พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,439 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7135/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและขอบเขตความผิดฐานบุกรุกทำไม้ในเขตป่าสงวน การลงโทษที่เหมาะสม
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้ว จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำรับสารภาพของจำเลยว่ามีเจตนากระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องมา จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดหาได้ไม่ เพราะขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยและมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มตรา 15
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น เป็นการกระทำต่างวาระกัน อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันกับการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่ความผิดฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น เป็นการกระทำต่างวาระกัน อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันกับการกระทำความผิดสองฐานดังกล่าวจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ละเมิดลิขสิทธิ์ vs. ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต และการลงโทษกรรมเดียว
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตกับความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น กฎหมายประสงค์จะลงโทษผู้ประกอบกิจการดังกล่าวที่ไม่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการจากนายทะเบียน เมื่อจำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายทั้งภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในสถานที่เดียวกันและในวันเวลาเดียวกันโดยไม่ได้รับใบอนุญาต การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานประกอบกิจการให้เช่าแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
ส่วนความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองข้อหาจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ส่วนความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าและความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับ มีองค์ประกอบแห่งความผิดที่แตกต่างกัน ทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวสามารถแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองข้อหาจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4438/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการให้เช่า/จำหน่ายวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และการลงโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง
ความผิดฐานประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามผู้ใดจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน โดยมาตรา 4 บัญญัติให้คำนิยามคำว่า "ร้านวีดิทัศน์" ว่า สถานที่ที่จัดให้มีเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์ แสดงว่า กิจการร้านวีดิทัศน์ คือ การฉาย เล่น หรือดูวีดิทัศน์เท่านั้น ดังนั้น การกระทำของจำเลยตามข้อ (จ) ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดตั้งหรือประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์ จึงไม่เป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์ ข่มขืน กระทำชำเรา และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารและฐานพาผู้อื่นไป เพื่อการอนาจาร โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำไปเพื่อการอนาจาร แม้ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงรายละเอียดว่าจำเลยกระทำอนาจารต่อผู้เสียหายด้วยวิธีการอย่างไร ฟ้องโจทก์ก็สมบูรณ์ เพราะการกระทำเพื่อการอนาจาร เป็นเจตนาพิเศษที่มุ่งประสงค์ที่จะกระทำการอันไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายของผู้อื่น จึงมิใช่การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด อันจะต้องบรรยายมาในฟ้อง ตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายตามป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษตามกฎหมายจราจรที่แก้ไขใหม่ การพักใช้ใบอนุญาต และความผิดตามกฎหมายหลายบท
คำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ แต่ขณะจำเลยกระทำความผิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวถูกยกเลิกไปแล้วโดย พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 มาตรา 9 และให้ใช้ความใหม่ตามมาตรา 157/1 แทน การที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 157 ทวิ เป็นการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์ไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157 ทวิ และมีคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ที่จะต้องพักใช้ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นการมิชอบ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ โดยไม่ระบุวรรคนั้นเป็นการไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้าง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ, 157 ทวิ และมีคำขอให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีใบอนุญาตขับขี่ที่จะต้องพักใช้ ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นการมิชอบ และพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 127 ทวิ โดยไม่ระบุวรรคนั้นเป็นการไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2580/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมาย และการขอให้ลงโทษสถานเบาในคดีจำหน่ายยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องระบุชัดเจนว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ซึ่งข้อความผิดตามฟ้องนั้นมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานหนักกว่านั้น ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การและจำเลยที่ 1 กับพวกให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น เป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกเพียงแต่ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง ฎีกาในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่บิดเบือนเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเป็นไปโดยมุ่งประสงค์จะโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้น เป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกเพียงแต่ร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเท่านั้นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้าง ฎีกาในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่บิดเบือนเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเป็นไปโดยมุ่งประสงค์จะโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 8 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15973/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพยายามกระทำชำเราและกระทำอนาจารเด็ก ศาลต้องลงโทษฐานความผิดที่มีโทษหนักที่สุด
การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีและฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยให้ลงโทษบทหนักฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 80 มีโทษจำคุกขั้นสูง 33 ปี 4 เดือน ส่วนความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายมีโทษจำคุกขั้นสูงเพียง 15 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องเป็นให้ลงโทษบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 80 โดยไม่ได้แก้ไขบทความผิดและกำหนดโทษกับลดโทษให้จำเลยอีกกระทงละหนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือน อันถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ส่วนความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจาร พิพากษาแก้เฉพาะโทษ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้จำคุกไม่เกินห้าปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีพิรุธและปรักปรำจำเลย กับขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลย เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจาก พ.ร.บ.เทป/วีดิทัศน์ เป็น พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ และผลกระทบต่อการลงโทษจำเลย
แม้จะมี พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฯ มาตรา 3 (4) บัญญัติยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ ทั้งฉบับ แต่ตามกฎหมายใหม่มาตรา 4 ก็ได้ให้คำนิยามศัพท์ "ภาพยนตร์" ไว้ว่า หมายถึง วัสดุที่มีการบันทึกภาพหรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องและมาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ดังนั้น เมื่อแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ซึ่งตามปกติแล้วย่อมเป็นวัสดุที่มีการบันทึกภาพ หรือภาพและเสียงซึ่งสามารถนำมาฉายให้เห็นเป็นภาพที่เคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง แผ่นดีวีดีภาพยนตร์จึงเป็นวัสดุที่มีลักษณะเข้านิยามคำว่าภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่ การที่จำเลยจำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต จึงยังคงเข้าลักษณะเป็นการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายใหม่ กรณีไม่อาจถือได้ว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลย
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่นั้นมีระวางโทษตามมาตรา 79 ปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่โดยไม่มีโทษจำคุก ซึ่งต่างจากความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปและวัสดุโทรทัศน์ตามกฎหมายเก่าซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 34 จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น โทษตามกฎหมายใหม่ที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเก่าที่มีโทษจำคุกด้วย จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ในส่วนที่ไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเลือกลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าบังคับแก่คดี เมื่อโทษตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณมากกว่ามีเพียงเฉพาะโทษปรับกรณีจึงไม่อาจรอการกำหนดโทษแก่จำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์ได้
เมื่อโทษปรับตามกฎหมายเก่าลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาท แต่โทษตามกฎหมายใหม่กำหนดให้ปรับอย่างน้อยที่สุดขั้นต่ำตั้งแต่สองแสนบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีก โทษปรับตามกฎหมายเก่าจึงเป็นคุณมากว่า จึงต้องใช้โทษปรับตามกฎหมายเก่า เพราะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
ความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายภาพยนตร์ตามกฎหมายใหม่นั้นมีระวางโทษตามมาตรา 79 ปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่โดยไม่มีโทษจำคุก ซึ่งต่างจากความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายเทปและวัสดุโทรทัศน์ตามกฎหมายเก่าซึ่งมีระวางโทษตามมาตรา 34 จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น โทษตามกฎหมายใหม่ที่มีเพียงโทษปรับโดยไม่มีโทษจำคุกจึงเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเก่าที่มีโทษจำคุกด้วย จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ในส่วนที่ไม่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเลือกลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้ ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าบังคับแก่คดี เมื่อโทษตามกฎหมายใหม่ที่เป็นคุณมากกว่ามีเพียงเฉพาะโทษปรับกรณีจึงไม่อาจรอการกำหนดโทษแก่จำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าหรือจำหน่ายวีดิทัศน์ได้
เมื่อโทษปรับตามกฎหมายเก่าลงโทษปรับได้เพียงไม่เกินสองหมื่นบาท แต่โทษตามกฎหมายใหม่กำหนดให้ปรับอย่างน้อยที่สุดขั้นต่ำตั้งแต่สองแสนบาท ทั้งยังให้ปรับต่อไปรายวันอีก โทษปรับตามกฎหมายเก่าจึงเป็นคุณมากว่า จึงต้องใช้โทษปรับตามกฎหมายเก่า เพราะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15491/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกระทงจากการปล้นทรัพย์และการฆ่า โดยแยกพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์รถจักรยานยนต์ของผู้ตาย โดยใช้อาวุธตีประทุษร้ายผู้ตาย โดยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หากทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตาย และร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของผู้ตายไป ถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่างซึ่งแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสามในการกระทำตามที่ทางพิจารณาได้ความก็ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตายและร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย แต่ให้ลงโทษเพียงกระทงเดียวในความผิดฐานฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นบทหนักที่สุด แม้โจทก์ไม่ฎีกา ก็มิได้หมายความว่าความผิดฐานลักทรัพย์ยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตาย แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15274/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหา, การมีเครื่องกระสุนปืนผิดประเภท, และการใช้กฎหมายที่ถูกต้องในการลงโทษ
การที่ ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้พนักงานสอบสวน แจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิด แล้วจึงแจ้งข้อหาให้ทราบก็เพื่อที่ผู้ต้องหาจะได้ทราบว่าตนถูกกล่าวหาหรือแจ้งข้อหาว่ากระทำผิดในข้อหาอะไร จะได้สามารถให้การแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง แต่การแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่หากพนักงานสอบสวนปฏิบัติผิดพลาดหรือบกพร่องแล้วจะทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามบันทึกคำให้การว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุจำเลยได้ใช้ปืนยิงแมวของผู้กล่าวหาที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเข้าไปในบ้านจำเลยและเจ้าพนักงานตำรวจได้ร่วมกันจับกุมจำเลยได้พร้อมอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและมีข้อความต่อไปที่แสดงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ถือได้ว่ามีการแจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ได้
จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนพกขนาด .357 แม้เครื่องกระสุนปืนของกลางซึ่งมีขนาด .38 จะใช้กับอาวุธปืนพกขนาด .357 ได้แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องระบุคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็นการระบุ พ.ศ. ของคำสั่งดังกล่าวผิดพลาด มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า และกรณีดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนพกขนาด .357 แม้เครื่องกระสุนปืนของกลางซึ่งมีขนาด .38 จะใช้กับอาวุธปืนพกขนาด .357 ได้แต่เครื่องกระสุนปืนดังกล่าวก็มิใช่เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ จำเลยจึงมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องระบุคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็นการระบุ พ.ศ. ของคำสั่งดังกล่าวผิดพลาด มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 อันเป็นกฎหมายที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า และกรณีดังกล่าวไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง