้จำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1729/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความร้องทุกข์: การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์
โจทก์ร่วมทราบว่าถูกหลอกลวงเมื่อโจทก์ร่วมไปตามหาจําเลยที่หน่วยงานของจําเลย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2561 โจทก์ร่วมย่อมทราบได้ว่า จําเลยคือผู้ที่หลอกลวงโจทก์ร่วมตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ร่วมไปพบพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 ข้อความที่ปรากฏในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุแจ้งชัดว่า เป็นการแจ้งความไว้เป็นหลักฐานและผู้แจ้งขอไปติดตามการสนทนาระหว่างผู้แจ้งกับจําเลยเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป มิใช่เป็นการมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำผิดมารับโทษ การแจ้งความตามรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน จึงไม่เป็นคําร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และมาตรา 123 เพราะขณะแจ้งยังมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ โจทก์ร่วมเพิ่งแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจําเลย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 เมื่อโจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ว่าจําเลยเป็นผู้กระทำความผิด ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2561 การร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมจึงพ้นกำหนดระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันที่โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความ สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนําคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4296/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในใบสมัครบัตรเครดิตเป็นหลักฐานสำคัญ ศาลใช้ดุลพินิจพยานประกอบอื่นๆ ชี้ขาดข้อเท็จจริง
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการตรวจพิสูจน์จัดเป็นความเห็นช่วยเหลือศาลประกอบการพิจารณาวินิจฉัยอย่างหนึ่ง ซึ่งศาลมีดุลพินิจจะนํามารับฟังแค่ไหนเพียงใดก็ได้ หาเป็นการผูกมัดให้ศาลต้องรับฟังตามความเห็นนั้นเสมอไปไม่ เมื่อการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจําเลยในใบสมัครบัตรเครดิตคดีนี้เกิดจากความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่าย และผลการตรวจไม่อาจลงความเห็นอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ย่อมเป็นอำนาจของศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานอื่นที่คู่ความนํามาสืบแล้วชั่งน้ำหนักวินิจฉัยไปตามพยานหลักฐานนั้น เพราะคู่ความมิได้ตกลงท้ากันเอาผลการตรวจพิสูจน์เป็นข้อแพ้ชนะ จึงไม่อาจวินิจฉัยให้จําเลยเป็นฝ่ายชนะคดีไปตามภาระการพิสูจน์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืน: โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนาครอบครองของจำเลย นอกเหนือจากหลักฐานการพบเจอ
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 4 (6) ให้ความหมายของคำว่า "มี" ไว้ว่า มีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครอง เมื่อโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาร่วมกับพวกในการมีกรรมสิทธิ์หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางดังกล่าว ประกอบกับการพิจารณาคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้ชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยเพื่อให้ศาลรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา ลำพังเพียงจำเลยซึ่งเป็นภริยา อ. ไปกับ อ. ในวันที่มีการซื้อขายอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลาง และจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุซึ่งตรวจค้นพบอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลาง โดยที่บ้านดังกล่าวเป็นบ้านที่ อ. พักอาศัยอยู่ด้วยนั้น พฤติการณ์แห่งคดียังไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงิน vs. ร่วมลงทุน: การพิสูจน์ข้อเท็จจริงและผลกระทบต่อคำพิพากษา
แม้จำเลยให้การรับว่าได้รับเงินโอนจากโจทก์แล้วทั้งยี่สิบครั้งและพิมพ์คำว่า "ตกลง" ในโปรแกรมไลน์ (LINE) ตามที่โจทก์ให้พิมพ์ แต่การรับของจำเลยเป็นการรับตามที่ปรากฏในฟ้องเท่านั้น จำเลยยังมีข้อต่อสู้ว่าการโอนเงินดังกล่าวไม่ใช่เป็นการกู้ยืมเงินแต่เป็นการร่วมลงทุนประกอบธุรกิจออกแบบ ค้าขายเสื้อผ้า และส่งออกหน่อไม้ในลักษณะของการตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งยังไม่มีการชำระบัญชี โจทก์จึงยังไม่สามารถฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลย หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อของจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์จริงหรือไม่ เมื่อการกู้ยืมเงินครั้งที่ 1 โจทก์อ้างเพียงสำเนาเอกสารที่ธนาคารออกให้เป็นหลักฐานว่า ธนาคารได้ทำการโอนเงิน 50,000 บาท เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เท่านั้น ไม่มีข้อความในเรื่องการกู้ยืมเงิน ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมครั้งที่ 1 เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ยืมมาแสดง ส่วนการกู้ยืมครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 ไม่ปรากฏข้อความที่จำเลยพิมพ์ตอบ "ตกลง" เพื่อตกลงการกู้ยืมเงินตามที่โจทก์อ้างว่าเป็นการกู้ยืมเงินครั้งดังกล่าวแต่อย่างใด ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ยืมเป็นสำคัญมาแสดง โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยสำหรับการกู้ยืมครั้งที่ 1 ครั้งที่ 19 และครั้งที่ 20 ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง
สำหรับการกู้ยืมเงินครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 18 ซึ่งโจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยในทำนองเดียวกันว่า "ช. จะจัดทำธุรกรรมให้ยืมเงินจำนวน (ระบุจำนวนเงิน) ให้แก่ ฐ. เพื่อใช้ลงทุนในธุรกิจ การกู้ยืมเงินนี้ไม่คิดดอกเบี้ยและยังไม่บังคับวันกำหนดชำระเงินคืน ลงวันที่... (พิมพ์ตกลงเพื่อยืนยัน)" ซึ่งจำเลยได้พิมพ์ข้อความว่า "ตกลง" ตอบกลับมาในโปรแกรมไลน์ (LINE) ซึ่งจำเลยรับว่ามีการส่งข้อความโต้ตอบเช่นนี้จริง การสนทนาทางโปรแกรมไลน์ (LINE) เป็นการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เมื่ออ่านข้อความสนทนาของโจทก์และจำเลยประกอบกันแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันโดยโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินและจำเลยตกลงกู้ยืมเงินแต่ละครั้งตามจำนวนที่ระบุในโปรแกรมไลน์ (LINE) แม้ไม่มีการลงลายมือชื่อจำเลยไว้แต่เมื่อจำเลยยอมรับว่าส่งข้อความตอบตกลงการที่โจทก์จะให้กู้ยืมเงินจริง ข้อความสนทนาทางโปรแกรมไลน์ (LINE) จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อของจำเลยผู้กู้ยืมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8, 9 โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้
สำหรับการกู้ยืมเงินครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 18 ซึ่งโจทก์ส่งข้อความถึงจำเลยในทำนองเดียวกันว่า "ช. จะจัดทำธุรกรรมให้ยืมเงินจำนวน (ระบุจำนวนเงิน) ให้แก่ ฐ. เพื่อใช้ลงทุนในธุรกิจ การกู้ยืมเงินนี้ไม่คิดดอกเบี้ยและยังไม่บังคับวันกำหนดชำระเงินคืน ลงวันที่... (พิมพ์ตกลงเพื่อยืนยัน)" ซึ่งจำเลยได้พิมพ์ข้อความว่า "ตกลง" ตอบกลับมาในโปรแกรมไลน์ (LINE) ซึ่งจำเลยรับว่ามีการส่งข้อความโต้ตอบเช่นนี้จริง การสนทนาทางโปรแกรมไลน์ (LINE) เป็นการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เมื่ออ่านข้อความสนทนาของโจทก์และจำเลยประกอบกันแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันโดยโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินและจำเลยตกลงกู้ยืมเงินแต่ละครั้งตามจำนวนที่ระบุในโปรแกรมไลน์ (LINE) แม้ไม่มีการลงลายมือชื่อจำเลยไว้แต่เมื่อจำเลยยอมรับว่าส่งข้อความตอบตกลงการที่โจทก์จะให้กู้ยืมเงินจริง ข้อความสนทนาทางโปรแกรมไลน์ (LINE) จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อของจำเลยผู้กู้ยืมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 7, 8, 9 โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินจากข้อความสนทนาออนไลน์ ต้องมีน้ำหนักชัดเจนว่าเป็นการกู้ยืมจริง ไม่ใช่แค่การพูดถึงหนี้สิน
แม้ข้อความสนทนาผ่านระบบแอปพลิเคชันไลน์ระหว่างโจทก์และจําเลยที่ 1 เป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจําเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ข้อความสนทนาตามที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอมีน้ำหนักฟังได้ว่า เงินจำนวน 7,800,000 บาท ที่โจทก์มอบให้แก่จําเลยที่ 1 ไปเป็นเงินกู้ยืม และไม่อาจถือเป็นหลักฐานกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่จําเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้แล้วหรือเป็นหนังสือรับสภาพหนี้เงินกู้ยืมตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง และมาตรา 9 อันจะนํามาฟ้องร้องให้จําเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง