คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,459 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในความผิดเดียวกันสิทธิระงับ, ริบของกลางตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2495/2551 หมายเลขแดงที่ อ.3571/2551 เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลากลางวัน จำเลยเสนอ จำหน่าย และมีไว้เพื่อจำหน่ายสินค้าเสื้อยี่ห้อลาคอสท์ที่เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหาย เหตุเกิดที่ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งทั้งสองคดีตามที่โจทก์ฟ้องเป็นการกระทำในเรื่องเดียวกัน เกิดขึ้นในเวลา สถานที่ และกระทำต่อผู้เสียหายรายเดียวกัน จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2495/2551 หมายเลขแดงที่ อ.3571/2551 ก่อนคดีนี้แล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
โจทก์ฟ้องขอให้ริบของกลางแต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง เมื่อสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้อื่น จึงให้ริบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 115

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15928/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: แม้คดีแรกยังไม่ถึงที่สุด แต่ฟ้องเรื่องเดียวกันย่อมเป็นฟ้องซ้อน
ป.วิ.พ. มาตา 148 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน..." ความในบทบัญญัติดังกล่าวให้ความหมายชัดเจนว่า คดีแรกซึ่งจะประกอบเป็นเหตุผลให้คดีหลังต้องห้ามมิให้ฟ้องนั้น จะต้องมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 ก่อนที่ คดีหมายเลขแดงที่ 1933/2550 ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 และก่อนที่ คดีหมายเลขแดงที่ 2764/2550 ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2550 ทั้งสองคดีดังกล่าวจึงอยู่ในระหว่างพิจารณา ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงหาต้องด้วยหลักเกณฑ์แห่งข้อห้ามตามบทบัญญัติในประโยคแรกแห่งมาตรา 148 วรรคหนึ่ง ไม่
ฟ้องของโจทก์คดีนี้ และคดีหมายเลขแดงที่ 1933/2550 และคดีหมายเลขแดงที่ 2764/2550 ล้วนเป็นฟ้องที่โจทก์อ้างสิทธิในการที่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมตามสัญญาว่าจ้างโจทก์พัฒนาโครงการที่พักอาศัยรวม 3 แห่ง เพียงแต่โจทก์แยกฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมแต่ละเดือนเป็นคดีไป คือ เดือนกุมภาพันธ์ 2548 เดือนมีนาคม 2548 และเดือนเมษายน 2548 อันเป็นการอ้างสิทธิของโจทก์ตามสัญญาทั้งสามฉบับชุดเดียวกัน ฟ้องทั้งสามคดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน ดังนี้ เมื่อขณะโจทก์ยื่นฟ้อง คดีแรกคือ คดีหมายเลขดำที่ 890/2550 และคดีที่สองคือคดีหมายเลขดำที่ 1417/2550 ซึ่งศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ขณะนั้นจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับเดือนเมษายน 2548 ตามสัญญาทั้งสามฉบับชุดเดียวกันดังที่โจทก์กล่าวอ้างและนำมาเป็นเหตุฟ้องคดีนี้แล้ว ข้อหาที่โจทก์กล่าวอ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิไม่ชำระค่าธรรมเนียมเดือนกุมภาพันธ์ เดือนมีนาคม และเดือนเมษายน 2548 จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ชอบที่โจทก์จะต้องฟ้องรวมกันมาเสียทีเดียว การที่โจทก์เพิ่งมาฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำทางอาญา: การหลอกลวงประชาชนเพื่อจัดหางาน แม้เจตนาเดียวกัน แต่ผู้เสียหายต่างกัน สถานที่และเวลาต่างกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้น มีวันกระทำความผิดต่างกันในเดือนธันวาคม 2545 ถึงเดือนกรกฎาคม 2546 และความผิดดังกล่าวจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกัน การกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกันมีการพาไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ร. ในวันเดียวกันและชำระเงินให้นาย ก. พร้อมกัน แต่จำเลยกับพวกก็หลอกลวงบุคคลต่างรายกัน เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11229/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การรับโอนสิทธิเรียกร้องหลังคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลพิจารณาได้หากมีพยานหลักฐานใหม่แสดงอำนาจมอบอำนาจ
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะว่า ม. ไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลผู้มีชื่อลงนามในสัญญาขายทรัพย์สิน จึงเป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์ได้นำพยานหลักฐานที่แสดงว่า ม. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นเลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมาแสดงต่อศาลอันแสดงว่า ม. มีอำนาจมอบอำนาจ และสัญญาขายทรัพย์สินเป็นสัญญาที่ชอบ การที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาขายทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสาม จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11229/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การวินิจฉัยอำนาจฟ้องยังไม่ถึงประเด็นข้อพิพาท, โจทก์มีพยานหลักฐานใหม่แสดงอำนาจมอบอำนาจ
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นมูลหนี้เดียวกันกับมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 13509/2545 ของศาลชั้นต้นโดยเป็นการฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามเช็คทั้งเจ็ดฉบับ ซึ่งโจทก์อ้างว่ารับโอนหนี้มาจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ศ. โดยอาศัยสัญญาขายระหว่างองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินกับโจทก์ และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องและโจทก์ไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาคดีเดิมที่ยกฟ้องโจทก์เป็นเพียงการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเท่านั้น จึงเป็นการยกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์ได้นำพยานหลักฐานที่แสดงว่า ม. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นเลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมาแสดงต่อศาล อันแสดงว่า ม. มีอำนาจมอบอำนาจ และสัญญาขายทรัพย์สินเป็นสัญญาที่ชอบ ที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาขายทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสาม จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11229/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกชำระหนี้ตามเช็ค แม้คำพิพากษาเดิมยกฟ้องเรื่องอำนาจฟ้อง แต่ยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นหนี้จริง
คดีก่อนมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อประเภทขายลดเช็คกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 นำเช็คมาขายลดตามสัญญา กับจำเลยที่ 1 นำเช็คมาขายลดให้แก่บริษัทเงินทุนทรัพย์ศรีนคร จำกัด โดยจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งจำเลยทั้งสามจะต้องร่วมกันรับผิดตามสัญญาดังกล่าวหรือไม่ อันเป็นประเด็นเดียวกับที่พิพาทกันในคดีนี้ ส่วนการที่โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ดังกล่าวมาโดยชอบหรือไม่นั้น เป็นข้อที่จะแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวหรือไม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยเห็นว่า ม. ไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลผู้มีชื่อลงนามในสัญญาขายทรัพย์สิน จึงเป็นการยกฟ้องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในการฟ้องคดีว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์ได้นำพยานหลักฐานที่แสดงว่า ม. ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นเลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินมาแสดงต่อศาลอันแสดงว่า ม. มีอำนาจมอบอำนาจ และสัญญาขายทรัพย์สินเป็นสัญญาที่ชอบ ที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาขายทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสาม จึงไม่ใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10090/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ (ฟ้องซ้อน) คดีหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ: พิจารณาช่วงเวลา ผู้เสียหาย และสถานที่
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนมีนาคม 2545 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสี่ว่าสามารถหางานให้ผู้เสียหายทั้งสี่ไปทำงานในต่างประเทศ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้จนผู้เสียหายทั้งสี่หลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้เงินไปจากผู้เสียหายทั้งสี่ เหตุเกิดที่ตำบลเทพรักษา ตำบลดม อำเภอสังขะ และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวพันกัน ส่วนคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 ของศาลชั้นต้นโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนมกราคม 2545 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาประเภทงานเกษตรกรรมได้ จนผู้เสียหายทั้งสองหลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายทั้งสอง เหตุเกิดที่ตำบลท่าสว่าง อำเภอเฉนียง และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวพันกัน และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1015/2549 ของศาลชั้นต้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างต้นเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2545 ทั้งเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยกับพวกหลอกลวงประชาชนว่าจำเลยกับพวกสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในตำแหน่งเกี่ยวกับงานเกษตรได้ จนผู้เสียหายทั้งแปดหลงเชื่อ ทำให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งเงินจากผู้เสียหายทั้งแปด เหตุเกิดที่ตำบลดม อำเภอสังขะ และตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เกี่ยวพันกัน การกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1015/2549 ของศาลชั้นต้น จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันในเดือนเมษายน 2545 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2545 และเดือนเมษายน 2545 ถึงวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 และความผิดดังกล่าวจำเลยมีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย การกระทำของจำเลยกับพวกแม้จะเป็นการหลอกลวงด้วยเจตนาในการกระทำผิดอย่างเดียวกันและการดำเนินการของจำเลยต่อผู้เสียหายเหมือนดังที่จำเลยฎีกา แต่จำเลยกับพวกหลอกลวงต่อบุคคลต่างราย เกิดขึ้นคนละสถานที่และต่างวันเวลากัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 197/2549 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1015/2549 ของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมจากการลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ยืม การฟ้องเรียกหนี้จากลูกหนี้ร่วมที่ไม่ใช่คู่ความเดิมไม่เป็นฟ้องซ้ำ
สามีจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโดยมีจำเลยซึ่งเป็นภริยาลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญา จึงถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามีจำเลยและจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (4) โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ทุกคนพร้อมกันให้ลูกหนี้ชำระหนี้เป็นส่วน ๆ หรือจะฟ้องลูกหนี้ทีละคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนก็ได้ตามมาตรา 291
คดีก่อนโจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงิน โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย สามีจำเลยซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกับจำเลยคดีนี้จึงไม่ได้เป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้กู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงิน ต่อมาโจทก์กับสามีจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวของโจทก์ระงับสิ้นไปโดยโจทก์ได้ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้ร่วมด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยประกอบกับจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีภาษีอากรหลังคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลฎีกาตัดสินฟ้องไม่ซ้ำ ชี้ประเด็นใหม่
คดีก่อนอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางเป็นคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นจำเลยทั้งสามขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบ จำเลยทั้งสามในคดีดังกล่าวให้การต่อสู้ว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องแล้ว ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีดังกล่าวฟ้องจำเลยให้รับผิด แต่คำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่จำเลยเป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยมิได้ชำระแก่โจทก์โดยครบถ้วน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยเพิกเฉยกลับจดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยทราบอยู่แล้วว่ายังเป็นหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่จากการไม่ยอมชำระหนี้ของจำเลย และเป็นเรื่องที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ภายหลังคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
สำหรับประเด็นข้อพิพาทอื่นตามคำให้การของจำเลยล้วนเป็นข้อต่อสู้ที่เกี่ยวกับการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสิ้น ซึ่งคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่อาจรื้อฟื้นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีภาษีอากร: ศาลฎีกาตัดสินฟ้องไม่ซ้ำ แม้ประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการประเมินเดิม
คดีก่อนอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางเป็นคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นจำเลยขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับ โดยยกข้ออ้างว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิด แต่คำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่จำเลยเป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยมิได้ชำระแก่โจทก์โดยครบถ้วน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระแล้วจำเลยเพิกเฉย กลับจดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยทราบอยู่แล้วว่ายังเป็นหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่จากการไม่ยอมชำระหนี้ของจำเลย และเป็นเรื่องที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ภายหลังคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางคดีก่อนอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 จำเลยไม่อาจรื้อฟื้นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีดังกล่าวได้อีก
of 146