พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,459 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6283/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีภาษีอากร: การฟ้องคดีเดิมซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
คดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 319/2547 ของศาลภาษีอากรกลาง เป็นการขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเดียวกัน คู่ความเดียวกันและคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องจำเลยคนเดียวกันอีกไม่ได้ ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
อุทธรณ์ของโจทก์คดีนี้เป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกากลับคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่พิพากษาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นพิพาทข้ออื่นอีกกับขอให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทอื่นต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์อย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จำนวน 200 บาท
อุทธรณ์ของโจทก์คดีนี้เป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกากลับคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่พิพากษาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นพิพาทข้ออื่นอีกกับขอให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทอื่นต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์อย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จำนวน 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5888/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมและคดีใหม่มีประเด็นเดียวกัน แม้มีการเพิ่มข้ออ้างเรื่องละเมิดก็ยังเป็นฟ้องซ้อน
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุอย่างเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทให้จำเลยเพื่ออำพรางการกู้เงิน ต่อมาจำเลยอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาท ขอให้ทางราชการเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ตั้งโรงเรียนพิพาทของโจทก์ โดยในคดีก่อนโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ขอให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทดังกล่าว ส่วนคดีนี้แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้เพิกถอนสัญญาที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทอีกก็ตาม แต่โจทก์อ้างเพิ่มเติมเข้ามาว่า จำเลยบุกรุกเข้ามาในที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทแล้วเปิดการสอนโรงเรียนชื่อ "โรงเรียนอนุบาลบ้านวรารักษ์" โดยพลการ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถดำเนินกิจการโรงเรียนพิพาทได้ตามปกติตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 เป็นต้นมา ขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดประโยชน์จากการขาดรายได้ตามปกติ และค่าเสื่อมเสียชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวโจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้วเพราะเป็นค่าเสียหายที่สืบเนื่องมาจากการกระทำของจำเลยภายหลังจากมีการทำสัญญาขายที่ดินและอาคารโรงเรียนพิพาทก่อนโจทก์ฟ้องในคดีก่อน ซึ่งเป็นการกระทำอันเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5038/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเช่าซื้อรถยนต์สูญหาย โจทก์ฟ้องซ้ำในประเด็นเดิมหลังคดีถึงที่สุดแล้ว
มูลเหตุแห่งการฟ้องจำเลยทั้งสองของโจทก์ ทั้งในคดีเดิมและคดีนี้มาจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ทำไว้กับโจทก์ฉบับเดียวกัน แม้ในคดีเดิมโจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด ขอให้ส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาและค่าใช้ทรัพย์ ส่วนในคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าระหว่างการครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญารถยนต์สูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยขอให้ชำระค่ารถยนต์ในส่วนที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายระหว่างเช่าซื้อนั้นได้ปรากฏขึ้นก่อนที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีเดิมซึ่งโจทก์ทราบดี แต่โจทก์ไม่ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามข้อตกลงในสัญญา การที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ราคารถยนต์ที่สูญหายในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับเดียวกันอีก ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องได้อยู่แล้วในคดีก่อน เมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: การรับของโจรช่วงเวลาต่างกัน ไม่เป็นกรรมเดียว
คดีก่อนศาลจังหวัดกาญจนบุรีฟังข้อเท็จจริงว่า เหตุกระทำผิดฐานรับของโจรเกิดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เวลากลางวัน แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหารับของโจรระบุว่า เหตุเกิดวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีดังกล่าว ดังนั้นแม้มีการจับจำเลยและยึดของกลางทั้งสองสำนวนไว้ในคราวเดียวกัน และโจทก์ไม่ได้นำสืบว่า จำเลยรับทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีนั้นไว้มาคราวเดียวกันหรือรับมาเมื่อใด แต่ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับของโจรคดีนี้ไว้ในวันเดียวกันและในคราวเดียวกันกับการรับของโจรในคดีดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4209/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: การรับของโจรต่างช่วงเวลาไม่ถือเป็นกรรมเดียว
ในคดีแรกศาลฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยว่าเหตุกระทำผิดฐานรับของโจรเกิดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เวลากลางวัน แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหารับของโจรระบุว่าเหตุเกิดวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีแรก แม้ ธ. จับจำเลยและยึดของกลางทั้งสองสำนวนไว้ในคราวเดียวกัน และโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยรับทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีนั้นไว้มาคราวเดียวกันหรือรับมาเมื่อใด แต่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับของโจรคดีนี้ไว้ในวันเดียวกันและในคราวเดียวกันกับการรับของโจรในคดีแรก การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการกระทำความผิดของจำเลยในคดีแรก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกเงินมัดจำหลังศาลตัดสินคดีเดิมแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้ให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินคืนแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 894/2535 ของศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏว่าได้ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ด้วย ทั้งที่เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในขณะฟ้อง และโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกร้องเช่นนั้นได้แม้ต่อมาคดีดังกล่าวศาลฎีกาจะมีคำพิพากษายกฟ้องคำขอที่บังคับให้จำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็ได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่แล้ว ทั้งต่อมาปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยและเจ้าของรวมทุกคนขอให้บังคับแบ่งแยกที่ดินตามที่โจทก์ต้องการแล้วจดทะเบียนโอนที่ดินที่แบ่งแยกแก่โจทก์ตามสิทธิที่ได้รับตามคำพิพากษาศาลฎีกาและเรียกค่าเสียหาย แต่โจทก์ก็ไม่มีคำขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำหากจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ซึ่งต่อมาคดีที่โจทก์ฟ้องใหม่นี้ ศาลชั้นต้นก็พิพากษายกฟ้องตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 4934/2542 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงถือว่าสัญญาเลิกกันและขอเงินมัดจำคืน เท่ากับศาลต้องวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซ้ำกับคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีและถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และปัญหาว่าคดีโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความในหยิบยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: สัญญาจำนองที่เคยถูกพิพากษาถึงที่สุดแล้ว โจทก์ฟ้องใหม่อ้างโมฆะทำไม่ได้
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาจำนองฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แต่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่าสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนอันเป็นความบกพร่องไม่รอบคอบของโจทก์เองที่ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ เมื่อศาลพิพากษาให้มีการบังคับจำนองและคดีถึงที่สุดไปแล้ว เช่นนี้ โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างเหตุว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อมิให้คำพิพากษาในคดีก่อนมีผลใช้บังคับแก่โจทก์หาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดทั้งๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน ให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่า โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) โดยไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คู่ความเดิมไม่ยกเหตุโมฆะในคดีก่อน ศาลไม่รับฟ้องใหม่
คดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญาจำนองฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แต่โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ เพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อน เมื่อศาลพิพากษาให้มีการบังคับจำนองและคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างว่า สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะหาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดทั้งๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อน ให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่า โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: การฟ้องคดีล้มละลายโดยอ้างเหตุเดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำและต้องห้ามตามกฎหมาย
ในคดีหมายเลขแดงที่ 796/2547 ของศาลล้มละลายกลางปรากฏว่าบริษัท บ. เป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับบริษัท ล. เป็นหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 5810/2539 ของศาลแพ่งและจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวขอให้ล้มละลายซึ่งศาลในคดีดังกล่าวได้พิจารณาพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบไม่ได้ตามข้อสันนิษฐานตามที่กล่าวมาในฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดีหรือไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ทั้งโจทก์ในคดีดังกล่าวไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกมีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สินแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัว พิพากษายกฟ้อง โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งจะต้องรับโอนมาซึ่งบรรดาสิทธิและหน้าที่ที่บริษัท บ. ผู้โอนมีต่อจำเลยทั้งสองด้วย ดังนั้น การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีก โดยอ้างว่าเมื่อได้ยึดทรัพย์จำนองของบริษัท ล. แล้วไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้าง และศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงเป็นการนำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องร้องจำเลยทั้งสองซึ่งมีประเด็นแห่งคดีอย่างเดียวกันว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และเหตุที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้นก็เป็นมูลเหตุเช่นเดียวกันซึ่งศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มาตรา 14 ส่วนที่โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 17729/2540 ของศาลแพ่งมาด้วยก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวคิดถึงวันฟ้องไม่เกิน 1,000,000 บาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์นำมูลหนี้ส่วนนี้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งที่ศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ห้ามฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คดีก่อนจำเลยที่ 2 คดีนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะโจทก์คดีดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมตาม พ.ร.บหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยมีบริษัท ว. เป็นผู้จัดการ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2542 ระหว่างที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุนรวม ได้มอบให้ อ. ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขาย ตาม พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ซึ่งสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ อ. ซื้อมารวมถึงมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 2 นำมาฟ้องโจทก์ทั้งสองให้รับผิด และต่อมาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 จำเลยที่ 2 ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนรวมจึงได้ให้สัตยาบันการกระทำของ อ. จำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งโจทก์ทั้งสองให้การต่อสู้ในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และไม่อยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเพราะมิได้มอบให้ อ. ทำการซื้อขายแทน ต่อมาโจทก์ทั้งสองได้แถลงขอสละข้อต่อสู้ตามคำให้การทั้งหมดและยอมรับว่าเป็นหนี้จำลยที่ 2 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวจริง ดังนี้ ข้อต่อสู้ดังกล่าวรวมถึงข้ออ้างของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้ที่ว่าการซื้อขายทรัพย์สินด้อยคุณภาพระหว่างจำเลยทั้งสองขัดต่อกฎหมาย และ ม. ไม่มีอำนาจลงนามในสัญญาซื้อขายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้วในคดีก่อนที่จะนำมาอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบด้วยกฎหมายในคดีนี้ ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ที่โจทก์ทั้งสองมาฟ้องจำเลยที่ 2 คดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
เมื่อโจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำกับจำเลยที่ 1 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ทั้งสองต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 2 ทำกับจำเลยที่ 1 ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย