พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกองทุนรวมซื้อหนี้สถาบันการเงินที่ถูกระงับ – การลงทุนไม่ขัดกฎหมายหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ได้ออกหนังสือรับรองว่า ได้รับจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการจัดการกองทุนรวมโจทก์เป็นกองทุนรวมตามมาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้วมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการกองทุนรวมดังกล่าว โดยหนังสือรับรองนี้ได้ออก ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2543 อันแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่ากองทุนรวมโจทก์เพิ่งจดทะเบียนหลังจากที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มีผลใช้บังคับแล้ว หาใช่จัดตั้งขึ้นก่อนที่พระราชกำหนดดังกล่าวใช้บังคับไม่ โจทก์มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงิน ส่วนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด เป็นนิติบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทกิจการจัดการการลงทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ การที่โจทก์โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ซื้อสินทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทเงินทุนจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) นั้นก็อยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทและการบริหารหนี้ดังกล่าวของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ก็อยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ที่จะดำเนินการได้เพราะตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ก็ระบุวัตถุประสงค์ไว้ว่าเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการจัดการการลงทุนและประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการจัดการกองทุนรวมส่วนบุคคล และตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง ก็ระบุวัตถุประสงค์ของกองทุนรวมไว้ว่า กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วให้เป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมไปลงทุน โดยในการจัดการกองทุนรวมได้บัญญัติไว้ในมาตรา 125 ว่า บริษัทหลักทรัพย์จะต้องดำเนินการจัดการกองทุนรวมอย่างไรบ้าง โดยมีข้อห้ามมิให้บริษัทหลักทรัพย์กระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 126 ดังนี้ การจัดตั้งกองทุนรวมโจทก์จึงเป็นการจัดตั้งขึ้นภายหลังจากที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ใช้บังคับแล้ว เพื่อซื้อและรับโอนทรัพย์สินของบริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือดำเนินการได้และทรัพย์สินถูกนำออกขายทอดตลาดโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อชำระบัญชี การที่โจทก์โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ซื้อสินทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาสินเชื่อ สัญญากู้ ตราสารหนี้ และสิทธิเรียกร้องอื่น ๆ ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่ถูกระงับการดำเนินการตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดังกล่าวซึ่งมีบริษัทเงินทุนธนสินธุ์ จำกัด อยู่ด้วย จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 เพื่อนำหนี้ที่ซื้อมานั้นมาบริหารจัดการโดยให้บริษัทบางกอกแคปปิตอลอันไลแอนซ์ จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการ จึงอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์เพราะการซื้อสินทรัพย์และสินเชื่อธุรกิจดังกล่าวนั้นจัดว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งและการดำเนินของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินของกองทุนรวมโจทก์ก็มิได้กระทำการอันเป็นการขัดต่อมาตรา 126 แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ที่บัญญัติห้ามไว้แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้โดยประนีประนอมยอมความ และสิทธิในดอกผลนิตินัยหลังการระงับหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 761 มิได้บังคับให้เจ้าหนี้ต้องนำดอกผลนิตินัยอันเกิดจากทรัพย์ที่จำนำไปหักจากจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ เพียงแต่หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิดังกล่าว จะต้องนำดอกผลนิตินัยไปหักออกจากหนี้ตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น โจทก์ชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ในวันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหนังสือแจ้งการปลดหนี้และหลักประกัน และในท้ายหนังสือฉบับนี้ยังระบุว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามซึ่งข้อกำหนดในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาปลดหนี้ โดยมีเงื่อนไขครบถ้วนทุกประการ จึงต้องถือว่าหนี้ทั้งหมดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปแล้วโดยการประนีประนอมยอมความ ทั้งในสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้ระบุว่าให้นำเงินปันผลที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับเป็นอีกส่วนหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้แก่จำเลยที่ 1 อีกด้วย และในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท ล. ในวันที่ 27 เมษายน 2544 ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 6 บาท ดังนั้น ดอกผลนิตินัยอันเกิดจากหุ้นที่โจทก์จำนำไว้แก่จำเลยที่ 1 จึงเกิดขึ้นภายหลังจากหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปทั้งหมดแล้ว รวมทั้งหลักประกันต่างๆ ที่จำเลยที่ 1 เคยมีสิทธิบังคับเอาแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิที่จะนำเงินปันผลมาชำระหนี้ได้อีก จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินปันผลที่รับไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ที่เกิดจากสัญญาเดียวกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าก่อสร้างในงานที่ทำให้แก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยฎีกาขอให้นำเงินค่าปรับที่ศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระแก่จำเลยในอีกคดีหนึ่งมาหักกลบลบหนี้ในคดีนี้ ดังนี้ ความรับผิดของจำเลยที่ต้องชำระค่างานแก่โจทก์กับความรับผิดของโจทก์ที่จะต้องชำระค่าปรับแก่จำเลยเกิดจากสัญญาเดียวกัน ต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน จึงหาใช่เป็นการหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 วรรคหนึ่ง ซึ่งมาตรา 344 ห้ามมิให้หักกลบลบหนี้หากสิทธิเรียกร้องนั้นยังมีข้อต่อสู้อยู่ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นปรับแก่คดีไม่ เมื่อจำเลยและโจทก์ต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันในแต่ละคดีซึ่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องกระทำแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ จำเลยจะขอหักหนี้ได้เพียงใดหรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11645/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย โมฆะ และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยสัญญากู้ระบุว่า ดอกเบี้ยตามกฎหมาย แต่โจทก์นำสืบว่า ขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 3 ต่อเดือน จำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย จำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษ จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้อง เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7355/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยเคยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ บ. บุตรของ น. ในคดีที่พิพาทกันเรื่องมรดกของ น. โดยตกลงแบ่งทรัพย์มรดกกันหลายรายการและมีข้อตกลงให้จำเลยรับชำระหนี้ของ บ. ที่มีต่อธนาคารและหนี้สินในการค้าผลไม้ซึ่งมีหนี้ที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้รวมอยู่ด้วย ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ได้โดยตรงตามบทบัญญัติดังกล่าว
การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเท่ากับโจทก์แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ มิใช่กรณีโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเรียกค่าผลไม้ในฐานะผู้ประกอบการค้าซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) คดีของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเท่ากับโจทก์แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ มิใช่กรณีโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเรียกค่าผลไม้ในฐานะผู้ประกอบการค้าซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) คดีของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่, ตัวแทนเรียกเงินทดรองจ่ายจากตัวการ, และอายุความค่าเบี้ยประกันภัย
สัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าในวันที่ 28 กันยายน 2544 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีและเงินกู้ค้างชำระเป็นยอดหนี้ตามบัญชี 2,719,380 บาท และดอกเบี้ยนอกบัญชี 1,408,325.13 บาท ตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้โดยมีเงื่อนไขการผ่อนชำระคืนกับเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนด โดยให้ถือหลักประกันตามสัญญาเดิมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามสัญญานี้เช่นนี้ แม้สัญญาระบุว่า "โดยมีเงื่อนไขการชำระคืนดังนี้..." ก็ไม่อยู่ในความหมายของการเพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขที่จะทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 349 เพราะเป็นเพียงการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ใหม่เท่านั้นกรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันทำให้หนี้เดิมระงับ
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองแทนเมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงมีฐานะเป็นตัวแทนย่อมฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระแทนได้ เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ทดรองจ่ายไปจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองแทนเมื่อโจทก์ชำระค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยทั้งสอง โจทก์จึงมีฐานะเป็นตัวแทนย่อมฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระแทนได้ เป็นกรณีที่ตัวแทนเรียกเอาเงินที่ทดรองจ่ายไปจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีข้อความว่า จำเลยจะชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวนเต็มตามฟ้องโดยผ่อนชำระเป็นรายเดือนจนกว่าจะครบถ้วนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี หากโจทก์ได้รับชำระครบถ้วนแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องคดีนั้น เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น และตามข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับไปแล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมิได้ใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์ และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลายหลังปลดจากล้มละลาย: หนี้ก่อนพิทักษ์ทรัพย์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
ก่อนถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาก่อนวันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าว ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือหลังการแปลงหนี้เป็นหุ้นตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 วรรคสอง การที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่หลุดพ้นจากหนี้ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนจำเลยในคดีนี้ซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันนั้น จะต้องรับผิดอีกหรือไม่ อย่างไรเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ที่ว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ในแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดให้มีการชำระหนี้แก่โจทก์โดยการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้เช่นนี้ ในส่วนของผู้ค้ำประกันนั้นจะหลุดพ้นความรับผิดก็แต่เฉพาะเท่ากับมูลค่าตลาดที่แท้จริงของหุ้นที่โจทก์ได้รับชำระหนี้มาส่วนที่เหลือจากราคาดังกล่าวโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้
ในคดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ในแผนฟื้นฟูกิจการได้กำหนดให้มีการชำระหนี้แก่โจทก์โดยการออกหุ้นเพื่อชำระหนี้เช่นนี้ ในส่วนของผู้ค้ำประกันนั้นจะหลุดพ้นความรับผิดก็แต่เฉพาะเท่ากับมูลค่าตลาดที่แท้จริงของหุ้นที่โจทก์ได้รับชำระหนี้มาส่วนที่เหลือจากราคาดังกล่าวโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองเพื่อประกันหนี้จำกัดวงเงิน ผู้จำนองไม่ผูกพันหนี้ส่วนที่เกินวงเงินจำนอง แม้มีข้อสัญญาเพิ่มเติม
ผู้จำนองแต่ละคนมีเจตนาจำนองที่ดินของตนเพื่อประกันหนี้ของลูกหนี้ ในวงเงินที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองเท่านั้น แม้สัญญาจำนองจะมีข้อสัญญาด้วยว่า "เมื่อถึงการบังคับจำนองเอาทรัพย์ซึ่งจำนองนี้ขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกับค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังได้กล่าวแล้วนั้น เงินยังขาดอยู่จำนวนเท่าใด ผู้จำนองและลูกหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวน" ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้จำนองแต่ละคนยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาภายในต้นเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระของต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น ไม่ได้มีความหมายว่าจะต้องรับผิดชำระหนี้ที่ขาดจำนวนหลังจากบังคับจำนองซึ่งเท่ากับจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้ต่อเจ้าหนี้