พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับระยะเวลาหลังออกโฉนดเท่านั้น และต้องครอบครองติดต่อกัน 10 ปี
การครอบครองที่ดินของผู้อื่น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 นั้น ต้องเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่นที่ได้ออกโฉนดแล้วเท่านั้น ทั้งจะต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีด้วย เมื่อทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งห้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 นับถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้ง ยังไม่ถึงสิบปี จำเลยทั้งสองจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยทั้งสองจะนับระยะเวลาที่ครอบครองที่พิพาทก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยไม่ได้เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น
จำเลยทั้งสองจะนับระยะเวลาที่ครอบครองที่พิพาทก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยไม่ได้เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6390/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การครอบครองปรปักษ์ต่างจากคดีละเมิด แม้มีประเด็นที่ดินร่วมกัน ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง
ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 กับพวก ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้บ้านเลขที่ 137/2 ของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ได้รับความเสียหายและจำเลยที่ 1 กับพวกนำทรัพย์สินของโจทก์ไป ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนกับคดีนี้จึงมิใช่เรื่องเดียวกันและประเด็นคนละอย่างต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ทั้งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่นางผูกมารดาโจทก์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 173/2534 แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันปิดประกาศตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ซึ่งสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็หาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องภายหลังไม่ เมื่อโจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนดังกล่าวจึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดี ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้อง คดีจึงต้องมีการฟังข้อเท็จจริงกันต่อไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนแล้วพิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์หลังการโอนที่ดินมีข้อจำกัด และเจตนาสละการครอบครองของผู้ขาย
ที่ดินพิพาทมีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 58 ทวิ นับแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2521 ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้ พ. ในเดือนพฤศจิกายน 2526 ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย แม้ในระหว่างนั้น พ. จะยังไม่ได้สิทธิครอบครอง เนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว มีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ถือว่า พ. ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแทน ส. แต่เมื่อ พ. ยังคงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานประมาณ 6 ปี โดย พ. ถึงแก่ความตายเมื่อกลางปี 2537 และจำเลยที่ 2 เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทตลอดมา และ ส. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 ก่อนครบกำหนดเวลาห้ามโอน แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. เพื่อกล่าวอ้างสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาทในปี 2537 โดยก่อนหน้าที่ พ. จะถึงแก่ความตายนั้น โจทก์และทายาทของ ส. ไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวอ้างสิทธิครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแต่ประการใด จึงเป็นกรณีที่ พ. ไม่อาจทราบได้ว่าตนยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทไว้แทนผู้ใด อันจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังผู้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าโจทก์และทายาทของ ส. สละเจตนาครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแล้ว การครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทของ พ. จึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน พ. ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิในทรัพย์มรดก, การครอบครองปรปักษ์, และเจตนาที่ไม่สุจริตของผู้รับโอน
ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 423/2537 ของศาลชั้นต้น มีโจทก์ 3 คน คือ โจทก์ในคดีนี้ ห. และ ส. ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ พ. โดยขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในโฉนดที่ดินพิพาทที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาท ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการเรียกเอาทรัพย์มรดกจากจำเลยเพื่อมาแบ่งปันแก่ทายาท แต่มีการบรรยายความเป็นมาว่าจำเลยกระทำการโดยไม่สุจริตอย่างไรเพื่อตัดสิทธิจำเลยมิให้รับมรดกด้วย สถานะของโจทก์ในคดีทั้งสองจึงแตกต่างกัน และประเด็นแห่งคดีทั้งสองก็แตกต่างกันด้วยฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 423/2537 ของศาลชั้นต้น
แม้รายการในสารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดินพิพาทจะเป็นเอกสารมหาชนก็ตาม แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะให้รับฟังตามนั้น โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบหักล้างได้ว่าความจริงเป็นเช่นใด ซึ่งเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ พ. นั้นจึงหาฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 94 แห่ง ป.วิ.พ. ไม่
แม้รายการในสารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดินพิพาทจะเป็นเอกสารมหาชนก็ตาม แต่ก็มิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดที่จะให้รับฟังตามนั้น โจทก์สามารถนำพยานเข้าสืบหักล้างได้ว่าความจริงเป็นเช่นใด ซึ่งเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงแล้ววินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ พ. นั้นจึงหาฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 94 แห่ง ป.วิ.พ. ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น และการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้อื่น
การสละมรดกนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2481 ข้อ 14, 15 และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 กำหนดให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612
ต. ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนทายาทของ ค. ทุกคนรวมทั้ง ส. มารดาของโจทก์ทั้งสองด้วย ต. ในฐานะทายาทคนหนึ่งของ ค. คงมีฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินเฉพาะส่วนของ ต. ให้แก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 และมาตรา 1646 แต่ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของทายาทอื่นของ ส. ย่อมไม่เป็นทรัพย์มรดกของ ต. ที่จะทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งสองได้ เมื่อที่ดินพิพาทยังไม่แบ่งกรรมสิทธิ์รวม จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องแย้งให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของ ส. ทายาท ค. รื้อบ้านทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาทหรือเรียกค่าเสียหายได้
ต. ลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนทายาทของ ค. ซึ่งรวมถึง ส. มารดาของโจทก์ทั้งสองด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ เพราะการครอบครองอสังหาริมทรัพย์อันจะทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของบุคคลอื่น
ต. ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนทายาทของ ค. ทุกคนรวมทั้ง ส. มารดาของโจทก์ทั้งสองด้วย ต. ในฐานะทายาทคนหนึ่งของ ค. คงมีฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินย่อมมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินเฉพาะส่วนของ ต. ให้แก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 และมาตรา 1646 แต่ที่ดินส่วนที่ตกเป็นของทายาทอื่นของ ส. ย่อมไม่เป็นทรัพย์มรดกของ ต. ที่จะทำพินัยกรรมยกให้จำเลยทั้งสองได้ เมื่อที่ดินพิพาทยังไม่แบ่งกรรมสิทธิ์รวม จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจฟ้องแย้งให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของ ส. ทายาท ค. รื้อบ้านทั้งขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดินพิพาทหรือเรียกค่าเสียหายได้
ต. ลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแทนทายาทของ ค. ซึ่งรวมถึง ส. มารดาของโจทก์ทั้งสองด้วย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ เพราะการครอบครองอสังหาริมทรัพย์อันจะทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ต้องเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของบุคคลอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและการหักล้าง, การครอบครองปรปักษ์
โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ได้จดทะเบียนแล้ว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและให้จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัย โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยและบริวารอยู่อาศัยอีกต่อไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลย ต่อมาบิดามารดายกที่ดินพิพาทให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยเช่นกัน จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและให้จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัย โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยและบริวารอยู่อาศัยอีกต่อไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลย ต่อมาบิดามารดายกที่ดินพิพาทให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยเช่นกัน จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5023/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างการครอบครองปรปักษ์ต้องไม่ขัดแย้งกับความเป็นเจ้าของเดิม และคำพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีไม่ถูกต้องตรงกับความจริง ขณะเดียวกันก็เป็นการยืนยันว่าโจทก์ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ป. โดยชอบ และโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่ปี 2502 ตลอดมาจนกระทั่งทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของตนเองได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะแต่ในทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งคำพิพากษาของศาลแพ่งธนบุรีก็ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ผลของคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินย่อมทำให้ที่ดินพิพาทมีได้เพียงสิทธิครอบครองซึ่งไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้เช่นเดียวกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมิได้ย้อนกลับไปเป็นของ ป. หรือของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
เมื่อตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) ไม่ต้องรอให้จำเลยยื่นคำให้การหรือให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบเสียก่อน
เมื่อตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่อาจพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ได้ในชั้นตรวจคำฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131 (2) ไม่ต้องรอให้จำเลยยื่นคำให้การหรือให้โจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์ในคดีครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกายืนคำสั่งยกคำร้องคุ้มครองประโยชน์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ร้อง แม้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้รับคำร้องขอ คดีก็ต้องกลับไปสู่ศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอท้ายคำร้องขอของผู้ร้องได้ ทั้งการสั่งห้ามจำหน่าย จ่าย โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำร้องขออาจกระทบต่อสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี กรณีจึงยังไม่มีเหตุจะสั่งให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องในระหว่างอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่น & ค่าใช้ที่ดิน: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ, การครอบครองปรปักษ์ไม่สำเร็จ
โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความในคดีแพ่งของศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทได้ไม่ต้องรื้อถอนบ้านที่ปลูกรุกล้ำที่ดินพิพาท คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะได้กล้าวอ้างเป็นประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท แต่เมื่อศาลจังหวัดนครราชสีมามิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยมิได้อุทธรณ์ ประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์จึงยุติถึงที่สุดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ เพียงแต่จำเลยคงมีสิทธิใช้ได้ต่อไปโดยไม่ต้องรื้อถอนบ้านออกไปเท่านั้น การที่จำเลยครอบครองบ้านดังกล่าวย่อมเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ แม้จะครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้ว ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อบ้านของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้ค่าใช้ที่ดินจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: นับระยะเวลาจากเจตนาเป็นเจ้าของ แม้เข้าใจผิดว่าเป็นที่ดินของตนเอง
การครอบครองที่ดินโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จะเข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเอง ก็ถือเป็นการครอบครองที่สามารถนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ได้ มิใช่นับแต่ที่จำเลยรู้ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองนั้นเป็นที่ดินของโจทก์เพราะถือว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว