พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10917/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ ไม่รับฟังพยานหลักฐานใหม่ จำเลยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ แล้วพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นกรณีที่ศาลรับฟังคำรับของจำเลยตามที่ให้การไว้ มิใช่รับฟังจากพยานหลักฐานการรังวัดที่ดินพิพาท การรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงไม่ผิดระเบียบในอันที่จำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีทั้งหมดแล้วให้พิจารณาคดีใหม่ โดยกล่าวอ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่นั้น จึงมิใช่เป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่อาจมีการพิจารณาคดีเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10259/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และประเด็นค่าขึ้นศาลที่ไม่ถูกต้อง
คดีนี้จำเลยให้การตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทมิได้อยู่ในเขตโฉนดที่ดินเลขที่ 19861 และ 19863 ของโจทก์ เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ น้ำทะเลท่วมถึงบิดามารดาจำเลยเข้าจับจองครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ต่อมาเมื่อประมาณ 15 ปี มาแล้ว บิดามารดาจำเลยได้ยกที่ดินพิพาทให้จำเลย จำเลยกลับให้การต่อมาว่า หากฟังว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ โฉนดที่ดินดังกล่าวก็ออกโดยไม่ชอบ และหากฟังว่าออกโฉนดที่ดินโดยชอบ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์แล้วโดยการครอบครองปรปักษ์ เห็นได้ว่าคำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของโจทก์ อันเป็นการขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่
เมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เท่ากับจำเลยมิได้ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นศาลละ 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 37,125 บาท จึงไม่ถูกต้องและโจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาเป็นเงิน 37,500 บาท จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเป็นเงิน 37,500 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตมาอีก 100 บาท จึงไม่ถูกต้องเช่นกัน สำหรับค่าขึ้นศาลในอนาคตนั้นจำเลยไม่ต้องเสีย แม้ฎีกาของจำเลยจะมีคำขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้าย ป.วิ.พ. ที่ให้คิดค่าขึ้นศาล 100 บาท เป็นอีกส่วนหนึ่งเพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอที่ให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นคำขอประธานเท่านั้น กรณีจึงเป็นการที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินมา 36,925 บาท และ 37,300 บาท ตามลำดับ จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 37,400 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาให้แก่โจทก์และจำเลย
จำเลยไม่ได้ให้การว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แม้จำเลยจะนำสืบในประเด็นนี้และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่จำเลยได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงจะฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติไม่ได้
เมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เท่ากับจำเลยมิได้ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นศาลละ 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 37,125 บาท จึงไม่ถูกต้องและโจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาเป็นเงิน 37,500 บาท จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเป็นเงิน 37,500 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตมาอีก 100 บาท จึงไม่ถูกต้องเช่นกัน สำหรับค่าขึ้นศาลในอนาคตนั้นจำเลยไม่ต้องเสีย แม้ฎีกาของจำเลยจะมีคำขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้าย ป.วิ.พ. ที่ให้คิดค่าขึ้นศาล 100 บาท เป็นอีกส่วนหนึ่งเพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอที่ให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นคำขอประธานเท่านั้น กรณีจึงเป็นการที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เกินมา 36,925 บาท และ 37,300 บาท ตามลำดับ จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมา 37,400 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาให้แก่โจทก์และจำเลย
จำเลยไม่ได้ให้การว่า ที่ดินพิพาทมิใช่ที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แม้จำเลยจะนำสืบในประเด็นนี้และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่จำเลยได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงจะฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10255/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของและแจ้งให้เจ้าของทราบ การได้รับอนุญาตดำเนินคดีแบบคนอนาถาไม่ยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยเข้าอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าจาก ฮ. การที่จำเลยครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนด โดยไม่ได้ทำสัญญาเช่าขึ้นใหม่และไม่ชำระค่าเช่าแต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินและตึกแถวพิพาทแทนอีกต่อไปหรือจำเลยเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 ถือไม่ได้ว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือจากยึดถือแทนเป็นยึดถือเพื่อตน จำเลยจึงเป็นผู้ยึดถือทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครองฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
การได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 (เดิม) นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 (เดิม) ดังนั้น แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็ชอบจะพิพากษาคดีให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองได้
การได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 (เดิม) นั้น เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 (เดิม) ดังนั้น แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็ชอบจะพิพากษาคดีให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10255/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องบอกกล่าวเจตนา และการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมแม้ได้รับอนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
จำเลยเข้าอยู่ในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าจาก ฮ. การที่จำเลยครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดโดยไม่ได้ทำสัญญาเช่าใหม่และไม่ชำระค่าเช่า ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจากยึดถือแทนเป็นยึดถือเพื่อตน จำเลยจึงเป็นผู้ยึดถือทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง จำเลยจะต้องบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนอีกต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้บอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทว่าไม่มีเจตนายึดถือแทนอีกต่อไป จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง
การได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 (เดิม) เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 (เดิม) ดังนั้น แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองได้
การได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 (เดิม) เป็นคนละเรื่องกับความรับผิดของคู่ความฝ่ายแพ้คดีที่จะต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 (เดิม) ดังนั้น แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8700/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องต่อเนื่อง เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ การครอบครองเดิมขาดตอน
จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช. เมื่อ ช. ขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บิดาโจทก์ทั้งห้าก่อนจำเลยทั้งสองครอบครองครบกำหนดสิบปี จำเลยทั้งสองไม่อาจยกการครอบครองดังกล่าวขึ้นยันบิดาโจทก์ทั้งห้าได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสองจึงขาดตอนตั้งแต่บิดาโจทก์ทั้งห้าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนแล้ว จำเลยทั้งสองจะต้องเริ่มนับระยะเวลาครอบครองที่ดินพิพาทใหม่ จะนำระยะเวลาที่จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินของ ช. มานับรวมด้วยไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากบิดาโจทก์ทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์มายังไม่ครบสิบปี จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 จะเป็นผู้มอบอำนาจหลายคน แต่ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท จึงเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดไว้ 30 บาท ปรากฏว่าใบมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ติดอากรแสตมป์ 30 บาท โจทก์ที่ 5 จึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ได้
แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 จะเป็นผู้มอบอำนาจหลายคน แต่ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท จึงเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดไว้ 30 บาท ปรากฏว่าใบมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ติดอากรแสตมป์ 30 บาท โจทก์ที่ 5 จึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8637/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินของบุตรที่ได้มาจากการยกให้จากบิดา แม้มีชื่อผู้อื่นในโฉนด ไม่สามารถอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้
บิดาผู้ร้องซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อและได้เข้าครอบครองตลอดมา แม้บิดาผู้ร้องจะเป็นคนต่างด้าวซึ่งตาม พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 นั้น คนต่างด้าวจะมีที่ดินได้ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน แต่ก็ไม่ได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้คนต่างด้าวทำสัญญาซื้อขายที่ดินและมิได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดิน เมื่อบิดาผู้ร้องซื้อและครอบครองที่ดินมาเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี บิดาผู้ร้องย่อมได้สิทธิครอบครอง การที่บิดาผู้ร้องมอบหมายให้ พ. ไปดำเนินการขอออกโฉนดที่ดิน พ. ก็เป็นเพียงผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาผู้ร้องเท่านั้น บิดาผู้ร้องยังคงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน เมื่อบิดาผู้ร้องยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องโดยส่งมอบการครอบครองแม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการให้ ผู้ร้องก็เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยสืบสิทธิต่อจากบิดาผู้ร้อง จึงเป็นการครอบครองที่ดินที่ตนมีสิทธิ แต่การครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะต้องเป็นการครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น เมื่อมิใช่เป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่น ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: การครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่เหตุเพิกถอน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ฝ่าฝืนกฎหมาย
ตามคำร้องของผู้ร้องมีความประสงค์ขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดที่ได้ขายไปแล้ว โดยอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องประสงค์จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งกรณีจะเป็นเรื่องของ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองนั้น ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. และเกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี บุคคลดังกล่าวจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง ขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนแต่ตามคำร้องของผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. แต่ประการใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์และธนาคารที่รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวได้รับจำนองไว้โดยไม่สุจริตจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองนั้น หากเป็นความจริงก็มิใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงไม่อาจยกเหตุที่ผู้ร้องอ้างมาเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนแก่ผู้ร้องได้นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ได้
การที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนแก่ผู้ร้องได้นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังการขายเสร็จสิ้น กรณีอ้างกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และการยื่นคำร้องไม่ทันตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอปล่อยทรัพย์ที่ยึดต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: สิทธิการครอบครองเดิมเป็นเพียงผู้เช่าหรืออาศัยสิทธิ ย่อมไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้
พ. ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทโดยขออาศัยสิทธิของ ส. จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทสืบต่อจาก พ. จึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้อาศัยเช่นเดียวกับ พ. แม้โจทก์จะมิได้ห้ามปรามขณะจำเลยปลูกบ้านหลังใหม่แทนบ้านหลังเดิมของ พ. ก็หาทำให้ฐานะของจำเลยที่เป็นเพียงผู้อาศัยเปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินอย่างเป็นเจ้าของ และไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นยันโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับระยะเวลาหลังออกโฉนด และต้องครอบครองต่อเนื่องครบ 10 ปี จึงมีผล
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินของผู้อื่นจนได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 นั้น อสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ จะต้องเป็นของบุคคลอื่น ซึ่งก็คือบุคคลนั้นจะต้องมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง หลักฐานที่แสดงว่าผู้ใดเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นคือโฉนดที่ดินเพราะเป็นหลักฐานทางทะเบียนของทางราชการ ดังนั้น การครอบครองที่ดินของผู้อื่น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์นั้นจะต้องเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่นที่ได้ออกโฉนดแล้วเท่านั้น ทั้งจะต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีด้วย เมื่อทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 เช่นนี้ การนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2539 เป็นต้นไปเท่านั้นระยะเวลาที่ครอบครองก่อนที่ดินพิพาทออกโฉนดไม่อาจนำมานับรวมกันได้ เมื่อคิดถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองจึงยังไม่ถึงสิบปีจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382